เมื่อผมคิดจะสร้างบ้าน : รู้จักสถาปนิก วิศวกร มัณฑนากร


เมื่อคิดจะสร้างบ้าน ก็ต้องมาดูก่อนว่า แต่ละอาชีพมีความสำคัญอย่างไร กับการสร้างบ้านของผม

      ก่อนอื่นเรามาดูบทบาทหน้าที่ของแต่ละอาชีพกันก่อน ดังนี้

     เมื่อพูดถึง " วิศวกร"  หลักๆก็คือวิศวกรโยธา หรือ วิศวกรโครงสร้างนั่นเอง  หน้าที่คือออกแบบโครงสร้างทางด้านความแข็งแรงตามโจทย์ที่สถาปนิกให้มา สำหรับอาคารขนาดกลาง หรือ ขนาดใหญ่ ต้องมีวิศวกรสุขาภิบาล ไฟฟ้า ปรับอากาศ แยกตามสาขาความเชี่ยวชาญ  วิศวกรมักมีความเชี่ยวชาญสูงในงานสาขาของตนเอง มีความรอบคอบ มองโลกในแง่ความเป็นจริง มีระเบียบวินัย 

       ส่วน "สถาปนิก" เป็นหัวหน้าทีมออกแบบ และกำหนดภาพรวม ตามความต้องการของเจ้าของงาน และประสานงานกับผู้ออกแบบแต่ละฝ่าย สำหรับงานเล็กๆ รูปแบบที่ง่ายที่สุดคือสถาปนิกออกแบบรูปร่าง และ ผังอาคาร แล้วให้วิศกรโครงสร้างออกแบบโครงสร้าง สำหรับอาคารขนาดกลางถึงใหญ่สถาปนิกจะเป็นผู้ประสานงานวิศวกรฝ่ายต่างๆ และ

        "มัณฑนากร" สถาปนิกมักจะมีความรู้กว้างขวาง ทั้งทางด้านสถาปัตยกรรม วิศวกรรมสาขาต่างๆ (แต่ไม่จำเป็นต้องเชี่ยวชาญมาก) มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถเข้าใจความต้องการของเจ้าของงาน ประสานงานได้ดี  แต่ที่สำคัญที่จะขาดไม่ได้ก็คือ "มัณฑนากร "หรือผู้ออกแบบภายใน สำหรับงานที่เน้นความสวยงามหรือศิลป มักจะเป็นคนที่มีความรู้สึกละเอียดอ่อน มีเซนส์ทางด้านศิลป หลายๆครั้งคำว่ามัณฑนากร อาจจะคาบเกี่ยวซ้อนทับกับคำว่า สถาปนิก 

        ส่วน   "ผู้รับเหมา "ผู้รับเหมาที่มีพื้นฐานมาจากวิชาชีพใดก็มักจะมีลักษณะตามวิชาชีพนั้น แน่นอนว่าผู้รับเหมาย่อมมีความ       เชี่ยวชาญทางด้านการปฏิบัติ แต่บางครั้งถูกมองว่าพยายามลดต้นทุนมากเกินไป ผู้รับเหมาที่ไม่ได้มีพื้นฐานจากกลุ่ม      วิชาชีพหลายรายไม่เข้าใจเรื่องคุณภาพงานเท่า

 

หมายเลขบันทึก: 262826เขียนเมื่อ 23 พฤษภาคม 2009 16:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2013 13:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

มัณฑนากร เป็นผู้ออกแบบภายในให้มีประโยชน์ใช้สอยและมีความสวยงาม ตามอย่างที่เจ้าของโครงการหรือเจ้าของบ้านต้องการ โดยการศึกษาแบบของสถาปนิกก่อนแล้วจึงคิดภาพรวมของงานออกแบบที่ว่าง ความกว้าง ความสูง ของห้อง การเชื่อมพื้นที่ภายในอาจต้องมีการแก้ไขแบบของสถาปนิก เฟอร์นิเจอร์ ตู้ เตียง ลิ้นชักจะสูงเท่าไร เก็บของอะไรบ้าง ผู้ใช้งานอายุมาก ต้องออกแบบตู้ให้เตี้ยๆ เก็บของง่าย ประตูเปิดมาต้องโปร่งไม่มีเฟอร์นิเจอร์มาขว้าง วัสดุปูพื้น ผนัง พรม การเลือกเฟอร์นิเจอร์ลอยตัว แสงสว่างภายใน ตำแหน่งสวิตซ์เปิดไฟ ต้องใช้งานง่าย จนกระทั่งถึงเรื่องของแต่งบ้าน ผ้าปูเตียง สีของหมอน การเลือกเนื้อผ้า เฉดสี องค์ประกอบต่างๆ เป็นอาชีพที่ทำงานหนัก ละเอียดอ่อน มีความเป็นศิลปินในตัวเองสูง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท