KM กับงานห้องสมุด (ตอนที่ 2)


ใช้กลไกการจัดการความรู้ในการผลักดันเรื่อง “ทรัพยากรบุคลากร” เป็นลำดับแรก ทั้งในเรื่องการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ การสร้างจิตสำนึกในการบริการ การพัฒนาศักยภาพ
เป็นนโยบายของมหาวิทยาลัย และภาคบังคับด้วยที่กำหนดให้ทุกหน่วยงานนำ KM มาใช้เป็นเครื่องมือเร่งรัดภารกิจหลักไปสู่เป้าหมาย สำนักหอสมุดในฐานะหน่วยงานบริการสารสนเทศที่สนับสนุนภารกิจหลักของมหาวิทยาลัย ได้กำหนด Knowledge Vision (KV) คือ “การบริการที่เป็นเลิศ” โดยจะใช้กลไกการจัดการความรู้ในการผลักดันเรื่อง “ทรัพยากรบุคลากร” เป็นลำดับแรก ทั้งในเรื่องการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ การสร้างจิตสำนึกในการบริการ การพัฒนาศักยภาพ ซึ่งจะนำมาซึ่งการพัฒนางาน การเรียนรู้ร่วมกันและการพัฒนาองค์กร จาก KV ถูกแปรเป็นแผนงานจัดการความรู้ปี 2552-2553 โดยได้กำหนดขอบเขตในการจัดการความรู้ (KM Focus Area) ปี 2552-53 ดังนี้ 1) ปฏิบัติอย่างไรจึงเป็นเลิศ 2) การแก้ปัญหาคอมพิวเตอร์เบื้องต้นด้วยตนเอง 3) โครงการพัฒนางาน/พัฒนาคน และกำหนดเป้าหมาย KM (Desired State) คือ เป้าหมายที่ 1 บุคลากรมีความตระหนักและเห็นความสำคัญของผู้ใช้บริการ เป้าหมายที่ 2 สำนักหอสมุดมีภาพลักษณ์ในการให้บริการที่เป็นเลิศ ให้ความสำคัญกับลูกค้า (Customer Oriented) เอาใจใส่ลูกค้า (Customer Care) และบุคลากรมีจิตวิญญาณในการให้บริการ (Service Mind) เป้าหมายที่ 3 บุคลากรสามารถแก้ปัญหาการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้นได้ เป้าหมายที่ 4 บุคลากรมีการทำงานเป็นทีมและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เป้าหมายที่ 5 บุคลากรสามารถพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยสถาบัน/โครงการพัฒนางาน ชาวสำนักหอสมุดขอนำปัญหาและจุดอ่อนมาเป็นตัวตั้งในการจัดการความรู้ ปี 2552-53 ลองช่วยกันคิดและเติมเต็มนะคะว่าจะร่วมกันทำต่อได้อย่างไรบ้าง??????????
หมายเลขบันทึก: 261927เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2009 18:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท