ความเหลื่อมล้ำทางความรู้ - พัฒนาระบบการเรียนรู้ และ ความเป็นมนุษย์


ความเป็นมนุษย์ และ ระบบการเรียนรู้

ความเหลื่อมล้ำทางความรู้น่าจะรวมถึงความรู้ในทางโลกและทางธรรม

ความเหลื่อมล้ำทางความรู้น่าจะมีส่วนจากการระบบการเรียนการสอนตั้งแต่เด็กจนถึงผู้ใหญ่ เด็กที่ดีก็อาจจะเป็นผู้ใหญ่ที่ดี หรือ ไม่ดีก็ได้ ถ้าระบบการเรียนรู้ของแต่ละคนไม่มีพัฒนาอย่างถูกต้อง เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ที่ดีอาจจะโตมาจากพื้นฐานที่ไม่ดีก็ได้ แต่ละคน แต่ละช่วงของชีวิตไม่จำเป็นต้องเป็นรูปแบบที่ตายตัว

ถ้าจะพูดถึงระบบการเรียนการสอน เราก็จะคุ้นชินกับระบบการศึกษาในรูปแบบ การสอนในห้องเรียน มีครูคอยกำกับ แจกการบ้านให้ลูกศิษย์ไปทำโดยโจทย์เหมือนกันทั้งห้อง ในหนึ่งห้องอาจจะมีคนที่มีพรสวรรค์ในเรื่องการทำความเข้าใจกับปัญหา สามารถแก้ปัญหาได้เร็ว ทำให้เพื่อนๆที่ทำไม่ได้ต้องมาขอความช่วยเหลือเพื่อกันถูกครูทำโทษ วิธีนี้เป็นระบบการสอนที่ผมและหลายๆคนคงคุ้นเคย

ครู อาจารย์อาจจะต้องมองหาวิธีการใหม่ๆ สร้างโจทย์ที่หลากหลาย ฝึกให้เด็กๆคิดเชื่อมโยง พาไปศึกษากับธรรมชาติ ล้อมวงพูดคุย หรือ dialouge, world cafe เรียนรู้ พัฒนาจากธรรมชาติให้เป็นองค์ความรู้ใหม่ๆ มีการประยุกต์หลักธรรม และ การปฏิบัติธรรมมาใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ที่เข้ามากระทบ

ครู อาจารย์ในที่นี้ผมไม่ได้หมายถึง ครูอาจารย์ในโรงเรียนเท่านั้น แต่หมายถึง พ่อ แม่ ผู้ปกครอง นักร้อง ดารา สื่อต่างๆ เช่น หนังสือ เพลง ข่าว หนังสือพิมพ์ ผมมองว่าทุกๆคน ทุกๆสิ่งในโลกนี่ที่เด็กคนนั้นจะพบเจอเป็นครูสอนบทเรียนให้กับเขาได้ทั้งนั้น ทั้งสิ่งที่ดี และ ไม่ดี

เดี๋ยวนี้เราจะเริ่มเห็นโรงเรียนพ่อ แม่ ที่เริ่มสอนพ่อ แม่ให้รู้จักเลี้ยงลูกให้เป็นมนุษย์ที่มีใจสูง พ่อ แม่คอยคัดกรอง เลือกสรร สิ่งดีดีให้ลูก แต่ไม่ได้หมายความว่าห้ามลูกไม่ให้ทำสิ่งที่ตามสมัยนิยม แต่ต้องคอยเฝ้าระวังไม่ให้ลูกๆออกนอกลู่นอกทาง และ ทำให้มั่นใจได้ว่าระบบ วิธีคิด ศีลธรรม จริยธรรมที่ได้วางเอาไว้เหมาะสมกับลูกๆในแต่ละสภาวะอายุ และ ประสบการณ์

ระบบครูก็ควรมีโรงเรียนสอนครูที่เป็นรูปแบบที่มุ่งสอนคุณธรรม จริยธรรม ตั้งแต่คนที่เริ่มสมัครใจมาเรียนเพื่อเป็นครู มีระบบที่คอยติดตาม อบรมแบบ action learning มีCoP ของครูที่เข้มแข็ง มีการสัมมนาใช้ weblog internet หรือ สื่อที่เป็นประโยชน์ มีการเชื่อมโยงทั้งครูในอาชีพ และ  ครูดังที่กล่าวไว้เช่น พ่อ แม่ ผู้ปกครอง สื่อต่างๆ อย่างเป็นระบบ รวมทั้งครูในทางธรรม

สำหรับศีลธรรมจริยธรรมควรเน้นการเรียนการสอนแบบสมัยก่อนที่มองว่าวัดเป็นศุนย์กลาง พัฒนาโรงเรียนวัดให้มีประสิทธิภาพ มีการให้พระที่มีศีล จริยวัตร งดงามได้มีโอกาสมาบ่มเพาะความเมตตา สอนศีลธรรม การเป็นพุทธศาสนิกชนให้เด็กๆบ้าง มีการนำครูชาวบ้าน ครูเกษตรอินทรีย์มาสอนให้เด็กๆรู้จักการทำเศรษฐกิจพอเพียง รู้เท่าทันอันตรายของสารพิษ มีการนิเวศวิทยาแนวลึกให้กับเด็กๆควบคู่ไปด้วย เดี๋ยวนี้คงมีพระและผู้อาวุโสในหมู่บ้าน ชุมชนน้อยมากที่มีโอกาสได้สอนเด็กๆ

มีการปฏิบัติธรรมทั้งเด็กๆ และ ครอบครัว แบบเหมาะสม ไม่จำเป็นต้องไปที่วัด แค่ต้องเรียนรู้หลักธรรมที่เป็นพื้นฐาน ฝึกเจริญสติ มีศีล 5 ในชีวิตประจำวัน

ทุกวันนี้ก็น่าดีใจที่มีผู้ใช้แนวคิดแนวนี้มากขึ้น มีการรวมตัวกันของชุมชน CoP โรงเรียนแนวธรรมชาติ โรงเรียนนอกระบบ โรงเรียนแนวพุทธ โรงเรียนพ่อแม่ มหาวิทยาลัยบ้านนอก มหาชีวาลัยอีสาน การก่อกำนิดของสังคมเรียนรู้ เช่น gotoknow ในต่างประเทศก็มีมหาวิทยาลัยนาโรปะที่เป็นกรณีการดำเนินงานที่น่าสนใจแต่ห้องสมุดก็เป็นส่วนหนึ่งที่ควรพัฒนามีระบบการจัดการที่ดี อาจจะมีการใช้ระบบหนังสือหมุนเวียนในห้องสมุดถ้าเกิดงบประมาณไม่เพียงพอ

หลักคิดนี้ไม่ควรกระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่ๆแต่ควรจะขายขอบเขตให้ครอบคลุมโดยอาจเริ่มจากในประเทศของเราก่อน ประเทศที่มีความร่ำรวยก็ควรจะช่วยเหลือประเทศที่ยากจนกว่าในเรื่องระบบการศึกษาเหล่านี้

ปัจจุบันเรามีตัวอย่างดีดีมากมายทั้งในประเทศไทย และ ต่างประเทศมีคุรุ ปราชญ์ทั้งทางโลกและทางธรรมมากมายให้ศึกษาแนวคิด และ หลักธรรมที่เป็นประโยชน์ สำนักพิมพ์หนังสือแนวจิตวิญญาณ ศาสนา ก็มีมากขึ้นอย่างน่าดีใจ

ทุกคนในสังคมไทยควรจะต้องช่วยกันคิด พัฒนา ให้ประชาชนไทยคิดไปได้ไกลเชื่อมโยงกับโลก พืช และ สรรพสัตว์ต่างๆ ทุกสาขาอาชีพต้องร่วมกัน ไม่ใช่หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่งหรือผู้มีอำนาจไม่กี่คน ความเหลื่อมล้ำทางความรู้ที่ต่างกันก็พร้อมที่จะเปลี่ยนเป็นความช่วยเหลือที่จะเรียนรู้ เติบโตไปด้วยกันได้ครับ

ถ้าเราได้ทำการติดตั้งระบบการเรียนรู้ที่ดี เหมาะสม มีศีลธรรม เจอเรื่องดี หรือ เรื่องร้ายก็เป็นบทเรียนที่น่าจะนำมาต่อยอดได้นะครับ

 

หมายเลขบันทึก: 261747เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2009 20:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 06:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะ

การปฎิบัติธรรม ช่วยลดความเหลือมล้ำได้ค่ะ

มีธรรมะในใจช่วยได้เลยค่ะ

จากประสบการณ์ที่ผมไป Mapping เพื่อคัดเลือกโรงเรียนเข้าสู่โครงการ Humanized educare ผมพอจะมองเห็นนวัตกรรมที่ดีๆของโรงเรียนประถมศึกษาที่เป็น Mainstream  ของประเทศเรา

ส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนวิถีพุทธ(ที่ทางกระทรวงศึกษาธิการได้มีนโยบายมาให้อยู่แล้ว) แต่ที่ไม่ธรรมดาก็คือ โรงเรียนเหล่านี้กลับไม่ได้ใช้วิธีการนั่งสมาธิ เจริญสติ สอนพุทธศาสนาแบบตรงๆ แต่ใช้กระบวนการเรียนรู้ การปฏิบัติ เพื่อเชื่อมโยงอธิบายคุณธรรม จริยธรรมแทน เป็นการกล่อมเกลาเด็กที่ค่อยๆเรียนรู้ไป เป็นธรรมชาติ

แต่หลายๆโรงเรียนเอาเป็นเอาตายกับคำว่า "วิถีพุทธ"  ให้เด็กนั่งสมาธิ สวดมนต์ เจริญสติ ผมคิดว่า เกิดผลเสียมากกว่าผลดีครับ หากเราเรียนรู้ธรรมชาติของเด็ก ที่เน้นการเล่น การปฏิบัติ อยากเรียนรู้ มากกว่าให้นั่งนิ่งๆหลับตา เด็กหลั่งฮอร์โมนความเครียดออกมามากมาย

ตรงนี้เองเป็นความเหลื่อมล้ำเกิดจากความปรารถนาดีของครู และความรู้ไม่แท้ของผู้คิดระบวนการ

เป็นประเด็นที่น่าสนใจ ประเด็นหนึ่ง ฝากแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

ขอบคุณครับ :)

สวัสดีครับทุกคนที่แวะมาเยี่ยม

เห็นด้วยมากๆครับกับคุณเอก ที่ว่าถ้าเราเข้าใจว่าการปฏิบัติธรรม คือ การนั่งสมาธิ สวดมนตร์ นุ่งขาวห่มขาวก็เป็นการปฏิบัติธรรมแค่ส่วนหนึ่ง ถ้าปฏิบัติไปแบบเครียดๆจะเกิดมิจฉาทิฏฐิ

การปฏิบัติที่ดี คือ รู้กาย รู้ใจ มีสติ ยืน เดิน นั่ง นอน หรือ ทำกิจวัตรใดๆ แต่ต้องไม่เครียด หรือ เพ่ง

การปฏิบัติที่น่าจะถูกหลัก คือ ต้องไม่ทำอะไรที่ผิดแผกจากชีวิตปกติ แต่คอยพัฒนาจิตใจแบบรู้เท่าทันครับ

ผมเชื่อมั่นว่าโครงการที่ดีอย่าง humanized educare จะเป็นการเีรียนรู้แบบประยุกต์ธรรมะอย่างแนบเนียนแน่นอนครับ

ขอบคุณมากครับ

แวะมาเยี่ยม แวะมาอ่าน(บ้าง) ไม่อ่าน(บ้าง)

และแวะมาขอบคุณครับ ที่ช่วยเตือนสติผมอย่างสม่ำเสมอ

แวะมาอ่านอีกแง่มุมหนึ่งของ "ความเหลื่อมล้ำทางความรู้"

ผมคิดว่าจริงๆ แล้วอยากเห็นมีการนำเป็นประเด็นเรื่องนี้

มาเป็นหัวข้อการพูดคุยในวง Dialogue จังเลยครับ

น่าจะทำให้ได้เห็นความหมายใหม่ๆ  มากเลยครับ

ส่วนตัวผมกำลังมองในแง่มุมที่ว่า "สภาวะจิต" ของผู้คนในสังคมนั้น จะมีความสัมพันธ์ต่อการลดความเหลื่อมล้ำทางความรู้

ผมคิดว่า หากปราศจากเมตตาจิต หรือกัลยาณมิตรจิตระหว่างกัน  ความเหลื่อมล้ำทางความรู้ก็จะคงอยู่คู่กับสังคมตลอดไป

สวัสดีค่ะ

  • ขอขอบคุณค่ะ
  • สำหรับแนงวคิด...ความเหลื่อมล้ำทางความรู้ - พัฒนาระบบการเรียนรู้ และ ความเป็นมนุษย์
  • และเห็นด้วยค่ะว่า...การปฏิบัติธรรมแค่ส่วนหนึ่ง ถ้าปฏิบัติไปแบบเครียดๆจะเกิดมิจฉาทิฏฐิ  ควรปฏิบัติแบบรู้เท่าทันดีกว่านะคะ
  • ขออ่านทบทวนอีกครั้งนะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท