กระบวนการพยาบาล และ การให้คำปรึกษาเพื่อเลิกบุหรี่


กระบวนการพยาบาล และ การให้คำปรึกษาเพื่อเลิกบุหรี่

 

กระบวนการพยาบาลและการให้คำปรึกษาเพื่อเลิกบุหรี่

 

"การพยาบาล" คือ การกระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการดูแลและการช่วยเหลือเมื่อเจ็บป่วย การฟื้นฟูสภาพ การป้องกันโรค และการส่งเสริมสุขภาพ รวมทั้งการช่วยเหลือแพทย์กระทำการรักษาโรค ทั้งนี้ โดยอาศัยหลักวิทยาศาสตร์และศิลปะการพยาบาล

งค์ประกอบสำคัญของวิชาชีพพยาบาล คือ การใช้ความรู้และสติปัญญาในการปฏิบัติการ เป็นการบริการแก่สังคมและมีความเป็นเอกสิทธิ์ การพยาบาล เป็นการ การปฏิบัติต่อมนุษย์โดยตรง และเป็นการปฏิบัติต่อธรรมชาติของบุคคลที่มีความแตกต่างกัน ดังนั้น กระบวนการพยาบาลจึงเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการที่จะรวบรวมปัญหา เผชิญปัญหาและแก้ไข โดยพื้นฐานความเข้าใจในลักษณะของบุคคลที่มีความแตกต่างกัน (สภาการพยาบาล  http://www.tnc.or.th/knowledge/know01.html)

                 

การให้คำปรึกษาเพื่อเลิกบุหรี่ เป็นรูปแบบของการช่วยให้คนเลิกสูบบุหรี่ที่ผู้สูบบุหรี่ชอบมากที่สุด เป็นการพูดคุยกันระหว่างบุคคล 2 คน สามารถซักถามข้อมูลโดยตรง ผู้ให้คำปรึกษาสามารถประเมินความรู้สึกของผู้สูบบุหรี่ได้ชัดเจน ทั้งภาษาพูดและการแสดงออกทางร่างกาย และ ในทางเดียวกันผู้สูบบุหรี่สามารถมองเห็นความตั้งใจ จริงใจและความห่วงใย ซึ่งจะทำให้รู้สึกไว้วางใจและเชื่อมั่น จะเป็นแรงกระตุ้นให้ผู้สูบบุหรี่มีแรงจูงใจในการเลิกบุหรี่

 

เปรียบเทียบกระบวนการพยาบาลและการให้คำปรึกษาเพื่อเลิกบุหรี่

กระบวนการพยาบาล

การให้คำปรึกษาเพื่อเลิกบุหรี่

การประเมินสภาพ (Assessment)

ถามสภาพการสูบุหรี่(Ask )

ประเมินความพร้อม (Assess)

การวินิจฉัยทางการพยาบาล (Nursing diagnosis)

ผลของการประเมิน ต้องการเลิก หรือ ไม่ต้องการเลิก

วางแผนการพยาบาล (Planning)

แนะนำให้เลิกสูบ(Advice)

การปฏิบัติการพยาบาล (Implementing)

ช่วยให้เลิก(Assist)

การประเมินผล(Evaluation)

ติดตามผล (Arrange follow up)

ตัวอย่างข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล การให้คำปรึกษาเพื่อเลิกบุหรี่

1.        ผู้ป่วยเครียดเนื่องจากอยากสูบบุหรี่

2.        ผู้ป่วยต้องการเลิกบุหรี่

3.        ผู้ป่วยขาดความรู้ เกี่ยวกับโทษและพิษภัยของบุหรี่

4.        ผู้ป่วยขาดทักษะในการเผชิญกับอาการอยากบุหรี่

เอกกสารอ้างอิง กรองจิต วาทีสาธกกิจ (บรรณาธิการ)(2551). การส่งเสริมการเลิกบุหรี่ในงานประจำ. กรุงเทพฯ : มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่.  วราภรณ์  ภูมิสวัสดิ์ และคณะ (2546).แนวทางเวชปฏิบัติเพื่อรักษาผู้ติดบุหรี่.กรุงเทพฯ :กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณะสุข.

วิจิตรา  กุสุมภ์ และ อรุณี  เฮงยศมาก (2551). ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลตามรูปแบบของ NANDA: บริษัท บพิธการพิมพ์.

 

 

หมายเลขบันทึก: 261168เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2009 16:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท