beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

ครอบครัวตึ๋งหนืด <๑> การบริหารรายจ่าย


ยอมลำบากวันนี้เพื่อความสบายในวันข้างหน้าดีกว่า

     อ่านหนังสือแปล ครอบครัวตึ๋งหนืด หนังสือแปลภาษาเกาหลี ของนานมีบุ๊คส์ ทำให้เกิดไอเดียบรรเจิด..ว่า เรามีไอเดียดีๆ เป็นเคล็ดลับความประหยัดหลายเรื่อง น่าจะนำมาเขียนเป็นตอนๆ ตามโอกาสอำนวย

     สืบเนื่องจากที่ผมทำงานมา ๒๐ กว่าปี ขณะนี้เงินเดือนถึงระดับที่ "คงที่" มาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2548 แล้ว..อิอิ จะครบวาระ ๔ ปี ในเดือนตุลาคม ๒๕๕๒ และจะเป็นเช่นนี้ไปอีก ๑๐ ปี..ที่จริงมีวิธีการที่จะเพิ่มเงินเดือนโดยการทำผลงานต่างๆ ในระบบระเบียบราชการ แต่ผมเลือกที่จะไม่ทำ "ผมเลือกที่จะหยุดเงินเดือน" ไว้เพียงเท่านี้....

    เหตุผลที่ผมบอกตัวเองก็คือ เราต้องหัดเป็นคนรู้จักพอ รู้จักหยุดความอยาก หากเงินเดือนเพิ่มไปเรื่อยๆ เราก็จะมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น เราก็จะขยายความอยากไปเรื่อยๆ จะมีคนมาชักชวนให้เรามีเครดิตต่างๆ มากขึ้น หรือเพิ่มวงเงินเครดิตให้เราอีกมากๆ

    ผมมีบ้าน (มากกว่า ๑ หลัง) มีรถ (มากกว่า ๑ คัน) และปัจจัย ๔ ครบแล้ว หากผมมีเงินเพิ่มขึ้น ผมก็คงอยากได้บ้านใหม่ใหญ่กว่าเดิม รถคันใหม่แพงกว่าเดิม และอะไรอื่นๆ อีกจิปาถะ แล้วถ้าตอนเราถูกลดเงินเดือนลง (ยามเกษียณ) และต้องมีชีวิตอยู่ต่อไปอีก เราคงจะลำบากน่าดู

     ยอมลำบากวันนี้เพื่อความสบายในวันข้างหน้าดีกว่า.....

     สมมุติว่า ผมมีเงินเดือน ๓๐,๐๐๐ บาท (เลขกลมๆ) ปีหนึ่งผมก็มีรายได้ ๓๖๐,๐๐๐ บาท ถ้าผมเสียภาษีเงินได้อีกเล็กน้อย ปีละ ๕,๐๐๐ บาท คิดเสียว่าเอาเงินส่วนเกินไปจ่าย ตกลงคิดง่ายๆ ว่าได้เงินเดือนเต็มเดือนละ ๓๐,๐๐๐ บาท...

     ผมจะมีสูตรคิดเรื่องการเงินดังนี้ : รายเหลือ=รายได้-รายจ่าย... ขณะนี้ผมมีรายจ่ายหักเงินเดือนอยู่ ๒/๓ ของเงินเดือน (สมมุติว่าผมมีรายได้แค่เงินเดือนอย่างเดียวไม่มีรายได้พิเศษอื่น) เมื่อเป็นดังนี้ ผมจะเหลือเงินตอนต้นเดือนเพียง ๑๐,๐๐๐ บาท

     เงินเหลือ ๑๐,๐๐๐ บาท ผมแบ่งเป็นค่าใช้จ่ายในครอบครัวครึ่งหนึ่งคือ ๕,๐๐๐ บาท (ค่าใช้จ่ายของกองกลาง) ส่วนอีก ๕,๐๐๐ บาทเอาไว้ใช้ส่วนตัว ซึ่งมีดังนี้

  1. ค่าขนมเด็กๆ ไปโรงเรียนเดือนละ ๒,๐๐๐ บาท
  2. ค่าน้ำมันรถ ๑,๐๐๐ บาท
  3. ซื้อของเข้าบ้าน ๒,๐๐๐ บาท (พวกข้าวสาร, ของเจ เช่น เห็ดปรุงรส, ผงซักฟอก,สบู่, แชมพู ฯลฯ)

     โปรดติดตามตอนต่อไป....

   (เพิ่มเติม เมื่อ 20 มิ.ย.2556) ผมลืมบอกไปว่า พอเงินเดือนออก ผมจะให้สหกรณ์ออมทรัพย์ฯหักเงินเดือน เอาไปซื้อค่าหุ้นเพิ่มประมาณ 7% ของเงินเดือน นั่นเป็นเมื่อตอนปี 2552

   แต่พอปี 2556 ผมให้สหกรณ์หักไปซื้อหุ้น 12.5 % ซึ่งส่วนนี้ถือเป็นเงินออม เป็นเพราะว่าพอระบบเงินเดือนเป็นระบบแท่ง (ปี ๒๕๕๔) แล้ว ผมได้เงินเดือนเพิ่มปีละ ๒ ครั้ง..ซึ่งเพียงพอต่อค่าครองชีพที่เพิ่ม และตอนนี้เงินเดือนใกล้หลัก ๔ หมื่น..

 

beeman by Apinya

มนุษย์ผึ้งมหัศจรรย์  
神奇的蜂爷
  
(shen2  qi2  de1  feng1  ye2)

 

หมายเลขบันทึก: 261049เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2009 10:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ความหมายของรายเหลือของคุณไม่ใช่เงินเก็บหรอกหรือ ในเมื่อมีรายจ่ายอยู่แล้วนี่ คงเป็นเพราะยังไม่ค่อยเข้าใจ เลยคิดว่ารายเหลือของคุณซ้ำกับรายจ่ายนะ

  • ความจริง รายเหลือ ควรต้องเป็นเงินเก็บถูกต้องแล้วครับ และผมควรต้องขึ้นหัวข้อว่าเป็นการบริหารรายจ่ายมากกว่า..
  • ขอบคุณครับ

จะรอติดตามทุกตอนเลยครับ

อ.ต๋อย ทำให้ผมกลับมาอ่านบันทึกแรก ซึ่งเขียนไว้เมื่อ 7 ปีที่แล้ว...เรื่องราวต่างๆ ยังคงคล้ายแบบเดิม แต่หลักคิดก็เปลี่ยนแปลงไปบ้าง...ตอนนี้ต้องปรับตัว "ตอดเหยื่อ โดยไม่ฮุบเบ็ด" ดังจะได้เขียน "ครอบครัวตึ๋งหนืด" ตอน ถัดไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท