เปลี่ยนกระบวนทัศน์ของอุดมศึกษา (๓)


ปราบปรามโดย เมื่อเกิดมีสถาบันอุดมศึกษาที่ปฏิบัติผิดกฎระเบียบ ก็ปล่อยให้มีการดำเนินการตามระเบียบที่กำหนดไว้ สกอ. ไม่เข้าไปช่วยเหลือ นักศึกษาที่เสียประโยชน์ต้องฟ้องร้อง ผู้บริหาร/สภามหาวิทยาลัย เอาเอง เพราะเป็นผู้รับผิดชอบ

เปลี่ยนกระบวนทัศน์ของอุดมศึกษา (๓)

ตอนที่ ๑  

ตอนที่ ๒

การทำให้อุดมศึกษาเป็นของสังคม ไม่ใช่ของหน่วยราชการ ไม่ใช่ของผู้มีอำนาจรัฐ (Education by All) ภาคปฏิบัติ (๒)

เคยได้รับคำบอกเล่าตรงกันในหลายวาระ จากผู้ใหญ่ต่างคน ว่ามีปัญหาสถาบันอุดมศึกษาบางแห่ง รับนักศึกษาโดยหลักสูตรไม่ได้ผ่านสภามหาวิทยาลัย    ซึ่งก็แน่นอนว่าไม่ผ่านการอนุมัติโดย สกอ.   บางหลักสูตรมีนักการเมืองท้องถิ่นเข้ามาเรียนหลายราย    เขาเข้าใจว่าการชักชวนนักการเมืองท้องถิ่นเข้าเรียนก็เพื่อเป็นพลังการเมืองวิ่งเต้นให้หลักสูตรผ่านการอนุมัติ

เมื่อนักศึกษาใกล้จบ ก็จะมีคนออกมาโวยวายว่า หน่วยกำกับดูแลไม่อนุมัติหลักสูตร ทำให้นักศึกษาเสียประโยชน์   เพราะใกล้จบแล้ว    จะไม่มีโอกาสหางาน

ตามกระบวนทัศน์เดิม ผู้บริหารของ สกอ. ก็ต้องไปหาทางแก้ปัญหาที่ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาก่อขึ้น    โดยที่ถ้าดูให้ดีๆ เป็นการทำผิดกฎหมายด้วย  

ผมมองว่า การดำเนินการตามกระบวนทัศน์/วิธีปฏิบัติ เดิม เป็นช่องทางคอรัปชั่นได้ด้วย   เพราะสถาบันอุดมศึกษานั้นอาจให้ผลประโยชน์ตอบแทนผู้ช่วยเหลือในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง   ที่อาจไม่ใช่เงิน ก็ยังถือว่าเป็นคอรัปชั่นอยู่ดี   ผู้รับอาจเป็นข้าราชการระดับไหนก็ได้ แล้วแต่โอกาส

หากปฏิบัติตามกระบวนทัศน์เดิม ปัญหาแบบนี้จะเกิดขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีทางหมดไป   เพราะเป็น กระบวนทัศน์/วิธีปฏิบัติ ที่เอื้อการวิ่งเต้น การช่วยเหลือให้บิดหรืองอกฎ  

วิธีปฏิบัติตามกระบวนทัศน์ใหม่ง่ายนิดเดียว   คือทำ ๒ ทาง ทั้งป้องกันและปราบปราม

ป้องกันโดยเอารายชื้อหลักสูตรที่ผ่านการอนุมัติถูกต้องตามกระบวนการขึ้น เว็บ ให้คนเข้ามาตรวจสอบโดยง่าย   รวมทั้งส่งเสริม (ไม่ต้องทำเอง) ให้มีการวิจัยทำ rating/ranking หลักสูตรแต่ละสาขาวิชา    แล้วเปิดเผยให้สาธารณชนทราบ   รวมทั้งเปิดการเสวนาเรื่องคุณภาพของหลักสูตรเป็นระยะๆ    เพื่อเตือนประชาชนอย่าให้หลงเชื่อเข้าเรียนในหลักสูตรด้อยคุณภาพ

นี่คือการใช้พลังสังคม พลังเปิดเผย พลังสื่อ พลัง web 2.0 พลังความรู้ เข้ามาเป็นพลังร่วมในการกำกับดูแลคุณภาพของอุดมศึกษา   ไม่ผูกขาดอำนาจไว้ที่ กกอ./สกอ. ตามกระบวนทัศน์เก่า 

ปราบปรามโดย เมื่อเกิดมีสถาบันอุดมศึกษาที่ปฏิบัติผิดกฎระเบียบ   ก็ปล่อยให้มีการดำเนินการตามระเบียบที่กำหนดไว้    สกอ. ไม่เข้าไปช่วยเหลือ   นักศึกษาที่เสียประโยชน์ต้องฟ้องร้อง ผู้บริหาร/สภามหาวิทยาลัย เอาเอง    เพราะเป็นผู้รับผิดชอบ   โดนเข้าไม่กี่ครั้ง ผู้บริหารที่จงใจเบี้ยวก็จะหมดไปเอง

ผมไม่แน่ใจว่าที่เขียนข้างต้นนั้น เป็นวิธีคิดของคนแบบที่ฝรั่งเรียกว่า naive หรือภาษาไทยว่า หน่อมแน้ม หรือเปล่า    ท่านผู้อ่านมีแนวคิดในการป้องกันปราบปรามพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ของสถาบันอุดมศึกษา    ที่บ่อนทำลายความน่าเชื่อถือคุณภาพของบัณฑิต    โปรดช่วยกันให้คำแนะนำด้วยครับ

วิจารณ์ พานิช

๑๐ พ.ค. ๕๒

 

        

                         

 

 

หมายเลขบันทึก: 260375เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2009 05:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 06:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท