ระบบ PACS กับ QC ภาพ(ตอน3)2552


ภาพเอกซเรย์ที่ไม่ได้คุณภาพ กับ ระบบ PACS

บันทึกนี้ขอกล่าวต่อจาก บันทึกที่2 เกี่ยวกับภาพที่ไม่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพของภาพเอกซเรย์ทั่วไปที่ได้จากการเอกซเรย์ที่ระบบรับภาพเป็นแบบ CR:computed radiography เชื่อมโยงกับการส่งข้อมูลในระบบ PACS :Picture Archivement Communication System

ในบันทึกที่ 2 ผู้เขียนยังไม่ได้กล่าวถึง การแบ่งชนิดของภาพที่ไม่ได้คุณภาพในแต่ละ Examination ออกมาให้ รังสีเทคนิคเข้าใจและมองเห็นได้ชัดเจน

ดังนั้นจึงอยากจะขอกล่าวถึงการแบ่งภาพที่ไม่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพแต่ละสาเหตุที่เกิดออกเป็นดังนี้

1.เกี่ยวกับการจัดท่า หรือ Position

2.เกียวกับสิ่งแปลกปลอม หรือ Artefact

3.เกี่ยวกับการให้แสงไม่เพียงพอ หรือ Under Exposure

4.เกี่ยวกับภาพซ้อนที่เกิดจากการนำ cassette มาถ่ายซ้ำ หรือ Double Image

5.เกี่ยวกับการเปิดลำแสงไม่ครอบคุลม หรือ cone cut

6. เกี่ยวกับตัวผู้ป่วยไม่นิ่งขณะเอกซเรย์ หรือ Motion

ในบันทึกที่ 1 ผู้เขียนได้กล่าวถึงภาพที่ไม่ผ่านการตรวจคุณภาพในหัวข้อที่ 1 คือ position ไปแล้ว

ในบันทึกนี้จึงขอกล่าวถึงภาพที่ไม่ผ่านการตรวจคุณภาพในข้อที่เหลือทั้งหมด

สาเหตุจาก Artefact

ภาพ CHEST จากสาเหตุที่ไม่ได้ถอดสร้อยคออาจเกิดจากการสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่ไม่ชัดเจน หรือ ผู้มารับบริการไม่เข้าใจ

บน ภาพ KUB สาเหตุจากการที่ไม่ถอดกางเกงขาสั้น ในบางคนสวมกางเกงขาสั้นอีกชั้นและมีตะขอ

ภาพ ABDOMEN สาเหตุไม่ได้ถอดเสื้อชี้นในผู้มารับบริการ เข้าใจว่าตรวจเอกซเรย์ส่วนท้องไม่ต้องถอดเสื้อชั้นในก็ได้

ภาพ SHOULDER สาเหตุจากไม่ถอดเสื้อชั้นใน

ถือว่าเป็นภาพที่น่าจะอนุโลมให้ผ่านได้ในระบบPacs ยังสามารถตัดภาพที่อยู่ด้านล่างออกได้

สาเหตุจากการเกิด cone cut

ภาพส่วนใหญ่เกิดจากความผิดพลาดที่ไม่ได้ตรวจสอบ center ไฟ และ center ของเตียง

ในการถ่ายภาพเด็กส่วนใหญ่จะกลัวขณะถ่ายภาพ ต้องมีความระมัดระวังเพิ่มขึ้นต้องใช้อุปกรณ์ช่วย หรือ มีคนช่วยจับ

ล่าง 4 ภาพ เป็นภาพตัวอย่าง สาเหตุจาก ภาพซ้อนกัน(double image)

สาเหตุส่วนใหญ่ที่พบคือมีการนำ plate มาใช้ซ้ำอีกครั้ง หรือแผ่นยังไม่ถูกยิงด้วยบาร์โค๊ตจึงไม่มีการเตือนเมื่อนำมาใช้ซ้ำ หรือเกิดจากความสับสนของผู้ใช้เอง

การลดปัญหาดังกล่าว คือควรแยกวางแผ่น plat ที่ใช้กับยังไม่ใช้ให้ห่างกัน และต้องล้างแผ่น plate ทุกเช้าก่อนใช้งาน

ภาพบนเป็นภาพที่แสดงว่าแผ่น imaging plate ยังไม่มีการ expose เมื่อนำ cassette ไปเข้าเครื่อง read จึงไม่มีภาพดังตัวอย่าง

ภาพล่างแสดงสาเหตุที่เกิดจาก under exposure

ภาพ ที่ under exposure เกิดจากการเลือกใช้ protocol ที่ไม่ตรง กับส่วนที่ถ่าย

ภาพล่าง เป็นภาพ under exposure เช่นกัน

ภาพล่าง ตัวอย่างสาเหตุภาพที่เกิดจากการไหวขณะเอกซเรย์ หรือ Motion

การเอกซเรย์เด็กต้องใช้ความรวดเร็วระมัดระวังและต้องมีอุปกรณ์ช่วย เพราะเด็กดิ้นเพราะกลัว

ในบันทึกต่อไปคงจะพูดถึงการเลือกใช้ protocols ที่ถูกต้องในระบบนี้............รอติดตามต่อไปนะคะ

บรรยากาศในการพักทานอาหารหลังทำงานค่ะ

หมายเลขบันทึก: 260084เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2009 10:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 สิงหาคม 2016 12:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีครับ

อยากให้ช่วยเพิ่มเติม แนวทางแก้ไขปัญหาภาพที่ไม่ได้คุณภาพ จากตัวอย่างที่นำเสนอด้วยครับ

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำค่ะอาจารย์ต้อม

อยากจะขอเก็บส่วนนี้ไว้ก่อนดีใหมคะ?

มาแอบชมคนขยันทำงานค่ะ ^__^ ขอบคุณนะคะที่ไปแวะพักผ่อนหย่อนใจที่บล็อก ดีใจที่ได้เห็นกันบ่อยๆค่ะ

หวังว่าคงสบายดี ขอให้มีความสุขยิ้มหวานได้ทุกวันอย่างในภาพนะคะ

ขอบคุณนะคะ...คุณนายดอกเตอร์..ที่มาเยี่ยมชมและให้กำลังใจค่ะ

ขอให้พบแต่ความสุขและโชคดีตลอดไปละกันค่ะ..

มีอะไรที่ดีๆก็แบ่งปันสมาชิกให้ได้อ่านและชมด้วยนะคะ

ใช้ระบบcr pacs แล้วดีจังเลยค่ะเมื่อไรน่ะรพช.จะมีโอกาสใช้บ้าง แล้วการคิดอัตราการให้บริการเหมือนกับฟิล์มธรรมดาเปล่าค่ะ ใช้แล้วมีปัญหาอะไรบ้างค่ะ ที่ว่าไม่สามารถปรับค่าขาวดำได้นั้นเป็นเพราะค่าkv ต่ำเกินไปหรือจนไม่สามารถปรับภาพได้ นึกว่าทำได้หมดน่ะค่ะ อย่างงั้นการตั้งค่าที่เหมาะสมไม่มากไม่น้อยเกินถึงจะสมารถใช้กับระบบ cr pacs ได้ใช่เปล่าค่ะ

ปล.บรรยากาศทานอาหารร่วมกันดีจังน่ะค่ะ

ตอบคุณ noi ค่ะ

1.ราคาค่าตรวจไม่ได้คิดเพิ่มแต่ระบบ PACSไม่ได้ปริ้นฟิลิมเพราะดูภาพทางจอค่ะยกเว้นไปรักษาต่อถึงจะถ่ายฟิล์มให้ค่ะ

2.การตั้งค่า exposure จะลดลงจากเดิมและยังลดปริมาณรังสีให้ผู้ป่วยด้วย แต่ละเครื่องก็ไม่เหมือนกันคงดูที่ความหนาของผู้ป่วยเป็นมาตรฐานเช่นเดิมค่ะ

3. ภาพที่ไม่สามารถปรับได้จะพบบ้างเพื่อเริ่มใช้โปรแกรมแรกๆเพราะบุคคลากรยังไม่เข้าใจทั้งหมดส่วนใหญ่ส่วนที่หนาๆเช่น lat spine ถ้าเลือก protocols ที่ไม่ตรงค่ะ

4.ที่ปรับไม่ได้เลยที่เคยเจอคือเมื่อแบ่งถ่าย 2 ภาพในแผ่นเดียวคนละท่าแต่ใช้เทคนิคเดิมเมื่อความหนาไม่เท่ากันจึงปรับไม่ได้ค่ะ....คงพอได้ดอเดียนะคะ ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมชมค่ะ

กรณีมีการส่งต่อไปยังรพ.อื่น.ใช้วิธีการปริ้นภาพหรือบันทึกลงซีดีครับ..ถ้าปริ้นใช้เครื่องรุ่นไหนน่าจะดีที่สุด

ตอบคุณเสกสรรค์ค่ะ

ใช้ทั้ง 2 วิธีค่ะ  เช่น ภาพเอกซเรย์ทั่วไปก็ ปริ้นภาพลงแผ่นฟิล์ม

 แต่ถ้าเป็นตรวจพิเศษ CT / MRI ก็จะ write CD ให้เพราะ จำนวนภาพเยอะมาก

ส่วน FLU / MAMMO /Ultrasound  ปริ้นภาพเพราะจำนวนภาพไม่มากค่ะ

เรื่อง เครื่องทีี่ใช้ คงแล้วแต่ว่า ชอบรุ่นไหน และ รพ. มีงบจัดซื้อ มั้งคะ น่าจะได้หมดค่ะ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท