ฟังเสียงของกล้ามเนื้อและร่วมสุนทรียสนทนา


ขณะที่เรา...เตรียมเข้าสู่การเคลื่อนไหวในทุกขณะจิต

หากเราได้เรียนรู้และฝึกฝนการมองเข้ามาภายในตัวเรา ... อันเป็นการมองทั้ง "รูป" และ "นาม"...

รูป คือ อะไร...คือ ร่างกายและอวัยวะต่างๆ

นามคือ อารมณ์ ความรู้สึก นึกคิดของเรา....

ขณะที่เราฝึกโยคะ และเคลื่อนตัวนั้น เพียงแค่เราตั้งใจฟังเสียงของร่างกาย เสียงของจิตใจ...จะทำให้เราสามารถเคลื่อนเข้าไปสู่การเรียนรู้การฟังได้อย่าง "ลึกซึ้ง" และลุ่มลึกขึ้น ...

ขณะที่เราโน้มตัวก้มลง กายเรานี้ช่างแข็งเหลือเกิน...และเคลื่อนไปฟังเสียงของ "กล้ามเนื้อ"ต่อ ... อืม! กล้ามเนื้อไหล่เราแข็ง...ตึงมาก เส้นเอ็นก็เหมือนกัน เขาแทบจะไม่ได้ยืนตัวหรือคลายตัวออกมาเลย กล้ามเนื้อก็ดูเหมือนเป็นก้อน ... ณ ขณะนั้น เราใช้ "ลมหายใจ" และการหายใจด้วยสะดือมาช่วย โอ!...แล้วเราจะได้ยินเสียงของกล้ามเนื้อค่อยๆ คลายตัวลง... เส้นเอ็นที่ยึดส่วนต่างๆ ก็ค่อยๆ ยืดออก

เราพึงปฏิบัติอ่อนน้อม...ไม่กระชากเขาด้วยความรุนแรง

ขณะที่กายเคลื่อนและเราตั้งใจฟังเสียงของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นนั้น เราก็หยุดและหันมาฟังเสียงแห่งความรู้สึกนึกคิดของเราบ้างว่าเขาสื่อสารอะไรต่อเรา...

เมื่อได้ฟัง จึงได้เห็นความคิด... ที่เป็นทั้งความคิดบอกให้เราหยุดและบอกให้เราอดทน

ความรู้สึก...เบื่อ และความรู้สึกอ่อนโยนลง กรุณาต่อกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น ได้มองเห็นการที่เขาถูกใช้งานอย่างกระหน่ำ อย่างไร้ซึ่งความปราณีของเรา

เพียงแค่...

เราได้หยุดฟัง เราก็จะได้รับรู้...

ยิ่งตั้งใจฟัง...ความเข้าใจก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้น....

 

สุนทรียะสนทนากับร่างกายทุกขณะที่มีการเคลื่อนกาย

๙ พฤษภาคม ๒๕๕๒

 ------------------------------------------------------

 

Cogtech2

 

 

หมายเลขบันทึก: 260073เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2009 09:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

มาส่งการบ้านค่ะ http://gotoknow.org/blog/somnoppawong/259896

และขอไปออกกำลังกายก่อน

จะกลับมาเรียนรู้ด้วยคน หลัง เสร็จภารกิจแล้วนะคะ ขอบคุณค่ะ

บล็อกน้องกะปุ๋ม เป็นบล็อกที่พี่นิยมชมชื่น เข้ามาอ่านทีไร ต้องอ่านช้าๆ ทุกตัวอักษร จะได้ซึมซาบเข้าไปอยู่ในห้วงพินิจ พิจารณาค่ะ ชุ่มชื่นใจค่ะ

  • สวัสดีค่ะ 
  • อ่านแล้วรู้สึกเห็นภาพของตัวเราเลยค่ะ
  • ช่วงนี้พี่ก็ฝึกโยคะ ค่ะ
  • วันละ 30 นาทีในช่วงเช้า
  • พี่มีปัญหาเรื่องหมอนรองกระดูกเสื่อมบริเวณเอว
  • คุณหมอให้พี่ออกกำลังกายที่ต้องทำให้กล้ามเนื้อหลังแข็งแรงค่ะ
  • รวมทั้งต้องบริหารบริเวณหน้าท้องด้วยค่ะ
  • ชื่นชมบันทึกนี้ค่ะ

 

กลับมาอ่านอีกครั้งค่ะน้องKa-Poom

เป็นบันทึกที่อ่านแล้วมีความสุข และรู้สึกสงบค่ะ

กายเคลื่อนใจเคลื่อนตาม รับรู้การเคลื่อนกาย และลมหายใจเข้าก็รู้ ออกก็รู หายใจสั้นก็รู้ หายใจอกยาวก็รู้ แอบนับความยาวของลมหายใจ หายใจเข้านับ 1 2 3  4 และออก1 2 3 4 ร่างกายเคลื่อนเร็วลมหายใจเร็วตาม บางครั้งใจออกไกลับมาพบว่าลมหายใจสลับกัน ที่เคยหายใจเข้ากลายเป็นกายใจออก ที่เคยหายใจออก กลายเป็นหายใจเข้า

เมื่อร่างกายเริ่มเจ็บ ปวด กระดูกลั่น ขบกันบริเวณไหปลาร้าขวา เสียงดังมาก ลดการเคลื่อนไหวกระทันหัน จังหวะลมหายใจเหมือนคนร้องเพลงค่อม ผ่อนลมหาจังหวะให้ลงตัว ฟังเสียงลมหายใจใหม่อื้อเพลิน และอาการขบกันของกระดูกบริเวณไหปลาร้าค่อยดีขึ้น

ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณค่ะ :)

กะปุ๋มก็ฝึกฟังอยู่บ่อยๆ ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท