<p>ผู้เขียนไปพม่าปี 2548 คนพม่าที่เดิมคลั่งไคล้ชาตามแบบผู้ดีอังกฤษ ส่วนหนึ่งหันมาดื่มกาแฟกันมากขึ้น ตรงกับข้อมูลจากศูนย์พม่าศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร (ภาพ >>> ชุดชา กาแฟแบบพม่า ชาเป็นแบบแยกชั้น ชาชั้นหนึ่ง นมข้นหวานชั้นหนึ่ง)</p><p>กาแฟในร้านข้างทางถนนระหว่างมัณฑเลย์-พุกามเป็นกาแฟชนิดผสมครีมเทียม และน้ำตาลรวมในซองเดียวกัน (3-in-1) ทำจากมาเลเซีย</p><p>
</p><p>กาแฟที่ว่านี้มีรสชาดดีเพราะกินฟรี ผู้เขียนจำตอนไปอินเดียได้ว่า คนอินเดียชอบให้คนอื่นเรียกว่า “ผู้จัดการ (แมเนเจ้อร์)” จึงทดลองดูว่า คนพม่าจะชอบให้คนอื่นเรียกว่า ผู้จัดการหรือไม่</p><p>ผู้เขียนจึงลองเรียกอาจารย์ตุน ตุน คนขับรถว่า “การ์สะหย่า” ภาษาพม่า คำนี้เป็นคำสุภาพอยู่แล้ว คำ “การ์” มาจากคาร์ (car) ภาษาอังกฤษแปลว่ารถ</p><p>
</p><p>เดิมเรียกท่านว่า “ตุน ตุน” เฉยๆ ซึ่งเป็นคำเรียกที่ไม่สุภาพสำหรับชาวพม่า เพราะชาวพม่าเขาต้องเรียกกันด้วยคำนำหน้าชื่อ(อู โก หรือหม่าวตามอายุ) จึงจะถือว่าสุภาพ</p><p>พอเรียกท่านว่า “การ์สะหย่า” ซึ่งมีความหมายคล้ายๆ กับ “ลูกพี่นายหัว(คิวรถ)” หรือ “ลูกพี่คนขับ” ดูท่าจะยิ้มออกทันที</p><p>
</p><p>ส่วนสะหย่านี่… ถ้าใช้นำหน้าอะไรแปลเป็นไทยจะคล้ายๆ กับคำเรียกว่า “ลูกพี่” หรือใช้เรียกผู้ที่เป็นใหญ่กว่า อายุมากกว่า เช่น เด็กนักเรียนเรียกครูผู้ชายว่า “สะหย่า” เรียกครูผู้หญิงว่า “สะหย่ามะ”</p><p>สังคมพม่าเป็นสังคมที่มีลำดับชั้น (hierarchy) คน 2 คนจะใหญ่เท่ากันไม่ค่อยได้ ถ้าปล่อยให้คนใดคนหนึ่งใหญ่กว่าจะคบกันได้ง่ายกว่า</p><p>
</p><p>คนพม่าส่วนใหญ่ชอบเป็น “ใหญ่” หรือเป็นผู้ใหญ่มากกว่าชอบเป็นเล็กหรือเป็นผู้น้อย ถ้าจะคุยกับใครไม่แน่ใจ ท่านว่าให้เรียกผู้ชายเป็น “สะหย่า” ไว้ก่อน ถ้าผู้หญิงให้เรียกเป็น “สะหย่ามะ” เรียกอย่างนี้ไว้ก่อนจนกว่าจะทราบว่า ใครควรจะใหญ่กว่าใคร</p><p>ผู้เขียนมีโอกาสไปพักที่วัดฌัมเย่ เมืองย่างกุ้ง วันหนึ่งหน้าต่างห้องที่อาจารย์วิเชียรพักรั่ว ฝนสาด ท่านได้แจ้งต่อพระอาจารย์ผู้ควบคุมกฏ</p><p>
</p><p>อาจารย์ผู้ควบคุมกฏนี้… ถ้าเทียบเป็นทหารจะคล้ายสารวัตรทหาร โชคดีที่ตอนนั้นพระอาจารย์ท่านใจดี มีอะไรก็เพียงแต่พิมพ์ปิดประกาศเตือนไว้ที่ข้างฝา ถึงเวลาให้ไปอ่านกันเอง</p><p>ปกติอาจารย์ผู้ควบคุมกฏของวัดจะเตือนคนที่ทำผิดกฏ 1 ครั้ง ครั้งต่อไปให้ทำทัณฑ์บน หรือไล่ออกจากวัด วัดพม่าที่เคร่งครัดเขาทำกันแบบนี้</p><p>
</p><p>วันต่อมาอาจารย์ท่านให้ช่างไม้ 2 ท่านมาซ่อมหน้าต่าง ผู้เขียนลองเปิดหนังสือคู่มือดู พบคำช่างไม้เรียกว่า “เละ ตะมะ” ถามเขาดูว่า ออกเสียงตามนี้หรือไม่</p><p>ท่านบอกว่า ท่านเป็น “เละ ตะมะ สะหย่า” หมายถึงเป็นหัวหน้าช่าง อีกคนเป็นช่าง(เละ ตะมะ)เฉยๆ นี่ก็สะท้อนความเป็นสังคมที่มีลำดับชั้นของพม่าได้เหมือนกัน</p><p>
</p><p>กลับไปที่อาจารย์ตุน ตุน คนขับรถแท็กซี่ที่เราจ้างให้ขับจากมัณฑเลย์ไปพุกามบ้าง หลังจากผู้เขียนทดลองเรียกท่านว่า “การ์สะหย่า” หรือ “ท่านคนขับรถ” แล้ว จึงลองเรียกท่านใหม่ว่า “การ์ แมนไนจ่า” ซึ่งมาจากคำว่า “ผู้จัดการรถ (car manager)” บ้าง
คราวนี้ท่านยิ้มออกทันที แถมยังออกปากจะเลี้ยงชา กาแฟที่ร้านอาหารข้างทางก่อนถึงมัณฑเลย์อีกด้วย นับว่า ชาวพม่านี่ชอบเป็นผู้หลักผู้ใหญ่มากทีเดียว



คนที่ดื่มกาแฟวันละ 1 ถ้วย มีความเสี่ยงต่อเบาหวานน้อยกว่าคนที่ไม่ดื่มกาแฟเป็น 0.87 เท่า คนที่ดื่มกาแฟวันละ 2-3 ถ้วย มีความเสี่ยงต่อเบาหวานน้อยลงเป็น 0.58 เท่าของคนที่ไม่ดื่มกาแฟ
คนที่ดื่มกาแฟปลอดคาเฟอีนมีความเสี่ยงน้อยลงเป็น 0.81 เท่า คนที่ดื่มกาแฟแบบต้มมีความเสี่ยงน้อยลงเป็น 0.86 เท่า และคนที่ดื่มกาแฟผงสำเร็จรูปมีความเสี่ยงน้อยลงเป็น 0.83 เท่า แสดงว่า ชนิดของกาแฟไม่มีผลต่อการเป็นเบาหวาน
คนที่ดื่มชามีความเสี่ยงต่อเบาหวานน้อยลงเป็น 0.88 เท่าเมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้ดื่มชา แต่ไม่ถึงนัยสำคัญ นั่นคือ ชาไม่ลดความเสี่ยงจากการเป็นเบาหวาน
</ul><p>สรุป: </p><ul><li>
ผู้หญิงที่ดื่มกาแฟวันละ 2-3 ถ้วย ไม่ว่าจะเป็นชนิดมีคาเฟอีนหรือไม่ อาจจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานได้ ส่วนประกอบที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานอาจเป็นสารอื่นที่ไม่ใช่คาเฟอีน เนื่องจากคนที่ดื่มกาแฟชนิดไม่มีคาเฟอีนก็มีความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานลดลง </li></ul><p>คำแนะนำ: </p><p>การศึกษานี้เป็นการศึกษาเริ่มต้น ต่อไปคงจะมีการศึกษาวิจัยเพื่อสนับสนุน(ตามน้ำ) หรือการศึกษาวิจัยเพื่อคัดค้าน(ทวนน้ำ)ผลการศึกษาครั้งนี้ อย่างไรก็ตาม… เมื่อมีข่าวดี ผู้เขียนก็อดนำมาเล่าสู่กันฟังไม่ได้</p><p>ท่านที่ดื่มกาแฟหรือชาชนิดมีคาเฟอีน และนอนหลับยาก ขอแนะนำให้ดื่มก่อนเที่ยงวัน หรือดื่มให้ห่างจากเวลานอนอย่างน้อย 6 ชั่วโมง กาแฟหรือชาจะได้ไม่ไปรบกวนการนอน</p><p></p><p>ขอให้ท่านผู้อ่านทุกท่านมีความสุข ไม่ว่าท่านจะดื่มชา กาแฟหรือไม่ครับ จะได้ช่วยกันทำประโยชน์ให้ส่วนรวมได้เต็มที่ และนานๆ หน่อย</p><p>
แหล่งที่มา: </p><ul>
</ul>
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นพ. วัลลภ พรเรืองวงศ์ ใน บ้านสุขภาพ
สำหรับผู้ชายเป็นอย่างไรครับ JJ ไม่ค่อยกล้าทานกาแฟตอนบ่ายครับ ตาค้าง แต่มีอาจารย์บางท่าน(ลูกพี่ของ JJ ครับ) เล่าว่า หากไม่ทานกาแฟแล้วจะนอนไม่หลับ เลยงงงง ครับ