บทบาท3


Role

                  จันทร์ฉาย  ปันแก้ว (2546, หน้า 10-11) ; สังคม  ศุภรัตนกุล  (2546, หน้า  28)  กล่าวถึง  องค์ประกอบของบทบาทไว้โดยอ้างถึงอัลพอร์ต (Allport, 1964, p. 184) ได้กล่าวไว้ว่า  การแสดงบทบาทของบุคคลนั้น  ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ  4 ประการ  ได้แก่

                           1. ความคาดหวังในบทบาท (role expectation) เป็นการที่บุคคลแสดงบทบาทตามความคาดหวังของผู้อื่น  หรือเป็นการแสดงบทบาทตามที่สถาบัน องค์กร  หรือกลุ่มสังคมคาดหวังให้บุคคลปฏิบัติตามสิทธิหน้าที่ที่บุคคลนั้นครองตำแหน่งอยู่

                           2. การรับรู้บทบาท (role perception) เป็นการที่บุคคลรับรู้ว่าบทบาทของตน  ควรมีลักษณะอย่างไรและสามารถมองเห็นบทบาทของตนเองได้ตามการรับรู้นั้น    ซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับความต้องการของบุคคลนั้นเอง ทั้งนี้การรับรู้ในบทบาทและความต้องการของบุคคลย่อมขึ้นอยู่กับลักษณะพื้นฐานของแต่ละบุคคล ตลอดจนเป้าหมายในชีวิต และค่านิยมของบุคคลที่สวมบทบาทนั้น

                                 3. การยอมรับบทบาท (role acceptance) เกิดขึ้นได้เมื่อบุคคลมีความเห็นสอดคล้องกันระหว่างบทบาทตามความคาดหวังของสังคมและบทบาทที่ตนเองรับรู้อยู่       การยอมรับบทบาทเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับความเข้าใจในบทบาทและการสื่อสารระหว่างสังคมของบุคคลนั้น  เนื่องจากบุคคลไม่ได้ยอมรับบทบาททุกบทบาทเสมอไป  แม้ว่าจะได้รับ     การคัดเลือกให้ปฏิบัติหน้าที่นั้นก็ตาม  หากบทบาทที่ได้รับนั้นทำให้เกิดความเสียหายหรือ  เสียผลประโยชน์  อาจทำให้เกิดความขัดแย้งกับความต้องการหรือค่านิยมของบุคคลนั้น  สิ่งที่ตามมาคือ ผู้ครองตำแหน่งนั้นอาจพยายามหลีกเลี่ยงบทบาทหรือไม่ยอมรับบทบาทนั้นได้ และ

                 4. การปฏิบัติตามบทบาทของบุคคล  (role performance)  เป็นการแสดงบทบาทที่เจ้าของสถานภาพแสดงจริง  ซึ่งอาจเป็นการแสดงบทบาทที่สังคมคาดหวังหรือแสดงบทบาทตามการรับรู้และความคาดหวังของตนเอง ที่บุคคลจะปฏิบัติตามบทบาทได้ดีเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับระดับการยอมรับบทบาทที่บุคคลนั้นๆ ครองตำแหน่งอยู่ และมี       ความสอดคล้องกันในบทบาทที่คาดหวังและการรับรู้ของตนเอง

            ระเบียบ  คำเขียน (2546, หน้า  12) กล่าวว่า องค์ประกอบที่สำคัญที่จะช่วยให้แสดงบทบาทได้ดี  ได้แก่

                 1. ความเข้าใจของบุคคลที่มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันต่อตำแหน่งหรือบทบาทในตำแหน่งว่าปฏิบัติอย่างไร

                 2. ความเป็นเหตุเป็นผลของลักษณะงาน  หน้าที่  และความรับผิดชอบ อย่างชัดเจน ซึ่งสามารถบรรยายในแบบพรรณนาลักษณะงานได้  และ

                 3. บุคลิกภาพของบุคคลที่ดำรงตำแหน่งโดยมีบุคลิกภาพและคุณสมบัติที่เหมาะสมกับบทบาทในตำแหน่ง

              จากที่นักการศึกษากล่าวมาสรุปได้ว่า  บทบาทมีองค์ประกอบ  4 ประการ  ได้แก่  1) ความคาดหวังในบทบาท เป็นการที่บุคคลแสดงบทบาทตามความคาดหวังของผู้อื่น  ตามสิทธิหน้าที่ที่บุคคลนั้นครองตำแหน่งอยู่  2) การรับรู้บทบาท เป็นการที่บุคคลรับรู้ว่า   บทบาทของตน  ควรมีลักษณะอย่างไรและสามารถมองเห็นบทบาทของตนเองได้ตามการรับรู้นั้น  3) การยอมรับบทบาท เกิดขึ้นได้เมื่อบุคคลมีความเห็นสอดคล้องกันระหว่างบทบาทตามความคาดหวังของสังคมและบทบาทที่ตนเองรับรู้อยู่ และ 4) การปฏิบัติตามบทบาทของบุคคล   เป็นการแสดงบทบาทที่เจ้าของสถานภาพแสดงจริง ที่บุคคลจะปฏิบัติตามบทบาทได้ดีเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับระดับการยอมรับบทบาทบทบาทที่บุคคลนั้นๆ ครองตำแหน่งอยู่ 

                   2.5  ประเภท

                         วรจิตร  หนองแก (2541, หน้า  22) ได้จัดแบ่งประเภทของบทบาทตามการแสดงออกไว้  2 ประเภท คือ

                           1.  บทบาทตามความคาดหวัง (expectation) เป็นการแสดงออกตามความคาดหวังของบุคคลที่ดำรงตำแหน่งทางสังคมนั้นๆ ว่าควรที่จะแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมกับตำแหน่งนั้นๆ อย่างไร และ

                           2.  การแสดงบทบาท (enactment) เป็นการแสดงบทบาทของบุคคล  ให้สอดคล้องกับบทบาทที่ได้ถูกกำหนดไว้

                     สัญญา  สัญญาวิวัฒน์  (2543, หน้า  13)  ได้แยกประเภทของบทบาทออกเป็น  3 ประเภท คือ

                           1. บทบาทตามใบสั่ง (prescribed  roles)  บทบาทประเภทนี้  เพ่งเล็งที่การปฏิบัติตามความคาดหวังของแต่ละสถานภาพ  ตัวตน  และทักษะในการแสดงบทบาทมีหน้าที่ต้องปรับตัวให้เข้ากับความคาดหวังของสถานภาพนั้นๆ การวิเคราะห์บทบาทประเภทนี้เน้นตรงระดับการยอมปฏิบัติตามความคาดหวังของตำแหน่งที่บุคคลเข้าครอบครอง

                           2. บทบาทตามใจ (subjective  roles) บทบาทประเภทที่สองเพ่งไปบังจุดที่ว่าความคาดหวังต่างๆ จะต้องผ่านอัตตา  หรือตัวตนเสียก่อนแล้วจึงมีการปฏิบัติ  ขณะที่ผ่านตัวตนนี้เองตัวตนก็จะกลั้นกรองพินิจพิจารณาเลือกสรร  ลดทอนพลิกแพลงความคาดหวังนั้นๆ ให้เหมาะกับตนจุดสนใจของการวิเคราะห์จึงอยู่ที่แบบหรือสไตล์ของแต่ละคนว่าเป็นอย่างไร  และ

                           3. บทบาทจริง (enacted  roles) บทบาทประเภทนี้  คือพฤติกรรมจริงของปัจเจกชนหลังผ่านขั้นตอน  2 ขั้นตอนข้างต้นมาแล้ว  หากจะดูพฤติกรรมเปิดเผย  ก็จะดูด้วยความซับซ้อนหรือโครงข่ายเชื่อมโยงของพฤติกรรมที่แสดงออกมาให้เห็น  ถ้าเพ่งไปที่บทบาทเปิดเผยจุดการวิเคราะห์ก็จะพุ่งในตัวความคาดหวังหรือการตีความคาดหวังตามสถานภาพนั้น

 

                     สุนทร  บุญสถิต  (2543, หน้า 38) ได้แบ่งบทบาทออกเป็น  3 ชนิด คือ

                 1. บทบาทตามความคาดหวัง (expected role) ได้แก่ บทบาทที่บุคคลต้องแสดงออกตามความคาดหวังของผู้อื่นหรือสังคม

                 2. บทบาทตามลักษณะการรับรู้ (perceived role) ได้แก่ บทบาทที่เจ้าของสถานภาพรับรู้เองว่า  ตนควรจะมีบทบาทอย่างไร  และ

                 3.  บทบาทที่แสดงจริง (actual role) ได้แก่ บทบาทเจ้าของสถานภาพแสดงจริง  ซึ่งอาจเป็นไปตามที่สังคมคาดหวังหรือตนเองคาดหวังหรือไม่ก็ได้

            สุนารี  เนาว์สุข (2543, หน้า 38) แบ่งประเภทของบทบาทตามคุณลักษณะออกเป็น  3 ประเภท คือ

                 1. บทบาทในอุดมคติหรือสิ่งที่สังคมกำหนด (the prescribed role)   เป็นบทบาทที่มีการกำหนดสิทธิและหน้าที่ตามตำแหน่งทางสังคมกำหนดไว้

                 2. บทบาทที่ควรกระทำ  (the perceived role)  เป็นบทบาทที่แต่ละบุคคลเชื่อว่าควรกระทำตามตำแหน่งที่ได้รับ  ซึ่งอาจไม่เหมือนกับบทบาทในอุดมคติ  หรืออาจแตกต่างกันในแต่ละบุคคล  และ

                 3. บทบาทที่กระทำจริง  (the performance role)  เป็นบทบาทที่บุคคลได้กระทำไปจริง  ขึ้นอยู่กับความเชื่อ  ความคาดหวัง  และการรับรู้ของแต่ละบุคคล  ตลอดจนความกดดันและโอกาสในแต่ละสังคมในระยะเวลาหนึ่งรวมถึงบุคลิกภาพและประสบการณ์ของแต่ละบุคคลด้วย

           ระเบียบ  คำเขียน (2546, หน้า  10-11) กล่าวว่า  ในสังคมหนึ่งๆ บุคคลจะมีพฤติกรรมของบทบาท  ซึ่งเป็นแนวทางในการปฏิบัติจะแตกต่างกันถ้าตำแหน่งนั้นๆต่างกัน  บทบาทตามตำแหน่งจึงมี  5 บทบาทคือ

                 1. บทบาทตามเพศและบทบาทตามวัย  (age-sex role) เช่น บทบาทของผู้ชาย  ผู้หญิง ผู้ใหญ่ เด็ก และหญิงชรา  ซึ่งบทบาทเหล่านี้มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของเราทุกขณะตลอดชีวิต

                 2. บทบาททางอาชีพ (occupational role) บทบาทนี้เราสามารถเปลี่ยนบทบาทได้อย่างอิสระมากกว่าอย่างอื่น เช่น บทบาทแพทย์  บทบาทพยาบาล บทบาทครู  เป็นต้น

                 3. บทบาททางเกียรติยศ (prestige role) เช่น บทบาทหัวหน้า  บทบาทของประธาน  บทบาทของคนรับใช้  และบทบาทของลูกน้อง เป็นต้น

                 4. บทบาททางครอบครัว (family role) บทบาทของแม่บ้าน  บทบาทของพี่และบทบาทของพ่อ เป็นต้น  และ

                 5. บทบาทในกลุ่มเพื่อนหรือบทบาทกลุ่มที่มีความสนใจคล้ายกัน (association  group  based  on  congeniality  role) ได้แก่ บทบาทของสมาชิกหรือชมรมต่างๆ

            ปรีชา  สุวังบุตร  (2547, หน้า  22) กล่าวว่า ประเภทของบทบาท          แบ่งประเภทตามการบริหารเชิงจิตวิทยาออกเป็น  3 ประเภท คือ

                 1. บทบาทจริง (actual role or role behavior) บทบาทจริงหรือพฤติกรรมแท้จริงของบุคคล  ซึ่งถูกควบคุมโดย อารมณ์ ทัศนคติ พฤติกรรมส่วนตัว ปัญหาในการปฏิบัติงานส่วนใหญ่คือ การไม่ปฏิบัติตามขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบที่องค์การกำหนดไว้

                 2. บทบาทที่องค์การกำหนด (role prescription)  คือ ขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบซึ่งองค์การหรือหน่วยงานกำหนดให้  ปัญหาที่พบในการปฏิบัติงานส่วนใหญ่ คือ การไม่ปฏิบัติตามขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบที่องค์การกำหนดไว้ และ

                 3. บทบาทคาดหวัง (role expectation) แบ่งเป็นความคาดหวังที่บุคคลอื่น มีต่อตนเอง  และความคาดหวังของตนเอง  ปัญหาจะเกิดเมื่อตนไม่สามารถปฏิบัติตาม   ความคาดหวังนั้นได้

            พระมหาพนมนคร  มีราคา  (2549, หน้า 27) กล่าวว่า  ประเภทของบทบาทโดยสรุปแบ่งออกเป็น  3 ประเภท คือ

                 1. บทบาทที่ถูกกำหนดไว้  หรือ บทบาทตามอุดมคติ  หมายถึง บทบาทที่ได้กำหนดสิทธิ ระเบียบ และหน้าที่ไว้โดยสังคม  ชุมชน กลุ่มหรือองค์การนั้นๆ เพื่อให้บุคคลที่ดำรงตำแหน่งต่างๆ ในสังคม ชุมชน  กลุ่มหรือองค์กรได้ปฏิบัติตาม  อันเป็นบทบาทสมบูรณ์แบบที่ผู้อยู่ในสภาพนั้นๆ ควรปฏิบัติ

                 2. บทบาทตามความคาดหวัง  หมายถึง บทบาทหรือรูปแบบพฤติกรรมที่คนทั่วไปในสังคมมีความคาดหวังว่าบุคคลที่ดำรงอยู่ในสถานภาพหนึ่งๆ จะปฏิบัติ  และในขณะเดียวกัน  ผู้ที่ดำรงอยู่ในสถานนั้นก็สามารถที่จะรู้ว่าตนเองมีบทบาทอย่างไร  และสามารถที่จะคาดหวังตัวเองว่า  ควรจะแสดงพฤติกรรมอย่างไร ทั้งนี้  เพื่อให้เกิดความเหมาะสมที่สังคมคาดหวังและตนเองคาดหวัง  และ

                 3. บทบาทที่บุคคลปฏิบัติจริง หมายถึง บทบาทที่แต่ละบุคคลดำรงตำแหน่งอยู่ในสถานภาพหนึ่งในสังคมได้กระทำไปจริงตามความเชื่อ ความคาดหวัง  ตลอดจนความกดดันและโอกาสที่จะกระทำให้แต่ละสังคมในช่วงระยะเวลาหนึ่ง  ซึ่งบทบาทหรือพฤติกรรมที่แสดงออกมานั้น  อาจจะไม่ตรงกับบทบาทตามที่สังคมกำหนด

              สำเริง หาญกล้า (2549, หน้า 13) ได้จัดแบ่งประเภทของบทบาทออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

     

คำสำคัญ (Tags): #การศึกษา
หมายเลขบันทึก: 259736เขียนเมื่อ 7 พฤษภาคม 2009 12:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 21:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท