Aj.Y
นางสาว ญาดา วิทยาพันธ์ประชา

กว่าจะมาเป็นโครงร่าง


ชีวิต 24 ชั่วโมง กับเวลาที่คิดตามจริงเป็นวินาที

จากการเรียน ป.โท  ที่จุฬา  ได้ทำกิจกรรมระหว่างเรียนตลอด  ได้ทำมินิ-วิทยานิพนธ์เป็งงานกลุ่ม  ได้ทำอะไรหลาย ๆ อย่าง  ทำให้ความคิดแตกกระจายไปหลายเรื่อง  การทำงานวิจัย  อาจารย์หลายท่านแนะนำให้มองจากทุนเดิมของตัวเอง  สำหรับฉัน  มันเยอะไปหมด  ไม่รู้จะเลือกอะไรดี  จะขอยกตัวอย่าง  คือ

1. จากงานเดิมที่ผ่านมา :

     -  การสอนภาษาไทยให้กัชาวต่างชาติ  ตามวิชาความรู้ที่จบมาในป.ตรี  จาก  มศว

     -  การสอนภาษาอังกฤษ  ซึ่งเป็นวิชาโท  ตอนเรียน ป.ตรี  และเป็นอีกหนึ่งงานที่ทำให้ส่งเสียตัวเองเรียน ป.ตรี  จนกระทั่งป.โทได้

     -  กิจกรรมที่หล่อหลอมความเป็นตัวตน  จากการรณรงค์สมัยเป็นนิสิตที่  มศว  กับ  No  NA  Club

     -  งานวิจัย  ป. โท  เล่มเล็ก  เกี่ยวกับ  CSR  ของธุรกิจสุรา

     - งานสื่อเพื่อเยาวชน  จาก  CMY  ที่จัดโครงการร่วมมากมาย  อาทิเช่น  การอบรมพิธีกร  โครงการกระปุกดาว  เป็นต้น

2. เรื่องที่สนใจ

    - Hi  5

    - โรงเรียน 2 ภาษา  และโรงเรียนอินเตอร์

กับเครือข่ายที่มี

1.  สมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์

2.  CMY - สมาคมส่งเสริมสื่อสร้างสรรค์เพื่อเยาวชน ( www.cmycenter.com )

3.  ครู  นักเรียน  โรงเรียนเครือสาธิต  ฯลฯ

หาข้อสรุปได้ยาก  แต่ขณะที่เลือกหัวข้อทำเกี่ยวกับละคร  ละครในโครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก  เพื่อเป็นสื่อการสอน  มอบแก่นักเรียน  ครู  อาจารย์  ทั่วประเทศ  กว่า 5,000  แห่ง  เลยใช้แนวคิดที่ว่า " ใกล้แหล่งข้อมูล "  ไม่ได้ดูแนวของทุนวิจัย  หรือใด ๆ เลย  จึงลงมือบุกทำเรื่องดังกล่าว

และแล้วชีวิตก็ไม่ได้ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ  ปัญหาด้านการสื่อสาร  ทัศนคติและมุมมองที่แตกต่าง  ทำให้มีปัญหาในการทำเค้าโครงอย่างยิ่ง  ประกอบกับ งานเข้า  ทั้งฉันและอาจารย์ที่ปรึกษาสุดเคารพ  กว่าจะเห็นภาพร่วมกัน  ก็ต้องใช้เวลาทั้งหมดที่มี  เรียกได้ว่าทำงานแข่งกับเวลาจริงๆ  ชีวิต 24  ชั่วโมง  กับเวลาตามจริงคิดเป็นวินาที  

พอจัดการกับปัญหาเรื่องเอกสารไปได้  ต่อมาเป็นเวลาแห่งการสอบ  อาจารย์ที่เป็นกรรมการจากภายนอกมหาวิทยาลัย  ท่านน่ารักมาก  ใจดี  ช่วยเหลือสุด ๆ ( จริงๆ  ลืมไปแล้วว่าเคยพบท่าน  ตอนทำโครงการกระปุกดาวด้วย )  รู้สึกขอบคุณ  และเป็นเกียรติมากที่ท่านเสียสละเวลาอันมีค่า  มาให้ความช่วยเหลือ  ทำให้โครงร่างผ่านไปได้  ขณะที่นัดเวลาในการสอบนั้น  10  เมษายน  2552  ปรากฏว่า  รัฐบาลประกาศเป็นวันหยุด  เหตุการณ์ม็อบเสื้อแดงคุกคามการสอบและการทำวิทยานิพนธ์อย่างยิ่ง  แต่ทำให้ได้หายใจอีกเฮือกหนึ่ง  และแล้วในที่สุด  แม้ไม่ใช่วันราชการ  แต่ท่านอาจารย์ที่น่รักทุกท่าน  ก็ได้เดินทางมาเพื่อสอบหัวข้อวิทยานิพนธ์  จนผ่านไปได้โดยสำเร็จ

หากมองย้อนกลับไปแล้ว  ปัญหาในหารคิดหัวข้อการเลือกทำวิทยานิพนธ์นั้น  บางท่านติดกับกระแสที่จะล้อกับงานวิจัยในขณะนั้น  บางท่านอาจจะมีเรื่องให้เลือกเยอะ  สนใจเยอะ  หรือใด ๆ ก็ตาม  แต่ท้ายที่สุดแล้วนั้น  จะมีเพียงงานชิ้นเดียว  ที่ท่านสามารถทำได้  ไม่ว่าจะมีความรู้สึกชอบ  หรือไม่ชอบก็ตาม  แต่ที่สุดแล้ว  เราก้ต้องเลือกและต้องทำให้ดีที่สุด  ให้สมกับการที่จะได้ปริญญามหาบัณฑิตอยู่ดี  ดังนั้น  สำหรับฉันแล้ว  งานวิจัยชิ้นใดก็ได้  ทุ่มเทสุดกำลังอยู่ดี 

และหาจะต้องการเลือกหัวข้อใดสักอย่างหนึ่่ง  ซึ่งหากเป็นหัวข้อที่มีส่วนประกอบเหล่านี้จะน่าสนใจมาก  ได้แก่ มีแหล่งสนับสนุน   หากทำหัวข้อใดที่อาจารย์สะดวกใจ  สบายใจ  ถนัดและชื่นชอบ   และถ้าได้งานที่ตัวเองชอบ  จงทำ   ทำอย่างดีที่สุด  จะได้ไม่มีปัญหาใด  ที่ทำให้คุณไม่สามารถจบครบตามกำหนด 

นี่คือปรสบการณ์เล็ก ๆ น้อยๆ  ที่พบในเบื้องต้นนี้

 

หมายเลขบันทึก: 259662เขียนเมื่อ 6 พฤษภาคม 2009 23:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 เมษายน 2012 14:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อิอิ

หากในสี่ห้าบรรทัดสุดท้ายนั้นเรื่องไม่ตรงกันเลย จะเลือกทำเรื่องใดดีครับ

หากเป็นผมจะเลือกทำเรื่องที่น่าจะจบได้เร็ว

เพราะการทำวิทยานิพนธ์นั้น เป็นการเรียนวิธีทำการวิจัย (หรืออะไรที่เราทำ)ของเราเท่านั้น ไม่ได้มีความรับผิดชอบว่าจะทำไปเพื่อแก้ปัญหาของประเทศชาติหรือหน่วยงาน

ประสบการณ์ชีวิตหรือทุนเดิมของคุณ Tatar น่าสนใจมากทีเดียวครับ

น้องTatar เก่งมากเลยนะคะ

มีทุนเดิมในการทำวิจัยมากมายหลายเรื่อง

ต้องขอเรียนรู้ด้วยคนแล้วค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ชิวเป็นคนโทรศัพท์หาพี่ญาดาเองนะคะ

ว้าว.. เขียนบันทึกได้ข้อคิดดีเลยนะคะ

ยินดีที่ได้รู้จักคะพี่ญาดา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท