สรุปรายงานการตรวจสอบวิศวกรรมความปลอดภัยในโรงพยาบาลเกาะช้าง 2


ตามที่ได้ตกลงกับศูนย์วิศวกรรมการแพทย์ที่ 8 (ชลบุรี) ได้จัดทำแผนการปฏิบัติงานการตรวจสอบวิศวกรรมความปลอดภัย ในปีงบประมาณ 2552 นั้น ทางศูนย์ได้เข้ามาเดินสำรวจโรงพยาบาลเกาะช้าง เมื่อวันที่ 22-24 เมษายน 2552 รวม 3 วัน ที่ผ่านมา และได้ตกลงจะทำรายงานการเดินสำรวจส่งภายในกลางเดือนพฤษภาคม

ขอสรุปรายงานดังต่อไปนี้

1.ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน

ปัญหาความเสี่ยงที่พบ

1.เครื่องปรับอากาศไม่ได้ล้างฟิวเตอร์ Air

2.  เปิดเครื่องปรับอากาศแล้วบานเกร็ดไม่ได้ปิด อากาศออกสู่ภายนอก

3. พัดลมเพดาน เป่าลมลงล่าง  ฝุ่นฟุ้ง  กระจาย ดูดความร้อนจากข้างบนลงมา

4.  ระบบไฟฟ้าไม่มีกราวนด์

5.  ปลั๊กเสียบมี 2 ขา

6.  การระบายอากาศไม่ดีเนื่องมาจากการติดตั้งพัดลมระบายอากาศเข้าหาด้านในอาคาร

7.   เข็มวัดออกซิเจนไม่อยู่ในตำแหน่งที่ศูนย์

8.    ไฟฉุกเฉินไม่มีแผนบำรุงรักษา

9.    แอร์ในห้องไม่ผ่านแผงควบคุม

10.             ท่อน้ำทิ้งอ่างล้างมือไม่มีตัวดักกลิ่น

11.                   เครื่อง Suction มีไฟรั่วและไม่มีสายกราวน์

12.                  เกย์ออกซิเจน ติดตั้งผิด

คำแนะนำแก้ไข

1.  ความถี่ในการล้างทำความสะอาด *  Filter กรองฝุ่นอย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง* พัดลม,ถาดรองน้ำและแผงCoil เย็น-ร้อน อย่างน้อย 6 เดือน/ครั้ง

2.  เจ้าหน้าที่ สำรวจปิดบานเกร็ดเวลาเปิดเครื่อง ปรับอากาศ

3.  แนะนำใช้พัดลมติดผนังด้านข้าง

4.     เดินสายกราวนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมด

5.     เปลี่ยนเป็นปลั๊ก 3 ขาทั้งหมด

6.     แนะนำให้เปลี่ยนติดตั้งพัดลมระบายอากาศออกสู่ด้านนอกอาคารให้สูงจากพื้น 10-20 ซม. บริเวณหัวเตียงคนไข้

7.     เจ้าหน้าที่ สำรวจปิดให้อยู่ในตำแหน่งศูนย์หลังเลิกใช้งาน

8.       ควรมีการตรวจสอบ เดือนละ 1 ครั้งๆละ 15 นาที โดยกดปุ่ม Test ที่ตัวเครื่อง หรือถอดปลั้กไฟฟ้าออกเพื่อเป็นการตรวจสอบ ว่าขณะนี้หลอดไฟของโคมไฟฉุกเฉินยังติดอยู่สองหลอดหรือไม่ และติดได้นานเท่าไร และเป็นการบำรุงรักษาแบตเตอรี่ในเครื่องด้วย และจัดทำแผนการบำรุงรักษา ผู้รับผิดชอบ

9.  แนะนำให้ทำแผงควบคุมแอร์ทั้งโรงโรงพยาบาล โดยเดินสายไฟผ่านแผงควบคุม

10.            แนะนำให้ต่อตัวดักกลิ่นก่อนถึงอ่างล้างมือ

11.                เปลี่ยนสายปลั๊กให้เป็น 3 ขา

12.                 แนะนำให้ติดตั้งตั้งฉากกับพื้นโลก ปิดวาวว์หัวท่อทุกครั้งก่อนเลิกใช้งาน ให้เกย์ออกซิเจนอยู่ที่ระดับศูนย์

 

 

หมายเลขบันทึก: 259276เขียนเมื่อ 4 พฤษภาคม 2009 21:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กรกฎาคม 2013 11:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท