สรุปบทเรียนจากตลาดพระเครื่อง: “พระเครื่องแท้ๆ” มาจากไหน


ผมก็ยังค่อนข้างประหลาดใจ ที่ปรากฏว่าในตลาดพระเครื่องทั่วไป อย่างเช่น ตลาดในเมืองขอนแก่น ก็ยังมี “พระแท้ๆ” ราคาถูกๆ (ราคาหลักร้อย) ให้คนตาถึงได้ซื้อบ่อยๆ เกือบทุกวัน

พอเข้าไปเรียนรู้ในตลาดพระเครื่องระยะหนึ่ง ผมก็เริ่มรู้จักแยกแยะได้เล็กน้อยว่า พระเครื่องแท้ๆ กับของปลอมนั้นมีวิธีสังเกตอย่างไร

ทำให้ผมเริ่มมองเห็นธรรมชาติของตลาดพระเครื่องอย่างเป็นจริง และชัดเจนมากขึ้น และ เมื่อเห็นพระเครื่องแบบเดินผ่านๆ พอจะแยกแยะได้ว่า

·        อะไรของน่าจะแท้

·        อะไรน่าจะปลอม และ

·        อะไรปลอมตาเปล่า

โดยเฉพาะ สองกลุ่มหลังนี่มีมาก อันเนื่องจากผลิตกันได้ไม่จำกัด ไม่มีใครสนใจซื้อไปเก็บ หรือ ที่หลงซื้อไปก็พยายามนำออกมาขายต่อ

ซึ่งตรงกันข้ามกับพระเครื่องแท้ๆ ที่มีน้อย มีแต่คนจะซื้อไปเก็บ ไม่ปล่อยออกมาง่ายๆ

แม้จะปล่อยออกมาก็มักจะตั้งราคาสูง (หลักหมื่น แสน หรือแม้หลักล้านบาท) ตามราคาปลายขายจริงที่ตลาดใหญ่ท่าพระจันทร์ หรือ อย่างมากก็ลดลงมาเหลือสัก ๑๐ % ของราคาท่าพระจันทร์ ก็หาคนซื้อทั่วไปไม่ได้แล้ว ต้องขายให้ระดับมหาเศรษฐีเพียงอย่างเดียว

แต่ผมก็ยังค่อนข้างประหลาดใจ ที่ปรากฏว่าในตลาดพระเครื่องทั่วไป อย่างเช่น ตลาดในเมืองขอนแก่น ก็ยังมี “พระแท้ๆ” ราคาถูกๆ (ราคาหลักร้อย) ให้คนตาถึงได้ซื้อบ่อยๆ เกือบทุกวัน ซึ่งทำให้ผมได้ตั้งคำถามเล่นๆ ว่า

“พระเครื่องแท้ๆ ราคาถูกๆ (แม้มีไม่มากนัก) เหล่านี้ มาจากไหน”

เท่าที่ได้คำตอบบ่อยที่สุดตามลำดับ ดังนี้

1.   นำพระต้นทุนต่ำไปแลกมาจากเพื่อนแผงพระด้วยกัน (กว่าครึ่งของที่พบ)

2.    มีคน (ส่วนใหญ่ เด็ก พระสงฆ์ หรือคนที่ไม่ค่อยรู้จักพระเครื่อง) นำมาขายในราคาถูก (ประมาณไม่เกิน ๒๐%)

3.    นำพระเครื่อง (ต้นทุนต่ำ)ที่เขาชอบไปแลกมาจากบ้าน (ประมาณไม่เกิน ๑๐%)

4.    ไปหาซื้อมาจากชาวบ้านที่เก็บสะสมไว้เอง (ประมาณไม่เกิน ๕ %)

และยังมีพระเครื่องแท้ๆ ราคากลางๆ หลักใกล้ๆหมื่น ที่นักสะสมนำมาปล่อยเอง ด้วยเหตุผลส่วนตัว อยู่บ้างอีกจำนวนหนึ่ง แต่ไม่มากนัก โดยส่วนใหญ่จะขายให้เซียนใหญ่ ไม่จำหน่ายตามแผงทั่วไป ทั้งด้วยราคาและกำลังซื้อของแผงพระ

 

ผมเลยพยายามตั้งคำถามต่อว่า

แล้วคนที่แลกคนแรก เอามาจากไหน

ส่วนใหญ่คำตอบก็วนมาที่ข้อ ๒-๔

จึงทำให้ผมเริ่มมาสรุปว่า ข้อ ๑ ไม่มีความหมายถึงแหล่งที่มาของพระ จึงพยายามไปตีประเด็นข้อ ๒-๔ แทน

แต่ก็มาพิจารณาว่า

ถ้ามีคนนำมาขาย แล้วก็มีคนซื้อไปเก็บ น่าจะหมดจากตลาดมากกว่าที่จะมีหมุนเวียนอยู่ในปัจจุบัน

จึงพยายามยิงคำถามต่อไปว่า อะไรคือแหล่งใหญ่ที่สุดที่ทำให้แผงพระอยู่ได้

ก็ได้คำตอบที่เริ่มจะแคบเข้ามาว่า

 “การรับซื้อพระราคาถูก ขายพอได้กำไร เป็นสิ่งที่ทุกแผง ทำประจำ และทำให้อยู่ได้ มีรายได้ประจำพอที่จะเลี้ยงตัวได้”

จึงทำให้มีพระแท้ ราคาถูก หมุนเวียนอยู่ในตลาด

(ขายพอได้กำไร เท่าไหร่ก็ได้ ไม่ติดยึดราคาตลาดท่าพระจันทร์)

แต่ผมก็มาติดที่ว่า

คนที่นำพระแท้ๆมาขาย “ถูกๆ” เป็นคนแรกนั้น นำมาจากไหน

พอถึงประเด็นนี้หลายคนที่ผมถามก็เริ่มแย้มๆมาว่า

น่าจะได้มา “ฟรีๆ” ไม่มีต้นทุนจึงขายได้ถูก

แล้วจะได้พระแท้ๆ มาฟรีๆ ได้อย่างไร

สงสัยจะมีไม่กี่วิธีแล้วละครับ เช่น

1.    มรดกสามีที่ตาย มรดกพ่อ มรดกปู่

2.     ไปหาขุดมาเอง (ไม่น่าจะเหลือมากนัก)

3.   ไปยืมเจ้าของเขามา โดยไม่บอก หรือไม่ให้เจ้าของพระเครื่องรู้ตัว

ข้อสุดท้ายนี้น่าจะเป็นข้อที่ทำให้ขายได้ถูก และขายแบบไม่ต้องคิดมากครับ

นี่คือข้อสงสัย ยังไม่สรุปครับ

วันหลังจะมารายงานต่อครับ

 

หมายเลขบันทึก: 258600เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2009 18:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 ธันวาคม 2012 08:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

สวัสดีค่ะ อาจารย์แสวง

บังเอิญผ่านมาพบเข้า เลยเผลออ่านไปหลายตอนเลยค่ะ เป็นความรู้ที่ดีจริงๆ

คือหนูเองก็เริ่มสนใจพระเครื่องค่ะ กำลังเรียนรู้อยู่ แต่ไม่มีเซียนนำทาง ไม่กล้าไปเดินดูแผงพระคนเดียวด้วย เลยได้แต่หาอ่านบทความเกี่ยวกับพระเครื่องไปวันๆ จนกระทั่งมาพบบทความของอาจารย์เข้า หวังว่าคงจะได้มีโอกาสขอรับคำแนะนำจากอาจารย์บ้างนะค๊ะ ขอบคุณค่ะ

ครับ ถือว่าเรียนรู้ด้วยกันก็ได้ครับ

ผมก็กำลังเรียน มีเวียนคอยช่วยตัดสินกันพลาด

แต่ทุกคนผมเช่ามาแบบ "คืนได้ เงินเท่าเดิม"

ไม่งั้นไม่เสี่ยงครับ

ของปลอมใกล้เคียงมีมากจริงๆ โดยเฉพาะพระยอดนิยมนั้น ปลอม ๙๙.๙๙% เลยครับ

เมื่อไม่แน่ใจด้วยกัน จึงมีราคาหลายระดับไงครับ

ถ้ามั่นใจก็ราคาเต็ม ไม่รับประกันก็ครึ่งหนึ่ง

ไม่แน่ใจก็หลักพัน ไม่รู้ ไม่แน่ใจก็หลักร้อย

นี่คือเหตุผลว่าทำไมจึงมีราคาต่างกันมาก ครับ

สงสัยอะไรก็ถามมาได้ครับ

ในเวบนี้ หรือ email โดยตรงก็ได้ครับ

ขอบคุณมากครับ

 

ผมเริ่มสนใจพระเครื่องประมาณปีเศษๆมาแล้ว ใหม่ๆก็ไม่กล้าเดินเข้าตลาดพระเครื่องเพราะอาย เมื่อได้อ่านคำเทศน์ของหลวงพ่อ

พุธ ฐานิโย เรื่องการส่องพระ คงจะมีคนถามท่าน ท่านตอบว่าไม่เห็นเสียหายอะไร ได้สมาธิดี ดีกว่าไปนั่งดูผู้หญิง(คนถามคงเป็นผู้ชาย)ก็จริงอย่างท่านเทศน์ มีสติตามรู้สิ่งที่ค้นหาในองค์พระ ทำให้เกิดสมาธิหาเหตุหาผลขึ้นมา ถ้าคุณศรีสุดาผ่านเข้ามาอีก ลองดูนะครับ จะเป็นจริงอย่างหลวงพ่อพุธ ท่านเทศน์ใว้หรือเปล่า

ตอนเริ่มสะสมพระใหม่ๆบาดเจ็บทั้งกระเป๋าและจิตใจ แต่ตอนนี้ก็ดีขึ้นบ้าง ส่วนใหญ่ผมจะได้พระแท้ราคาถูกจากแผงรับทำกรอบพระ ที่มีเด็กนำพระมาขายให้ (แต่ถ้ามีเงินเหลือใช้ก็ไม่ต้องไปเดินหาหรอกครับไปหาเซียนที่ท่านไว้ใจได้ ท่านก็จะได้ตามความต้องการ หรือทำตามท่านอาจารย์ดร.แสวง คือตั้งจิตอธิษฐาน ถ้าท่านเป็นคนจิตใจดีได้ผล100%ครับ)

ผมอยากจะขอให้ท่านอาจารย์ตั้งชมรมขึ้นมาครับ

ขอบคุณครับ

ขอบคุณครับ

ผมกำลังคิดอยู่สามมุมด้วยกันคือ

  1. ชมรมสุปบทเรียนใน G2K
  2. ชมรมเรียนรู้เรื่องพระกรุ ที่ผมเช่าพื้นที่ไว้ โดยใช้เวบ sawaengkku.com
  3. เปิดเวบแลกเปลี่ยนพระ ใน taradpra.com สำหรับผู้สนใจที่นำพระมาแลกให้ได้ตรงกับโฉลก และตรงใจมากกว่าเดิม

๒ เรื่องแรกทำแล้ว แต่เรื่องที่ ๓ กำลังทำครับ น่าจะเปิดได้ก่อนสงกรานต์นี้ครับ

สวัสดีครับ

อ่านบันทึกนี้แล้ว ได้เรียนวิธีการต้ัั้งคำถามจากอาจารย์แยะเลยครับ

ม่วนและได้รอยหยักในสมองเพิ่มขึ้นครับ

...

ที่เจอมาบางทีบืดาผู้สะสมพระเครื่องเก็บไว้มากแล้วเสียชีวิตไม่ได้ถ่ายทอดให้กับบุตรหลาน เมื่อหัวหน้าครอบครัวเสียไป ก็ต้องใช้จ่ายแต่ไม่มีความรู้หรือรู้ไม่ลึกว่าอันไหนจริงแท้ ราคาเท่าไร ก็ปล่อยออกสู่ตลาดในราคาถูก โดยไม่ได้สนใจในเรื่องตกควายหรือไม่เพราะไม่ได้มีความรู้ หรือสนใจที่จะศึกษาราคา

ไม่มีความรู้ย่อมโดนหลอกได้โดยง่ายครับ ทั้งขาขึ้นขาล่อง

พร ค่ะอาจารย์พอดีเข้ามาขอนแก่นและสนใจเรื่องพระอยู่อยากทราบค่ะว่าตลาดพระที่ขอนแก่น อยู่แถวไหนค่

258600

ตลาดพระเหมาะสำหรับคนดูพระเป็นเท่านั้นนะครับ

ในขอนแก่นก็มีหลายที่ แหล่งใหญ่อยู่ข้างๆ บขส ทั้งในตลาดใหญ่และริมถนนครับ

ขอบคุณมากค่ะอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท