การปลูกพืชคลุมดินในสวนยางพารา


พืชคลุมดินในสวนยางพารา

การปลูกพืชคลุมดินในสวนยาง

 

                        ในระยะยางอ่อน ปัญหาสำคัญคือ วัชพืชสามารถเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของต้นยาง การปลูกพืชคลุมดินเป็นวิธีหนึ่งที่ควบคุมการเจริญเติบโตของวัชพืชได้ และลดการชะล้างและพังทลายของดิน ตลอดจนสามารถปรับปรุงโครงสร้างและเพิ่มธาตุอาหารในดินด้วย

 

ประโยชน์ของพืชคลุมดิน

·       ป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน

·       รักษาความชุ่มชื้นในดิน

·       เพิ่มอินทรียวัตถุในดิน

·       เพิ่มธาตุอาหารโดยเฉพาะไนโตรเจนในดิน และหมุนเวียนธาตุอาหาร

·       ควบคุมวัชพืช

·       ช่วยลดระยะเวลายางอ่อน

·       ผลตกค้างของพืชคลุมดินทำให้ผลผลิตยางเพิ่มขึ้น

 

ข้อจำกัดของพืชคลุมดิน

·       เป็นแหล่งอาศัยของโรคและแมลง

·       เป็นเหตุให้เกิดไฟไหม้ในสวนยางได้ง่าย

·       เป็นการเพิ่มโรครากให้แก่ต้นยาง

·       ขึ้นพันต้นยาง ทำให้เสียหาย

 

ชนิดของพืชคลุมดินที่ปลูกในสวนยาง

                        พืชคลุมดินตระกูลถั่วที่ใช้ปลูกในสวนยางที่สำคัญมี 4 ชนิด คือ

1.      คาโลโปโกเนียม (Calopgonium mucunoides) เป็นพืชคลุมดินที่เจริญเติบโต

ได้รวดเร็ว สามารถคลุมพื้นที่ทั้งหมดภายหลังปลูกภายใน 2 3 เดือน แต่จะตายภายใน 1824 เดือน มีเมล็ดเล็กแบน สีน้ำตาบอ่อนเกือบเหลือง มีเมล็ดประมาณ 65,000 เมล็ดต่อกิโลกรัม

2.      เพอราเรีย (Pueraria phaseoloides) เป็นพืชคลุมดินที่เจริญเติบโตค่อนข้าง

เร็วสามารถคลุมพื้นที่ทั้งหมดหลังปลูกภายใน 5 6 เดือน คลุมดินได้ดีเมื่ออายุเกิน 2 ปี ควบคุมวัชพืชได้ดีกว่าพืชคลุมดินอื่นอยู่ภายใต้ร่มเงาได้ดี ใบใหญ่หนา เมล็ดเล็กค่อนข้างกลม ยาว สีน้ำตามแก่มีเมล็ดประมาณ 76,000 เมล็ดต่อกิโลกรัม

3.      เซ็นโตรซีมา (Centrosema pubescens) เป็นพืชคลุมดินที่เจริญเติบโตช้า แต่

หนาทึบ และอยู่ได้นานขึ้นได้ดีภายใต้ร่มเงา ใบเล็ก เมล็ดเล็กแบนมีลาย และมีเมล็ดประมาณ 40,000 เมล็ดต่อกิโลกรัม

4.      ซีรูเลียม (Calopogonium caeruleum) เป็นพืชคลุมดินที่เจริญเติบโตใน

ระยะแรกช้าสามารคลุมพื้นที่ได้หนาแน่นภายใน 4 6 เดือน ทนทานต่อร่มเงาได้ดี ไม่ตายในหน้าแล้ง ใบสีเขียวเข้มค่อนข้างหนาและเป็นมัน แผ่นใบมีขน เมล็ดมีสีเขียวอ่อนจนถึงน้ำตาลแก่ ผิวเมล็ดเรียบเป็นมันวาวมีเมล็ดประมาณ 26,200 เมล็ดต่อกิโลกรัม

เนื่องจากลักษณะและการเจริญเติบโตของพืชคลุมดินแต่ละชนิดแตกต่างกัน การ

ปลูกพืชคลุมดินให้คลุมตลอดอายุต้นยางอ่อน ควรปลูกหลายชนิดรวมกันตามสัดส่วน และเมล็ดพันธุ์พืชคลุมดินควรมีความงอกมากกว่าร้อยละ 80 ปลูกโดยวิธีหว่าน

 

สัดส่วนของการผสมเมล็ดพันธุ์พืชคลุมดิน

 

สูตร

สัดส่วนโดยน้ำหนัก

กรัม/พื้นที่ปลูกยาง 1 ไร่

คาโลโปโกเนียม

เซ็นโตรซีมา

เพอราเรีย

ซีรูเลียม

คาโลโปโกเนียม

เซ็นโตรซีมา

เพอราเรีย

ซีรูเลียม

เขตปลูกยางเดิม

1

2

3

4

5

6

7

8

5

2

-

-

1

1

-

-

4

2

2

3

2

1

-

-

1

1

1

1

-

-

1

-

-

-

-

-

-

-

-

-

500

400

-

-

340

500

-

-

400

400

660

750

660

500

-

-

400

200

340

250

-

-

1,000

-

-

-

-

-

-

-

-

270 - 310

เขตปลูกยางใหม่

9

10

1

-

-

-

1

-

-

1

750

-

-

-

750

1,500

-

270 - 310

การเตรียมเมล็ดพันธุ์พืชคลุมดิน

                        เมล็ดพืชคลุมดินมีเปลือกหุ้มเมล็ดแข็งทำให้น้ำซึมผ่านเข้าไปในเมล็ดยาก เมื่อนำไปปลูกเมล็ดจะงอกน้อย จึงควรกระตุ้นให้เมล็ดงอกดีขึ้นโดยปฏิบัติดังนี้

                        1.  แช่ในน้ำอุ่น ใช้ปฏิบัติกับเมล็ดพืชคลุมดินคาโลโปโกเนียม เซ็นโตรซีมา และเพอราเรียนำไปแช่ในน้ำอุ่น (น้ำเดือด : น้ำเย็น อัตรา 2:1) นาน 2 ชั่วโมง นำเมล็ดไปผึ่งให้แห้งหมาดๆ แล้วนำไปคลุกกับหินฟอสเฟต (25% Total P2O5) เพื่อนำปลูกต่อไป ควรเตรียมเมล็ดพืชคลุมดินเพื่อปลูกให้หมดในแต่ละครั้ง การเก็บไว้นานเกินไปจะทำให้ความงอกเสื่อมลง

                        2.  แช่ในน้ำกรด  ใช้ปฏิบัติกับเมล็ดซีรูเลียม โดยแช่ในกรดกำมะถันเข้มข้นนาน 10 นาที นำไปล้างน้ำแล้วผึ่งให้แห้ง

 

ช่วงเวลาการปลูกพืชคลุมดิน

                        เวลาในการปลูกพืชคลุมดินมีหลายปัจจัยเกี่ยวข้อง เช่น ฤดูกาล อายุของต้นยาง การปลูกพืชคลุมดินให้ประสบความสำเร็จมีข้อควรพิจารณาดังนี้

1.      ฤดูกาลและเวลา ควรปลูกต้นฤดูฝน เพื่อให้พืชคลุมดินเจริญเติบโตควบคุมวัชพืช

และติดฝักให้เมล็ดได้ดีกว่าการปลูกล่าช้าออกไปเป็นการป้องกันการชะล้างหน้าดินได้เร็วขึ้น นอกจากนั้นในช่วงฤดูแล้งก็ยังสามารถดำรงชีพอยู่ได้เพราะมีเถาที่แข็งแรง แม้ว่าใบจะร่วงหล่นไปก็ตาม เมื่อถึงฤดูฝนถัดไปเถาที่มีชีวิตอยู่นี้ และเมล็ดที่ร่วงหล่นอยู่บางส่วนก็จะเจริญงอกงามต่อไป ในสภาพดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์หรือในเขตแห้งแล้งไม่ควรปลูกพืชคลุมดินทิ้งไว้ข้ามฤดูกาลก่อนการปลูกยางเพราะพืชคลุมดินอาจทำความเสียหายให้กับต้นยาง โดยแย่งความชื้นในดินในช่วงฤดูแล้ง

2.      การปลูกพืชคลุมดินหลังปลูกพืชแซมยาง 

หมายเลขบันทึก: 258206เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2009 17:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

หวัดดีครับ

  • คงจะปลูกยางไว้หลายไร่นะครับ

 

สวัสดีครับ อ.แดง

ที่แรกเข้าใจว่าเป็น จนท กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง

พืชคลุม เพิ่มธาตุอาหารแก่ดิน เป็น)ระโยชน์แก่พืช

มีประโยชน์ดีมากครับ

ขอบคุณมากครับ

หวัดดีครับ หนุ่มร้อยเกาะ

ของตัวเองที่อุบล หม้ายสักไร่ทีล่ะครับ มีแต่ปลูกให้หลวง ตอนนี้ก็ เกือบ 200 ไร่แล้วครับ ว่างๆ มาเที่ยวตะครับ ผมอยู มหาวิทยาลัยอุบล ครับ มาอยู่อีสาน 20 ปีแล้วครับแต่บ้านที่ นครฯ ก็ยังมีครับ

หวัดดีครับ หนุ่มร้อยเกาะ

ของตัวเองที่อุบล หม้ายสักไร่ทีล่ะครับ มีแต่ปลูกให้หลวง ตอนนี้ก็ เกือบ 200 ไร่แล้วครับ ว่างๆ มาเที่ยวตะครับ ผมอยู มหาวิทยาลัยอุบล ครับ มาอยู่อีสาน 20 ปีแล้วครับแต่บ้านที่ นครฯ ก็ยังมีครับ

หวัดดีครับ พี่เกษตรยะลา

ผมไม่ใช่เจ้าหน้าที่ สกย. ครับ แต่บางครั้งก็ทำยิ่งกว่า สกย.อีกครับ เพราะยางมันอยู่ในสายเลือดเสียแล้วครับ ร่วมงานทั้ง สกย. (กองทุนสวนยาง) ศวย. (ศูนย์วิจัยยาง) อสย. (องค์การสวนยาง) มีงานเกี่ยวกับยางที่ไหนส่วนใหญ่ไม่พลาดครับ นี่ก็เพิ่งไปงานยางแห่งชาติที่ จ.หนองคายมาครับ ผมมีโปรแกรมบัญชีรับซื้อยางไป แนะนำแล้วแจกฟรีให้กับกลุ่มส่วนยางทั่วประเทศในงานนั้นครับ

ในส่วนของพืชคลุมในอีสาน ผมก็บ้าของผมมาหลายปีแล้วครับ เพราะอีสานดินไม่ค่อยดี ชาวบ้านปลูกยางแล้วใส่ปุ๋ยน้อย ผมชวนเขาปลูกเขาก็ไม่อยากปลูก กลัวไปไหม้ ผมก็ใช่วิธี ลักปลูกให้ครับ ตอนนี้ก็ขยายไปได้หลายแล้วเหมือนกัน

ความสำคัญของการปลูกพืชคลุมดิน

สวัสดีครับอ.แดง

ผมเข้ามาอ่านแล้วได้ความรู้ดีครับ

ขอบคุณมากนะครับ ช่วงนี้สอบอ่ะครับ

ผมว่าจะปลูกคาโลโปโกเนียม (Calopgonium mucunoides)

ทำเป็นปัญหาพิเศษกับอ.นะครับ ตอนซัมเมอร์

ส่วนโครงการ อ.มนัส บอกว่าพวกผมน่าจะปรับแผนเช่นปลูกเมล็ดพืชคลุมดินขายอ่ะครับ

หวัดดีครับ อ.แดง

เข้ามาอ่านหาความรู้ครับ บ้านอยู่อุดรสนใจอยากปลูกยางพาราครับ ขอเรียนถามอาจารย์ครับว่า ควรปลูกระยะห่างต่อต้นต่อแถวเท่าไหร่ดีถึงจะเหมาสม การปลูกพืชคลุมดินหว่านทั่วแปลงเลยหรือครับ หรือว่าหว่านเฉพาะระหว่างแถว และอีสาน ใชพันธ์อะไรดีครับ

ขอบพระคุณล่วงหน้าครับผม

อาจารย์ครับๆๆ

มีปัญหามาถามท่านอาจารย์อีกแล้ว มีคนทักว่าดินปนหินลูกลังปลูกยางไม่ดีนะเพราะว่ารากยางจะหยั่งลงลึกไม่ได้ พอต้นใหญ่จะล้มได้ง่ายว่างั้น จริงเท็จไงขออาจารย์ช่วยแนะนำหน่อยนะครับ การทำสวนยางคงลงทุนมากพอยางโตได้ที่ลมมาหน่อยล้มคลืนก็ตายกันพอดี อีกอย่างยางเราปลูกช่วงเดือน ตค. หรือ พย.ได้ไหมครับก็คงจะปลายฝนแล้ว แต่ผมว่าปลูกต้นฝนจะดีกว่าเพราะต้นยางจะได้โตพอที่จะสู้กะภัยแล้งตอนหน้าแล้งได้ ขอบคุณนะครับ

สวัสดีค่ะอ.แดงตอนนี้ดิฉันกำลังคิดจะปลูกยางต้นเดือนมิย54สนใจเรื่องพืชคลุมดินตะกูลถั่วค่ะแต่ยังกังวลปัญหาหลายๆอย่างว่าจะมีผลดีและผลเสียกับต้นยางพาราอย่างไรเรื่องแมลง

ต้องการสอบถามการซื้อพืชคลุมดิน จะซื้อได้ที่ไหนคะ อยู่ภาคอีสานค่ะ จ.กาฬสินธุ์ แล้วจะซื้อพันธุ์ไหนถึงจะดีคะ ยังไม่มีความรู้ แต่อยากจะทำสวนยางค่ะ

ตอนนี้เมล็ดพืชคลุมคงหายากแล้วครับ ในภาคอีสานเพอราเรีย ซีรูเลี่ยม เป็นพืชที่เจริญเติบโตดี เมล็ดซีรูเลี่ยม ช่วงนี้ลองสอบถามไปทางศูนย์วิจัยเกษตรที่สูง อ.ภูเรือ ดูครับ ส่วนมูคูน่า ถึงแม้จะดีกว่าสองตัวที่ว่า แต่เมล็ดค่อนข้างจะหายาก และราคาค่อนข้างแพงครับ

ผมจะติดต่ออาจารย์แดงได้อย่างไรครับ

ผมขอเบอร์โทรศัพท์ของอาจารย์ได้ไหมครับ

ผมขอเบอร์โทรศัพท์ของอาจารย์ได้ไหมครับ


 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท