การแพทย์แผนไทยอุดรธานีกับโรคเบาหวาน
คณะทำงานจัดการความรู้ การแพทย์แผนไทยอุดรธานีกับโรคเบาหวาน

เล่าเรื่องแพทย์แผนไทยอุดรเดือน กันยายน 2551


โปรแกรมรหัสข้อมูลสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทย

1.งานมหกรรมสมุนไพร ครั้งที่ 5 วิทยากรระบบการดูแลสุขภาพวิถีไทอิสาน  ณ อิมแพ็คเมืองทองธานี

 จ.นนทบุรี  วันที่ 3-5 กันยายน 2551    ขอสรุปผล ดังนี้

1.การสัมมนาวิชาการเครือข่ายการแพทย์พื้นบ้านไทย มีการนำเสนอผลงานวิชาการ 3  เรื่อง ซึ่งดำเนินรายการโดยคุณ  วีรพงษ์ เกรียงสินยศ มูลนิธิสุขภาพไทย

การอยู่ไฟหลังคลอด โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอ่างทอง , ศูนย์พัฒนาเครือข่ายองค์กรชาวบ้าน ฯ , สำนักงานสาธารณสุขอำภเอกุฉินารายณ์และมูลนิธิศานติธรรม

การจัดการฐานทรัพยากรสมุนไพรเพื่อการอนุรักษ์และการสร้างสุขภาวะ โดย หน่วยวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม , สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และศูนย์พัฒนาเครือข่ายองค์กรชาวบ้าน ฯ

โครงสร้างระบบการดูแลสุขภาพชุมชนวิถีไทอีสานเพื่อการพึ่งตนเอง โดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน , ศูนย์สมุนไพรตะบัลไพร , ชมรมเกษตรนิเวศน์เทพนิมิตร จังหวัดชัยภูมิ , สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  และ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี

2.ภก.สมชาย  ชินวานิชย์เจริญ ได้ร่วมนำเสนอผลงานวิชาการเรื่อง การจับเส้นของหมอจับเส้นอีสาน ในการนำเสนอโครงสร้างระบบการดูแลสุขภาพชุมชนวิถีไทอีสานเพื่อการพึ่งตนเอง

3.ลานวัฒนธรรม 4 ภาค จังหวัดอุดรธานีโดยนายอำนวย พลลาภ ประธานชมรมหมอพื้นบ้านสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอบ้านดุง และ คณะรวม 10 คน ได้ร่วมกิจกรรม มีการสาธิต การนวดจับเส้น , การแทกโสก , การดูมอ และการแนะนำการใช้ยาสมุนไพร (ยังไม่แปรรูป)

                2. อบรมการเข้าใช้โปรแกรมรหัสข้อมูลสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทย  ณ โรงแรมเอบีน่าเฮ้าส์ กรุงเทพฯ  วันที่  12 กันยายน  2551

                   1. วัตถุประสงค์ของการอบรมเพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถใช้รหัสและโปรแกรมข้อมูลสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทย  เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน  เชื่อมโยงกับระบบข้อมูลสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข

                2. นางเกษร  อังศุสิงห์  หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมฯ ชี้แจงนโยบายและแนวทางการพัฒนาข้อมูลสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทย ปี 2552  โดยจะจัดสรรงบประมาณให้จังหวัดจัดอบรมการใช้โปรแกรมแก่สถานบริการในช่วงต้นปีงบประมาณ 2552  และการรายงานข้อมูล ซึ่งจะเริ่มให้มีการลงข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลการให้บริการ ในวันที่ 1 ตุลาคม  2551  ผ่านทาง www.thcc.or.th 

                                3. การให้รหัสข้อมูลด้านการแพทย์แผนไทย  รหัสโรคและอาการด้านการแพทย์แผนไทย  และรหัสหัตถการ  (ตามคู่มือ)

                                4. การลงข้อมูลโปรแกรม (ตามคู่มือ)  และฝึกปฏิบัติ

สิ่งที่จะต้องดำเนินการต่อไป

1. จัดอบรมการใช้โปรแกรมแก่สถานบริการ ในต้นปีงบประมาณ 2552 โดยบูรณาการกับงาน IT  กลุ่มงานยุทธศาตร์ฯ

2. ติดตามการลงข้อมูล โดยให้มีการลงข้อมูลพื้นฐาน ปีละ 1 ครั้ง ภายในเดือนตุลาคม ของทุกปี  หรือกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล   และการรายงานข้อมูลการให้บริการของสถานบริการ โดยให้รายงานทุกเดือน

 

                3.ประชุมโครงการ สสส.  ที่ อบต.บ้านจั่น อ.เมือง  วันที่  16  กันยายน  2551

                                ผู้เข้าร่วมประชุม ได้แก่ หมอพื้นบ้าน อ.บ้านดุง  จำนวน 30  คน  ประธานชมรมผู้สูงอายุชุมชนตำบลบ้านจั่น   จนท.อบต.บ้านจั่นให้การต้อนรับนำทีมโดย นายก อบต. นายคมเดช  คงศรี   จนท.งานการประกอบโรคศิลปะ สสจ.อด.(ภญ.กนกพร  จรูญวรรณ)   จนท.งานหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สสจ.อด. (นายปริญญา  แฝงสีคำ  ,นายสมจง  โกมุทกลาง)   จนท.กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์  สสจ.อด. (คุณสถิดาภรณ์  สุระถิตย์)  และ จนท.งานแพทย์แผนไทย  สสจ.อด.   สรุปดังนี้

                                1. เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแนวคิด/แนวทาง และนโยบายการดูแลสุขภาพท้องถิ่น  

                                2. ภญ.กนกพร  จรูญวรรณ  ได้ให้ความรู้ตาม พ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะ มาตรา 30 ที่ห้ามมิให้ทำการประกอบโรคศิลปะ โดยไม่ได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต  ยกเว้น ตาม (2) การช่วยเหลือหรือเยียวยาผู้ป่วยตามธรรมจรรยาโดยไม่ได้รับประโยชน์ตอบแทน

                                3. นายปริญญา  แฝงสีคำ  ให้ความรู้เรื่องการจัดระบบสุขภาพท้องถิ่น ตามงบกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น  ซึ่งเครือข่าย องค์กรต่างๆ ชมรมต่างๆ สามารถขอใช้งบประมาณนี้ได้โดยจัดทำในรูปโครงการเสนอผ่าน อบต.

                                4. รายงานผลการดำเนินการโครงการ  และแนวทางการจัดการระบบสุขภาพท้องถิ่นโดยภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ  โดยเสนอให้มีการบันทึกข้อมูลหมอพื้นบ้านและผู้ให้บิการ /ผู้รับบริการในระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์  ตามแนวทางดังนี้

1.    กำหนดคุณสมบัติของหมอที่จะเบิกเงินกองทุนได้

a.        เป็นสมาชิกชมรม กรณีสมัครใหม่ต้องผ่านการลงมติรับรองตามข้อบังคับของชมรมเสียก่อน

b.     มีข้อมูลในสารานุกรม กรณีที่ยังไม่มีต้องเก็บข้อมูลเพิ่มเติมและนำมาผ่านการลงมติรับรองในการประชุมประจำเดือนของชมรม

2.    การเก็บข้อมูลคนไข้ กำหนดให้มีผู้ทำหน้าที่เก็บข้อมูลคนไข้ของหมอพื้นบ้าน

a.     คณะกรรมการชมรมจัดอบรมเทคนิคการเก็บข้อมูลคนไข้ให้หมอยาน้อย (เยาวชนรักษ์ถิ่น) หรือ ถ้ายังไม่มีให้ผู้ประสานงานของตำบลเป็นผู้เก็บข้อมูลคนไข้

b.       ผู้ทำหน้าที่เก็บข้อมูลคนไข้ เก็บข้อมูลของคนไข้ที่ไปหาหมอพื้นบ้าน ตามแบบที่กำหนด

3.    การส่งข้อมูลเพื่อการเบิก

a.        ผู้ประสานงานระดับตำบลรวบรวมข้อมูลของแต่ละเดือนในระดับตำบลทุกวันที่ 25

b.     ผู้ประสานงานระดับตำบลนำข้อมูลดังกล่าวไปผ่านเรื่องให้ อบต. สอ. ของตำบลนั้นๆ ทราบ (ชื่อหมอ  จำนวนคนไข้  ยอดเบิกของแต่ละหมอ ) โดยใช้เวลาไม่เกิน 5 วัน เพื่อให้ทันการนำเข้าที่ประชุมประจำเดือน

c.     ผู้ประสานงานระดับตำบลนำข้อมูลเข้าที่ประชุมประจำเดือนชมรมเพื่อให้กรรมการลงมติรับรอง โดยให้จัดให้มีการประชุมทุกเดือน บรรจุเรื่องการเบิกค่าตอบแทนเก็บข้อมูลเป็นวาระหลัก ( หมอ ร้อยบาท คนเก็บข้อมูล ห้าสิบบาท)

4.    การบันทึกและวิเคราะห์ข้อมูล

a.     ผู้จัดการทั่วไป (ลูกจ้างชมรม) นำข้อมูลที่ผ่านการลงมติรับรองแล้วลงข้อมูลในระบบให้เป็นปัจจุบัน

b.     ฝ่ายศูนย์เรียนรู้นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ เพื่อหาความชุก ความนิยม ความร่วมสมัยใช้ประโยชน์ได้จริงของภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ  โดยวิเคราะห์ทุก 2 เดือน

                                                                                                                           i.      อันดับโรคพื้นบ้านยอดฮิต

                                                                                                                          ii.      อันดับหมอพื้นบ้านยอดฮิต มุ่งสู่ หมอพื้นบ้านต้นแบบ

 

                4. ประชุมรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานโครงการสำรวจสมุนไพร ร.ร.ริชมอนด์  จ.นนทบุรี  วันที่  22  กันยายน  2551   ขอสรุปผลการประชุม ดังนี้

                1.บางจังหวัดมีข้อติดขัดในการดำเนินงานจัดทำแบบร่าง อส.เพื่อขออนุญาตทำการศึกษาในพื้นที่ เช่นต้องแก้ไขเอกสารหลายครั้งทำให้การดำเนินงานล่าช้าออกไป ,  จังหวัดอุดรธานี พื้นที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมป่าไม้ ให้ดำเนินการขออนุญาตผ่านกรมป่าไม้ โดยจัดทำ ป.ส.24

2.จังหวัดอุดรธานี รายงานความก้าวหน้า ได้ดำเนินการเข้าพื้นที่สำรวจแล้ว โดยมีผลการสำรวจสมุนไพร 46 ชนิด และกำหนดพื้นที่วางแปลงสำรวจความหลากหลาย แต่ยังไม่สมบูรณ์เนื่องจากในวันที่ดำเนินการมีฝนตกหนัก ซึ่งมีแผนจะดำเนินการต่อในวันที่ 6 ตุลาคม 2551 และอยู่ในระหว่างรอรายงานการ TAXONOMY ชื่อวิทยาศาสตร์ของสมุนไพร

                จังหวัดที่มีการรายงานและมีความน่าสนใจในผลการดำเนินงาน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดอุบลราชธานี โดยจังหวัดเชียงใหม่มีผลการดำเนินงาที่สามารถวิเคราะห์แยกตามกลุ่ม GENUS , วิเคราะห์ความหายาก วิกฤต ทั้งนี้โดยได้การมีส่วนร่วมจากนักวิชาการสมุนไพรในพื้นที่ดีมาก , จังหวัดอุบลราชธานี วางกรอบแนวคิดการประชาคม และสัมภาษณ์การเข้าใช้ของหมอพื้นบ้านในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้รายการสมุนไพรที่หลากหลายและน่าสนใจ

สิ่งที่จะได้ดำเนินการต่อไป

1.เรียนหารือนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด เรื่องการจัดทำ ปส. 24 เนื่องจากมีผลทางกฎหมาย โดยจะได้เสนอข้อหารือดังนี้

                แนวทางที่ 1 จัดทำ ปส.24 โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี เสนอเรื่องผ่านให้กรมพัฒนาการแทย์แผนไทย

                แนวทางที่  2  ขอให้กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยเป็นผู้ขออนุญาต โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจะดำเนินการจัดทำโครงการแนบ

2.สรุปย่อผลการดำเนินงานของจังหวัดเชียงใหม่ และอุบลราชธานีให้คณะกรรมการโครงการในส่วนของจังหวัดอุดรธานีทราบเพื่อเป็นตัวอย่างและแนวทางในการดำเนินงาน (BenchMark)

หมายเลขบันทึก: 257958เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2009 15:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 06:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท