การแพทย์ สติปัฏฐานสี่


การแพทย์ สติปัฏฐานสี่ สุขภาพ

การแพทย์ กับพุทธศาสนา

พรพิสุทธิ์ เดชแสง

คำสำคัญ การแพทย์ สุขภาพ พุทธศาสนา ธรรมะ

สมัยพระพุทธเจ้าแบ่งโรคออกเป็น สองชนิด

       โรคทางกาย

       โรคทางใจ

ท่านพุทธทาสแบ่งโรคออกเป็น สามชนิด

       โรคทางกาย(Physical Disease)

       โรคทางจิต(Mental Disease)

       โรคทางวิญญาณ(Spiritual Disease)

   การที่ท่านพุทธทาสได้แบ่งโรคเพิ่มนั้นเป็นเพราะ แต่ละคนยังให้ความหมายของกาย จิต และใจแตกต่างกัน อย่างไรก็ดี กาย จิต ใจและวิญญาณเป็นของเกี่ยวเนื่องกันอยู่

 ความหมายของกายโดยทั่วไปหมายถึง กายเนื้ออันประกอบด้วยธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ เรียกรวมว่ารูปในขันธ์ ห้า ส่วนใจ หรือจิตใจนั้น เป็นส่วนของ นามในขันธ์ห้า อันประกอบด้วย เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ถึงตรงนี้แต่ละคนจะมี ความหมายของจิตใจที่เริ่มแตกต่างกัน บางคนก็ให้จิตหมายถึง เวทนา สัญญา สังขาร และใจ เป็นวิญญาณ  บางคนก็เรียก ส่วนนามในขันธ์ห้า ว่าจิตใจไปเลยอย่างไรก็แล้วแต่เป็นเพราะข้อจำกัดในเรื่องของคำเท่านั้น แต่ความหมาย ความเข้าใจต่างหากที่สำคัญไปกว่า

 

การแพทย์และขันธ์ 5

      ร่างกายเราประกอบด้วยขันธ์ห้า หรือคือขันธ์ห้า ซึ่งประกอบด้วยรูป และนามอันประกอบด้วย เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ

ความเจ็บป่วยหรือทุกข์ภัยไข้เจ็บอันเกิดกับขันธ์ห้านั้นสามารถเกิดกับทุกองค์ประกอบของขันธ์ไม่ว่าจะเป็น โรคทางรูปกาย โรคของนามคือ เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ แต่เรามักคุ้นเคยกับโรคทางกายเป็นส่วนใหญ่ ส่วนโรคทางนามหรือจิตใจและวิญญาณนั้นเรามักจะละเลยทั้งที่ความเจ็บป่วยหรือโรคทางใจและวิญญาณนั้นพบในคนเราทุกคน เพียงแต่เราไม่ได้สำเหนียกเอง เพื่อให้เข้าใจโรคประเภทต่างขอยกตัวอย่างดังนี้

       โรคทางกาย เช่น หวัด มะเร็ง

       โรคทางเวทนา   เช่น โรคอารมณ์ซึมเศร้า

       โรคทางสัญญา     เช่น    โรคความจำเสื่อม Dementia Delirium

       โรคทาง สังขาร เช่น โรคคิดวิตกกังวล Psychosis Schizophrenia Delusion Anxiety

       โรคทางวิญญาณ   เป็นโรคเกี่ยวกับปัญญา ขาดความรู้ในสิ่งที่ควรรู้ กิเลส อวิชชา

 

ขันธ์ห้า

โรค

โรค

ตัวอย่าง

 

รูป

โรคทางกาย

โรคทางกาย

หวัด

แพทย์ทางกาย

นาม

     เวทนา

        สัญญา

        สังขาร

โรคทางจิตใจ

โรคทางจิต

โรคจิตเภท

โรคซึมเศร้า

โรควิตกกังวล

แพทย์ทางจิต

        วิญญาณ

โรคทางจิตใจ

โรคทางจิตวิญญาณ

อวิชชา ตัณหา

แพทย์ทางจิตวิญญาณ

 

    ความเจ็บป่วยทางจิตใจ และวิญญาณนั้นเกี่ยวเนื่องกัน ต้องการแพทย์ทางวิญญาณในการชี้แนะ ความเจ็บป่วยทางจิตใจ และวิญญาณนั้น พบได้บ่อยกว่าความเจ็บป่วยทางกายเสียอีก โดยจะมีอาการที่นำมาคือ

       เครียด

       กังวล

       เศร้าใจ

       นอนไม่หลับ

       ทุกข์ใจ

 

โรคทางวิญญาณ(Spiritual Disease)

โรคทางความคิดเห็น หรือทางกิเลสตัณหา โรคของความเป็น ตัวกูของกู กิเลส โลภ โกรธ หลง

ต้องการแพทย์ในทางฝ่ายวิญญาณ  ยารักษาโรคทางวิญญาณ ธรรมะหรือพุทธศาสนา

 

 

 

โรคทางกาย

โรคทางจิตใจ วิญญาณ

ต้องการอาหารกาย

ต้องการอาหารใจคือ ธรรม

ออกกำลังกาย

ออกกำลังใจคือฝึก สติ สมาธิ

แพทย์ทางกาย

แพทย์ทางจิต วิญญาณ

 

 

 

 

    การจะมีสุขภาพทางกายที่ดี ต้องมีปัจจัยพื้นฐานที่ดี สี่อย่างที่สำคัญ คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค เช่นเดียวกันการจะมีสุขภาพทางจิตใจและวิญญาณที่ดีก็ต้องมีปัจจัยพื้นฐานด้วยเช่นกันนั่นคือธรรมะนั่นเอง

 

 

 

 

การแพทย์และอริยสัจสี่

 

        ทุกข์หรือโรคภัยแบ่งออกเป็นกายและใจ โรคทางใจดูแลรักษาด้วย  ธรรมะ ธรรมะที่สำคัญคืออริยสัจสี่เป็นหลักการสำคัญ ซึ่งประกอบด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค

ทุกข์ในอริยสัจ หมายถึงทุกข์ทางใจเป็นหลัก  โดยทุกข์ทางใจแบ่งออกได้

           ทุกข์ทางใจที่เกิดจากใจ

           ทุกข์ทางใจที่เกิดจากกาย

สมุทัย คือ เหตุแห่งทุกข์ เป็นเรื่องของ ความเป็นเหตุและผล

นิโรธ คือความหมดทุกข์ทางใจคือนิพพาน คือความว่าง สุญญตา ธรรม

มรรคคือทางแห่งความดับทุกข์มีแปดประการเป็นสิ่งที่เราต้องปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ทางใจ

     สัมมาทิฏฐิ

     สัมมาสังกัปปะ

      สัมมาวาจา

             สัมมากัมมันตะ

      สัมมาอาชีวะ

      สัมมาวายามะ

      สัมมาสติ

      สัมมาสมาธิ

โดยสามารถแบ่งตาม ศีล สมาธิ  ปัญญา

โดยข้อที่สำคัญ คือ สติ และสมาธิ นำมาสู่การฝึกปฏิบิติธรรมผ่านหัวข้อธรรมข้อนี้ เช่น

สติปัฐานสี่  กรรมฐาน เพื่อความหลุดพ้น หมดทุกข์ทางใจ

 

 

 

การแพทย์และปฏิจจสมุปบาท

 

      ก่อนที่จะดับทุกข์ทางใจนั้นเราจำเป็นต้องรู้เหตุแห่งทุกข์เสียก่อน สาเหตุแห่งทุกข์นั้นมีอยู่ แต่ละคนมองในส่วนที่แตกต่างกัน บางคนว่าทุกข์เพราะ  ขันธ์ ห้า  ทุกข์ เพราะความมีตัวตน อุปาทาน ทุกข์เพราะความคิด อวิชชา  ทุกข์เพราะกิเลส ซึ่งก็ล้วนถูกทั้งหมดแต่ไม่ครอบคลุมทั้งหมดเพราะว่าความทุกข์นั้นเป็นวงล้อของเหตุและปัจจัยจำเป็นต้องมองวงล้อแห่งความทุกข์ให้ครบถ้วนจึงจะแก้ความทุกข์ได้ดีกว่า

วงล้อแห่งการเกิดความทุกข์ที่ว่านี้ก็คือ ปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง

 

อวิชชา เป็นปัจจัยจึงเกิด สังขาร

สังขาร เป็นปัจจัยจึงเกิด วิญญาณ

วิญญาณ เป็นปัจจัยจึงมี นามรูป

นามรูป เป็นปัจจัยจึงเกิด สฬายตนะ

สฬายตนะ เป็นปัจจัยจึงเกิด ผัสสะ

ผัสสะ เป็นปัจจัยจึงเกิด เวทนา

เวทนา เป็นปัจจัยจึงเกิด ตัณหา

ตัณหา เป็นปัจจัยจึงเกิด อุปาทาน

อุปาทาน เป็นปัจจัยจึงเกิด ภพ

ภพ เป็นปัจจัยจึงเกิด ชาติ

ชาติ เป็นปัจจัยจึงเกิด ชรา มรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัส อุปายาส

ความเกิดของกองทุกข์ทั้งหมดนี้เรียกว่า " ปฏิจจสมุปบาท "

ปฏิจจสมุปบาทจะดับได้เพราะ

อวิชชา ดับ สังขาร จึงดับ

สังขาร ดับ วิญญาณ จึงดับ

วิญญาณ ดับ นามรูป จึงดับ

นามรูป ดับ สฬายตนะ จึงดับ

สฬายตนะ ดับ ผัสสะ จึงดับ

ผัสสะ ดับ เวทนา จึงดับ

เวทนา ดับ ตัณหา จึงดับ

ตัณหา ดับ อุปาทาน จึงดับ

อุปาทาน ดับ ภพ จึงดับ

ภพ ดับ ชาติ จึงดับ

ชาติ ดับ ชรา มรณะ โสกะปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส จึงดับ ความดับของกองทุกข์ทั้งมวลนี้ คือ การเดินออกจากบ่วงของปฏิจจสมุปบาท

 

 

อวิชชา

 

สังขาร

 

วิญญาณ

 

นามรูป

หมายเลขบันทึก: 256295เขียนเมื่อ 19 เมษายน 2009 20:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2012 19:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท