ข้อเสนอเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ ความคาดหวัง เป้าหมาย แนวทางดำเนินงานและการแก้ปัญหาต่างๆ ของงาน


ข้อเสนอเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ ความคาดหวัง เป้าหมาย แนวทางดำเนินงานและการแก้ปัญหาต่างๆ ของงาน

โดย...................................................................

ผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกในตำแหน่งรองเลขาธิการ กศน.

 

               ในการปฏิบัติงงานในตำแหน่งรองเลขาธิการ กศน. นั้น ข้าพเจ้าได้กำหนดวิสัยทัศน์ส่วนบุคคลจากการศึกษานโยบายของรัฐบาลจากการแถลงต่อรัฐสภาในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งมีประเด็นสำคัญที่เน้นการขยายศูนย์การศึกษาตลอดชีวิตในพื้นที่ให้ทั่วถึง พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่กล่าวถึงการศึกษาตลอดชีวิต อันประกอบด้วย การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย  ตลอดจนนโยบายเร่งด่วนของกระทรวงศึกษาธิการที่ในส่วนของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยมีบทบาทสำคัญในการดำเนินการเช่น โครงการเรียนฟรีสิบห้าปีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เป็นต้น ทั้งนี้วิสัยทัศน์ของข้าพเจ้าจะใช้ในการหลอมความคิดกับเลขาธิการ กศน. และทีมงาน กศน.ที่เกี่ยวข้องเป็นวิสัยทัศน์ของสำนักงาน กศน.กันต่อไป

 

วิสัยทัศน์

             กศน. เป็นหน่วยงานหลักในการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้คู่สังคมไทย ประชาชนทุกเพศทุกวัยได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง และมีคุณภาพ

 

              คำหลักของวิสัยทัศน์  สังคมแห่งการเรียนรู้ คู่สังคมไทย

                                   ประชาชนทุกเพศทุกวัย ได้รับโอกาสทางการศึกษา

                                   อย่างทั่งถึง และมีคุณภาพ

 

ความคาดหวัง

 

๑.     มุ่งมั่นในการช่วยเหลือเลขาธิการ กศน. บริหารงาน/กิจกรรม และบริหารบุคคลอย่างเต็มศักยภาพ ในบทบาทหน้าที่นักบริหารระดับต้น

๒.     พัฒนากำลังคน กศน. ให้มีศักยภาพเพียงพอในการรับช่วงสานต่อนโยบายของรัฐบาลสุ่การปฏิบัติอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม

๓.     บริหารกิจกรรมและประสานภาคีเครือข่ายให้จัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้

 

 

 

เป้าหมาย

             ๑.ส่งเสริมและจัดการศึกษานอกระบบสำหรับประชากรวัยแรงงานให้จบการศึกษาภาคบังคับ  

               ๒.  ส่งเสริมและจัดการศึกษาตามอัธยาศัย ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ได้

 

แนวทางดำเนินงาน

 

               ในการกำหนดแนวทางดำเนินงานนั้นได้กำหนดแนวทางสู่วิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้โดยจัดเป็นแผนที่ความคิดซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้

๑.     การปรับกระบวนทัศน์และความมุ่งมั่นของผู้บริหาร

๒.     การพัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อรองรับการจัดการความรู้สู่การพัฒนาคุณภาพงาน

๓.     การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสู่ลู่งานให้เกิดประสิทธิผล

๔.     การใช้ห้ากลยุทธ์สู่การยอมรับของสังคม

 

แนวทางข้อ ๑ การปรับกระบวนทัศน์และความมุ่งมั่นของผุ้บริหาร  เนื่องจากผู้บริหารเป็นกลุ่มที่มึความสำคัญในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ประกอบกับโลกยุคโลกาภิวัตน์ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงสูง การจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในยุคปัจจุบันจึงต้องเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ให้สามารถอยู่ได้ในยุคของการแข่งขัน ผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมต่าง ๆ นั้นจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาอย่างจริงจัง จึงจำเป็นต้องปรับกระบวนทัศน์และความมุ่งมั่นของผู้บริหารทุกระดับโดยการประชุมสัมมนา มอบหมายงาน เสริมสร้างกระบวนทัศน์ใหม่ในการทำงานที่มีจิตวิญญาณ กศน. โดยเชื่อมั่นว่าหากผู้บริหารทุกระดับมีความมุ่งมั่นในการทำงานแล้วย่อมสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ดีต่อ กศน.

 

แนวทางข้อ ๒ การพัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อรองรับการจัดการความรุ้สู่การการพัฒนาคุณภาพงาน   โดยกำหนดสมรรถนะหลัก(Core Competency) และสมรรถนะในงาน (Functional Competency) ของบุคลากร กศน. ตำแหน่งหน้าที่ต่าง ๆ อย่างชัดเจน มีการทำแผนพัฒนารายบุคคล และดำเนินการพัฒนาด้วยวิธีการจัดการความรู้ในองค์การ (Knowledge Management) และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยวิธีต่าง ๆ อาทิ การฝึกอบรม การสอนงาน การศึกษาดูงาน ฯลฯ เพื่อให้มีศักยภาพในการทำงานในยุคปัจจุบันที่จะต้องทำงานด้วยการมีฐานความรู้ในตัวหรือเป็นคนที่ทำงานที่ต้องใช้ความรู้ (Knowledge Worker)

 

แนวทางข้อ ๓ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสู่ลู่งานให้เกิดประสิทธิผล  โดยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของสำนักงาน กศน.จังหวัดและสถานศึกษาศุนย์ กศน.อำเภอและหน่วยงาน/สถานศึกษาอื่น ๆ ให้มีอุปกรณ์ ICT ที่เพียงพอในการทำงาน และบุคลากรสามารถงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  รองรับการทำงานที่ กศน.มีอัตรากำลังน้อยแต่ปริมาณงานมากจำเป็นต้องใช้ ICT เป็นอย่างมาก นอกจากนี้ต้องเร่งขยายสถานีบริการ กศน.ไปตามพื้นที่ตำบลหมู่บ้านในลักษณะศูนย์การศึกษาตลอดชีวิต

 

แนวทางข้อ ๔ การใช้ห้ากลยุทธ์สู่การยอมรับของสังคม ได้แก่ กลยุทธ์ที่ ๑ เข้าถึงผุ้เรียนอย่างทั่วถึง กลยุทธ์ที่ ๒ ตรึงด้วยวิธีเรียนที่หลากหลาย กลยุทธ์ที่ ๓ รวมพลังภาคีเครือข่ายจัด กศน. กลยุทธ์ที่ ๔ สานต่อระบบบริการเพื่อวันพรุ่ง และกลยุทธ์ที่ ๕ มุ่งสุ่กศน.ใหม่ที่ครองใจผุ้รับบริการ 

(รายละเอียดดังแผนที่ความคิดหน้าถัดไป)

 

แนวทางในการแก้ปัญหาต่าง ๆ

             

๑.     จากสภาพปัญหาของ กศน.ในปัจจุบันปัญหาที่เป็นที่สนใจของสังคมก็คือปัญหาคุณภาพการศึกษาซึ่งสถาบันรับรองและประเมินคุณภาพการศึกษา(สมศ)ตีค่าการศึกษานอกระบบว่าไม่มีคุณภาพเมื่อเทียบจากการวัดจากข้อสอบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ต่อปัญหานี้ควรที่จะเร่งรัดการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนโดยจัดสรรทรัพยากรให้มีความพอเพียงเหมาะสมในการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษา ในเรื่องอัตราส่วนครูต่อผู้เรียน การสนับสนุนสื่อการเรียนให้ครบตามจำนวนผู้เรียน การจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพวิชาการ และการกำกับ นิเทศ ติดตามผลถึงสถานศึกษาอย่างจริงจัง

คำสำคัญ (Tags): #วิสัยทัศน์
หมายเลขบันทึก: 255826เขียนเมื่อ 16 เมษายน 2009 21:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท