ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน


รู้ ตื่น เบิกบาน เช่นไรได้ชื่อว่า พุทธบุตร

 

 

 

เราเป็นชาวพุทธ เกิดในดินแดนที่อุดมเพียบพร้อมด้วยสิ่งแวดล้อม
ที่เอื้ออำนวยต่อการศึกษาปฏิบัติตน เพื่อเป็น พุทธบุตรที่แท้จริง
พุทธบุตรที่แท้ อย่างน้อย ต้องศึกษาให้รู้  เข้าใจ
ปฏิบัติตามได้ อย่าง รู้ ตื่น เบิกบานใจในคำสอนบ้าง มิใช่มืดบอดสนิท
เรานั้ันนับว่าโชคดีอย่างหาที่เปรียบไม่ได้  อย่าให้ชีวิตเป็นโมฆะ คือ
เกิดมาสูญเปล่าน่าเสียดาย  คำสอนของพระพุทธเจ้าเปรียบดั่งยารักษา
โรคทางจิต โรคทางกายรักษาไปตามหลักการแพทย์ โรคทางจิตต้องรักษาด้วยสติ


จิตตัง ทันตัง  สุขาวหัง  จิตที่ฝึกดีแล้ว  ย่อมนำความสุขมาให้


มาฝึกสติกันเถอะ
ปลูกสติ ... ให้เบิกบาน

การดูจิตคือ "การฝึกสติ" นั่นเอง ... สติ แปลว่าความระลึกได้ ดังนั้นการดูจิตจึงไม่ได้มีความหมายอะไรซับซ้อนไปกว่า "ความรู้สึกตัว" เมื่อใดที่เรามีความรู้สึกตัวนั่นหมายความว่าเรามีสติอยู่นั่นเอง


การมีสติก็คือการฝึกสติปัฏฐาน 4 , สี่อย่างที่ว่านั้นคือ กาย เวทนา จิต ธรรม 
หากเดินอยู่ก็รู้สึกว่าเดินอยู่, นั่งก็รู้สึกว่านั่ง, ยืนก็รู้สึกว่ายืน, นอนก็รู้สึกว่านอน,
ดีใจก็รู้ว่าดีใจ, โกรธก็รู้ว่าโกรธ, สุขก็รู้ว่าสุข, ทุกข์ก็รู้ว่าทุกข์,
จะขยับซ้าย แลขวา หันหน้า มองหลัง เคลื่อนไหวใด ๆ ก็ "รู้สึก"ตามนั้น
คิดก็รู้ว่าคิด, จะฟุ้งซ่านก็รู้ว่าฟุ้งซ่าน เผลอลืมไม่มีสติก็รู้ว่าเผลอ

ก็คือเมื่อใดเราเกิดความรู้สึกในสิ่งใดที่ชัด ก็ให้รู้อันนั้น

การรู้นั้นให้มีความรู้สึกตัวผ่านอายตนะทั้ง 6 ได้แก่ ตา (รู้รูป), หู (รู้เสียง), จมูก (รู้กลิ่น),
ลิ้น (รู้รส), กาย (รู้สัมผัส), ใจ (รู้ความรู้สึก-ความคิดปรุงแต่ง) รู้ไปเรื่อยๆ
ตามอารมณ์หรือสภาวธรรมที่ปรากฏ "ตามจริง" ในขณะนั้น ๆ


รู้ไปเพื่ออะไร ?

สตินั้นหากนำมาใช้กับทางโลกทั่วไปก็ย่อมมีประโยชน์มหาศาลอยู่แล้ว
ไม่ว่าจะเป็นการงาน, ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ๆ การคิดอ่านย่อมเป็นระบบ, จิตย่อมมีสมาธิในการทำกิจการงานใด ๆ , อารมณ์มักจะเป็นปกติ
ไม่ค่อยโกรธ เครียด หรือทุกข์ใจอะไรมาก ๆ กล่าวโดยรวมคือ
ย่อมเกื้อกูลชีวิตประจำวันทางโลกได้อย่างดี
ซึ่งเป็นประโยชน์ที่ค่อนข้างเห็นได้ชัดเจน


จุดหมายของการรู้ก็เพื่อให้เห็นความจริง อันได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ว่ากายและใจของเรานั้นเป็นสิ่งไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวเรา
เนื่องจากสัมมาสติทำให้เราได้เห็นการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
ตามสภาวธรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอยู่นับครั้งไม่ถ้วน ซ้ำแล้วซ้ำเล่า
จนในที่สุดจิตจะยอมรับความจริงในข้อนี้ (หรือที่ท่านพระพุทธทาสชอบเรียกว่าให้ละตัวกู ของกู) อันนำไปสู่หนทางแห่งการดับทุกข์ ที่เป็นจุดมุ่งหมายสำคัญของพระพุทธศาสนา

 

หมายเลขบันทึก: 255745เขียนเมื่อ 16 เมษายน 2009 12:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 16:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
  • ตามมาศึกษาธรรมมะครับคุณครู
  • ดีจังเลย
  • อยากบันทึกแบบนี้บ้าง
  • มีหนังสือดีๆหลายเล่ม
  • ขอบคุณครับ
  • สวัสดีค่ะ คุณขจิต
  • เราคือผู้กำลังเดินทาง ต้องเตรียมเสบียงไปเรื่อยๆค่ะ
  • นำเสบียงมาแบ่งปันเพื่อนร่วมทางด้วย
  • พระท่านว่า การให้ธรรมะเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง
  • ขอให้มีความสุขในชีวิตหน้าที่การงานทุกอย่างค่ะ

 

แวะมาขอเสบียงชีวิตด้วยคนนะครับ

ธรรมธานัง สรรพธานัง ชินาติ ครับ

  • สวัสดีคุณประดิษฐ์
  • ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่า

แวะมาศึกษาธรรมะ

กับพี่ครูคนใจดีค่ะ

อากาศร้อนไหม...อยากไปแอ่วหาเด้อค่ะ..

  • สวัสดีคุณครูอ้อ น้องสาวผู้น่ารัก
  • อากาศไม่ร้อน ฝนตก
  • เดือนหน้าเจอกันค่ะ

สวัสดีปีใหม่ไทย 2552 นะคะ

ยุ่งๆ  ไม่ได้ทักทายตั้งนาน

มีสิ่งดีๆในทุกๆวัน นะคะ

Take care

  • สวัสดีค่ะ คุณสายธาร
  • คิดถึงเสมอค่า
  • นำเอาเสบียงมาฝากค่า

วิชชาเกิดก็เปรียบเหมือนแสงอาทิตย์สาดส่อง

ความมืด คือ อวิชชายังมีอยู่ แต่แสงสว่าง นำความรู้ ตื่น เบิกบานมาแทนที่

รู้ด้วยใจที่เป็นกลางนะครับ

  • สวัสดีปีใหม่ไทยค่ะ คุณ Phornphon
  • ค่ารับรู้ด้วยใจกลางๆ ไม่เข้าข้างฝ่ายไหน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท