Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

รื้องานเก่ามาอ่านใหม่ (๓) : งานของอาจารย์แหววเกี่ยวกับคนไร้รัฐและคนไร้สัญชาติที่ทำมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๕ จนถึงปัจจุบัน


ในบางช่วงที่ไม่มีเงินสนับสนุนจากโครงการใดเลย เงินในการทำงานก็มาจากกระเปาของเราเอง เราก็ไม่ได้เดือดร้อนอะไร เพราะใช้เงินไม่มาก ที่ใช้มาก ก็คือ แรงใจที่ต้องคอยส่งต่อให้คนไร้รัฐคนไร้สัญชาติเจ้าของปัญหา งานของเราก็มักเผยแพร่ในอินเทอร์เน็ต ซึ่งง่ายต่อการเข้าถึง และบางท่านก็เตือนเราว่า ง่ายต่อการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของเราด้วย ในประเด็นนี้ เราก็ไม่ค่อยสนใจ เพราะความรู้ของเรามีไว้แจกจ่าย ความรู้ของเราเหมือนอาหารบุพเฟ่ จะกินแค่ไหน หมูกมามอย่างไร ก็ตามสบาย เราไม่แคร์ที่นักศึกษาจะมาลอกเอาไปทำรายงานเสนอครู เขาก็อาจจะได้คะแนนและสอบผ่าน หรือคนไร้รัฐคนไร้สัญชาติคนหนึ่งจะมาพบ และเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาของตนเอง โดยไม่บอกเราว่า ใช้ความรู้ของเรา เราก็ยินดีในสิ่งที่พวกเขาได้รับ

        วันนี้ (๑๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๒) ถือโอกาสเป็นวันหยุด จึงทำเหมือนเคย ก็คือ รื้องานเก่าๆ มาให้ดู เอกสารที่ดูส่วนใหญ่ ก็คือ เรื่องเกี่ยวกับคนไร้รัฐคนไร้สัญชาติ เพราะในช่วงนี้ อ.แหววพยายามสรุปรายงานผลการวิจัยที่ทำมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๕  กล่าวคือ โครงการวิชาการคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์วิจัยประเภทที่ ๓  เรื่องการปรากฏตัวของคนไร้สัญชาติและคนไร้รัฐในประเทศไทย : แนวคิดและมาตรการในการจัดการปัญหาที่ชอบด้วยกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งเราเรียกกันสั้นๆ ว่า “วิจัยการปรากฏตัวของคนไร้รัฐคนไร้สัญชาติในไทย” และยังไม่ได้ปิดโครงการมาจนปัจจุบัน กล่าวคือ เกือบ ๘ ปี ซึ่ง อ.แหวว และลูกศิษย์ ก็ยังคิดกันในเรื่องนี้ โครงการนี้เป็นโครงการหลักของเรา ซึ่งต่อมา ก็มีอีกหลายโครงการมาเชื่อมกับโครงการนี้ จนไม่อาจแยกแยะได้ว่า งานศึกษาเรื่องไหนเป็นของโครงการใด เพราะการทำงานเริ่มในโครงการแรกใน พ.ศ.๒๕๔๕ และเมื่อศึกษาไม่เสร็จ หรือปัญหาของคนไม่จบลง เราต้องเฝ้าดูแลกรณีศึกษาต่อไป เงินที่ใช้ในการทำงานในช่วงที่เงินในโครงการแรกจบลง จึงต้องมาใช้เงินของโครงการที่สอง หรือในบางช่วงที่ไม่มีเงินสนับสนุนจากโครงการใดเลย เงินในการทำงานก็มาจากกระเปาของเราเอง เราก็ไม่ได้เดือดร้อนอะไร เพราะใช้เงินไม่มาก ที่ใช้มาก ก็คือ แรงใจที่ต้องคอยส่งต่อให้คนไร้รัฐคนไร้สัญชาติเจ้าของปัญหา

งานของเราก็มักเผยแพร่ในอินเทอร์เน็ต ซึ่งง่ายต่อการเข้าถึง และบางท่านก็เตือนเราว่า ง่ายต่อการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของเราด้วย ในประเด็นนี้ เราก็ไม่ค่อยสนใจ เพราะความรู้ของเรามีไว้แจกจ่าย ความรู้ของเราเหมือนอาหารบุพเฟ่ จะกินแค่ไหน หมูกมามอย่างไร ก็ตามสบาย เราไม่แคร์ที่นักศึกษาจะมาลอกเอาไปทำรายงานเสนอครู เขาก็อาจจะได้คะแนนและสอบผ่าน หรือคนไร้รัฐคนไร้สัญชาติคนหนึ่งจะมาพบ และเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาของตนเอง โดยไม่บอกเราว่า ใช้ความรู้ของเรา เราก็ยินดีในสิ่งที่พวกเขาได้รับ

งานหนึ่งที่นำไปสู่การปฏิรูปกฎหมายและนโยบายเพื่อขจัดปัญหาความไร้รัฐและความไร้สัญชาติของบุคคลธรรมดาใน พ.ศ.๒๕๕๑  ก็คือ “งานวิจัยเพื่อการพัฒนาภายใต้โครงการวิจัยผลกระทบของความไร้รัฐและความไร้สัญชาติของเด็ก เยาวชน และครอบครัวในสังคมไทย  : การตรวจสอบปัญหาและแนวคิดในการแก้ไขปัญหา,  เมื่อวันเสาร์ที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐, ปรับปรุงเมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๒,   สนับสนุนการทำงานโดย มสช. และ สสส., ภายใต้ชุดโครงการ เด็ก เยาวชน และครอบครัว (ดยค.), ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกองทุนศาสตราจารย์คนึง ฦๅไชย  คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ มสช.” งานนี้ให้ผลกำไรแก่เรามากมาย แต่เราไม่แน่ใจว่า ในบางผลของการวิจัยจะเป็นประโยชน์หรือเป็นที่สนใจของสาธารณะชนโดยทั่วไปหรือไม่ เราจึงเลือกที่จะเผยแพร่ในสิ่งที่จำเป็น และเราจะไม่สนใจที่จะเสนองานวิจัยนี้ในโรงแรมห้าดาวของประเทศไทย เพราะเราไม่เชื่อว่า การนัดพบของคนใน กทม. มาเจอกันที่โรงแรมราคาแพงจะทำให้คนที่อยากใช้ความรู้ของเรามาเจอเราได้จริงทั้งหมด และบริโภคผลงานวิจัยของเราอย่างมีประสิทธิภาพ เราเชื่อใน delivery@home มากกว่า อาทิ ในบางเรื่อง เราเชื่อว่า ความรู้ของเราเป็นประโยชน์ต่อกรมการปกครอง เราก็จะเดินไปส่งมอบผลการวิจัยของเราต่ออธิบดีกรมการปกครองเลยทีเดียว ประหยัดทั้งแรงเงินละแรงกาย อบอุ่นใจมากกว่า

          ตัวอย่าง ก็คือ เมื่อเราอยากให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเข้าใจในปัญหาคนไร้รัฐเพราะหนีภัยความตาย เราก็พาอาจารย์อายุ นามเทพ ซึ่งเป็นกรณีศึกษาของคนไร้รัฐประเภทนี้ไปพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเลยทีเดียว (ดูรูปไหมคะ) ความเคลื่อนไหวทางวิชาการเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัยแบบนี้ เราเรียกว่า “การเยี่ยมเชิงกัลยาณมิตร (Friendly Visit)” วิธีการเสนองานวิจัยแบบนี้ถูกใช้มากในทีมวิจัยของเราค่ะ

เรามีวิธีวิจัยเพื่อการพัฒนาที่เป็นสูตรสำเร็จของเราค่ะ ตามมาดูซิคะ

คลิกเพื่ออ่านงานวิจัยในเรื่องนี้ซิคะ งานชื่อ  เราศึกษาอย่างไร ? : แนวคิดเกี่ยวกับวิธีวิจัยและพัฒนา เป็นผลการวิจัยวิธีวิทยาสำหรับการสืบค้นตัวและปัญหาของคนไร้รัฐคนไร้สัญชาติ อันเป็นผลมาจากโครงการวิจัยเด็กไร้รัฐฯ – มสช. ข้างต้น

เราทำงานวิจัย แบบหนังหลายตอน กล่าวคือ ทำไปเผยแพร่ไป ตลอดเวลาจาก พ.ศ.๒๕๔๕ ข้อมูลและงานเขียนที่เผยแพร่ส่วนใหญ่ในสังคมไทย จึงมักมีที่มาจากงานของเรา มักมีคำขอให้เรารวบรวมงานเขียนของเรา มีความพยายามรวบรวมงานเกี่ยวกับคนไร้รัฐคนไร้สัญชาติหลายครั้ง แต่ก็ดูจะไม่ครบอยู่ดีค่ะ ก็เรามีกันหลายคน ต่างคนต่างทำ ลืมส่งให้กันเองดูก็มีค่ะ พยายามจัดระบบการเก็บข้อมูลกันอยู่ค่ะ

-------------------------------------------------------------------

หมายเลขบันทึก: 255630เขียนเมื่อ 15 เมษายน 2009 16:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 06:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ฝาก อ.แหวว ไปให้คำแนะนำกับครูคิม ที่นี่ ครับ อ่านแล้วมึนครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท