Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

สถานการณ์เด่นเกี่ยวกับคนไร้รัฐคนไร้สัญชาติประการที่ ๒ : การส่งกลับคนเข้าเมืองไทยอย่างผิดกฎหมาย - ข้อเสนอต่อสภาความมั่นคงแห่งชาติ


งานเขียนภายใต้โครงการวิจัยเรื่องการปรากฏตัวของคนไร้สัญชาติและคนไร้รัฐในประเทศไทย : แนวคิดและมาตรการในการจัดการปัญหาที่ชอบด้วยกฎหมายระหว่างประเทศ ของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สถานการณ์

อันเป็นเป้าหมาย

ของการวิจัยและพัฒนา

(Purpose)

สถานการณ์

อันเป็นวิธีการวิจัยและพัฒนา

ที่ควรต้องทำ

(Input)

สถานการณ์

อันเป็นผลลัพธ์

ที่คาดหมาย

สำหรับสังคมไทย

(Output)

ผู้รับผิดชอบและเครือข่ายการทำงาน

วิจัยและพัฒนา

(Networking)

·         นับแต่มีกฎหมายคนเข้าเมืองเป็นลายลักษณ์อักษรในประเทศไทย การเข้าเมืองไทยโดยไม่ได้รับอนุญาต ก็เป็นกระทำที่ผิดกฎหมายสำหรับคนต่างด้าว

·         แต่ก็ปรากฏมีคนต่างด้าวที่เข้าเมืองไทยมาในลักษณะที่ผิดกฎหมายตลอดมา โดยเฉพาะตามแนวชายแดนระหว่างประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน

·         แต่คนต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมายจำนวนหนึ่ง โดยเฉพาะที่เข้ามาตามแนวชายแดน มักจะมีลักษณะเป็นคนไร้รัฐหรือเสมือนไร้รัฐ อาทิ อดีตทหารจีนคณะชาติที่เข้ามาในราว พ.ศ.๒๕๐๐ หรือชนกลุ่มน้อยจากประเทศพม่าที่อพยพเข้ามาราว พ.ศ.๒๕๑๒ – ๒๕๓๕ หรือคนจากเกาหลีเหนือที่อพยพเข้ามาในราว พ.ศ.๒๕๔๙ – ๒๕๕๐ หรือคนโรฮินญาที่อพยพเข้ามาในราว พ.ศ.๒๕๔๙ – ๒๕๕๒

·         เมื่อคนเหล่านี้มีลักษณะไร้รัฐหรือเสมือนไร้รัฐ การส่งออกจากประเทศไทยไปยังประเทศต้นทางก็ทำได้ยาก เพราะอาจทำให้พวกเขาเหล่านั้นเสี่ยงภัยความตาย เป้าหมายการส่งออกไปนอกประเทศไทยจึงต้องเป็นประเทศที่สาม มิใช่ประเทศต้นทาง

·         เราวิจัยพบว่า รัฐไทยมีปกติประเพณีทางปกครองที่ผ่อนผันให้คนต่างด้าวที่เข้าเมืองผิดกฎหมายอาศัยอยู่เสมอมา หากพิสูจน์ว่า คนต่างด้าวเป็นคนหนีภัยความตาย ซึ่งการยอมรับให้อาศัยในประเทศไทยนั้น ก็มีทั้งกรณีที่ให้อยู่ในค่ายพักพิงที่ร่วมมือกับ UNHCR สร้างขึ้น และภายนอกค่ายพักพิง

·         เราวิจัยพบอีกว่า รัฐไทยมีปกติประเพณีทางปกครองที่จะผ่อนผันให้คนต่างด้าวที่เข้าเมืองผิดกฎหมายอาศัยอยู่เสมอมา หากพิสูจน์ว่า คนต่างด้าวเป็นแรงงานไร้ฝีมือที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจไทย ซึ่ง

·         เป็นท่าทีที่ชัดเจนว่า รัฐไทยจะยอมรับให้คนเข้าเมืองผิดกฎหมายนี้ได้มาซึ่งสิทธิอาศัยถาวรในประเทศไทย ก็ต่อเมื่อพิสูจน์ได้ว่า พวกเขามีความกลมกลืนกับสังคมไทย ซึ่งก็หมายความว่า อาศัยมานานแล้ว หรือเป็นสมาชิกของครอบครัวคนที่มีสิทธิอาศัยในประเทศไทย ซึ่งคนในลักษณะนี้ ก็มักเป็นคนที่เข้ามาในประเทศไทยนานแล้ว (Old Comer)

·         สำหรับคนที่เข้ามาใหม่ (New Comer) และยังไม่กลมกลืนกับสังคมไทย รัฐไทยก็พยายามที่จะส่งกลับบุคคลดังกล่าวไปยังประเทศต้นทาง หรือส่งไปยังประเทศที่สาม ในกรณีที่ประเทศนั้นประสงค์จะรับ

·         รัฐไทยเริ่มพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศในการส่งออกคนต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมายที่คั่งค้างในประเทศไทย อาทิ ความตกลงกับประเทศพม่า หรือประเทศลาว หรือประเทศเขมร เพื่อพิสูจน์สัญชาติของคนดังกล่าว และปรับให้เป็นแรงงานเข้าเมืองถูกกฎหมายสำหรับประเทศไทย หรือ การใช้ช่องทางทางทูตเพื่อการดังกล่าว

·         จะเห็นว่า การส่งกลับหรือการส่งคนต่างด้าวผิดกฎหมายออกไปจากประเทศไทยยังไม่มีแนวคิดและวิธีการที่ยอมรับกันและเหมาะสมสำหรับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

·         เมื่อจะมีการส่งกลับแต่ละครั้ง ก็จะมีข้อโต้แย้งกันในสังคมไทยระหว่างฝ่ายที่อยากให้ส่งออกและฝ่ายที่อยากให้รับไว้

·         ยังมีข้อโต้แย้งเสมอในเรื่องการจัดการคนต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมายในระหว่างรอการส่งออกนอกประเทศไทย

·         เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ในการจัดการคนต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมาย จึงเสนอให้สภาความมั่นคงแห่งชาติ กอ.รมน. และกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบ จึงควรเชิญประชาสังคมในประเทศไทยและประชาคมโลกมาวิจัยและพัฒนา แนวคิดและวิธีการในการจัดการคนต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมาย” และยอมรับให้เรื่องนี้เป็นสถานการณ์เด่นเกี่ยวกับคนไร้รัฐคนไร้สัญชาติประการแรกที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องร่วมกันทำใน พ.ศ.๒๕๕๒

(๑) สภาความมั่นคงแห่งชาติควรเสนอคณะรัฐมนตรีให้มีมติตั้ง “คณะกรรม การศึกษาปัญหาการจัดการคนต่างด้าวที่เข้าเมืองผิดกฎหมาย” โดยกำหนดให้มาจากประชาสังคมทุกภาคส่วน และมีสภาความมั่นคงแห่ง ชาติเป็นเลขานุการ

(๒) ดำเนินการวิจัยและพัฒนาแนวคิดและวิธีการจัดการคนต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมายในลักษณะที่ให้สังคมมีส่วนร่วม

(๓) เสนอผลการ วิจัยและพัฒนาในเวทีสาธารณะอย่างสม่ำเสมอ

(๔) สร้างความร่วมมือทางวิชาการกับฝ่ายวิชาการในประเทศต้นทางหรือประเทศที่สาม

(๕)  ผลักดันการทำยุทธศาสตร์เพื่อการจัดการคนต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมายบนพื้นฐานของหลักสิทธิมนุษยชนและความมั่นคงแห่งรัฐ

(๖) นำยุทธศาสตร์นี้สู่การยอมรับของคณะรัฐมนตรี

(๗) ติดตามการแก้ไขปัญหาตามยุทธศาสตร์ที่เกิดขึ้นจนถึงที่สุด

(๑) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับปัญหาได้ระดมสมองมาทำงานศึกษาร่วมกันอย่างมีประสิทธิ ภาพ

(๒) เกิดพื้นที่แลกเปลี่ยนรู้จากทุกแหล่งความรู้ในสังคมไทยเพื่อการนี้

(๓) สังคมไทยได้รับรู้ปัญหาและร่วมตัดสินใจในการจัดการปัญหาที่ประเทศไทยเผชิญอยู่

(๔) เชื่อมความเข้าใจและองค์ความรู้กับประเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

(๕) วางแผนการจัดการองค์ความรู้อย่างเป็นระบบและรอบด้าน

(๖) สร้างความยั่งยืนทางกฎหมายและนโยบายให้แก่องค์ความรู้ที่สร้างสรรค์ขึ้น

(๗) สร้างระบบเฝ้าระวังการแปลงยุทธศาสตร์สู่ความเป็นจริงในสังคม อันทำให้เกิดการส่งกลับคนต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมายในลักษณะที่ไม่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนและความมั่นคงแห่งรัฐ

ผู้รับผิดชอบกิจกรรม

(Doer)

สภาความมั่นคงแห่งชาติ

 

ที่ปรึกษากิจกรรม

(Adviser)

 ภาควิชาการที่ทำงานวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้อง

 

ผู้ร่วมกิจกรรม

(Co – doer)

ประชาสังคมในสังคมไทยและสังคมของประเทศที่เกี่ยวข้อง

หมายเลขบันทึก: 255036เขียนเมื่อ 11 เมษายน 2009 12:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 11:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ครับ ผมเห็นว่าเราควรจะเตรียมความพร้อม หากต้องมีการผลักดันพวกเขาออกไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเด็กต่างด้าวที่เกิดในประเทศไทย

ซึ่งที่ผ่านมาผมพยายามที่จะทำให้การแจ้งเกิดของเด็กต่างด้าว แจ้งเกิดในชื่อของพ่อแม่ที่แท้จริงในประเทศพม่า ปรากฎว่าขั้นตอนยุ่งมากประหนึ่งว่าจะยึดเอกสารไทย(ท.ร.38/1) หรือบัตรประจำตัวเป็นชื่อที่ถูกต้อง ส่วนชื่ออื่นไม่ถูกต้อง

แล้วอย่างนี้หากมีการส่งกลับเด็ก ๆ ไปยังประเทศต้นทาง หากผมเป็นประเทศพม่าผมจะใช้เหตุผลในการปฏิเสธรับเด็กเหล่านี้ว่า มิได้เกิดจากพ่อหรือแม่เป็นคนพม่า เนื่องจากชื่อของพ่อและแม่เหล่านี้ไม่ปรากฏบนฐานข้อมูลทางราษฎรของประเทศพม่าแต่ประการใด

แล้วประเทศของเราเองจะพบความลำบาก...เชิญมาคุยกันทุกภาคส่วนดีมากครับ...

เตรียมการเพื่ออนาคตหากต้องผลักดัน และประเทศไทยจะได้ชื่อว่าปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสหประชาชาติ และกฎหมายระหว่างประเทศแล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท