วันนี้โทรตามคนไข้ที่ขาดนัด รับยาต้านไวรัสเอชไอวี
เป็นน้องอายุ20 ปี ที่คุยกันดีแล้ว (คิดว่าดีนะ) รู้เรื่อง (ก็คิดว่ารู้นะ)
รับยาต่อเนื่องได้ 6 เดือน ล่าสุดมาเจอกันเดือนมกราคม 52 แล้วไม่มาตามนัดเดือนมีนาคม 52
พยาบาล ... ไม่มารับยาเหรอ มีอะไรหรือเปล่า
คนไข้ .... หนูอยู่ต่างจังหวัด ขาดยา เกือบ 1 เดือนแล้ว
พยาบาล .... ..... แล้วที่หนูทราบมา ตอนคุยกับพี่ ยาต้านไวรัสขาดได้หรือเปล่า
คนไข้ .... หนูรู้ แต่หนูมาต่างจังหวัด เบื่อด้วย ขึ้เกียจ ต้องเจาะเลือดก่อนพบแพทย์ ยุ่งไปกันใหญ่
แล้ว
พยาบาล ... แล้วทำอย่างไรดี
คนไข้ ... ก็ไม่เห็นเป็นไร หนูก็แข็งแรงดี
พยาบาล ..........................................
ในความเป็นจริงแล้ว การติดเชื้อเอชไอวี คุณหมอจะเริ่มยาต้านไวรัสเมื่อเข้าเกณฑ์ ดังนี้
1. ภูมิคุ้มกัน( CD4)ของผู้ป่วยเริ่มต่ำหรือเท่ากับ 250
2. ผู้ป่วยได้รับการเตรียมความพร้อมทั้งร่างกาย(ไม่มีโรคแทรกซ้อน ฉวยโอกาส) จิตใจ ครอบครัว
3. ผู้ป่วย ครอบครัวได้รับการเตรียมด้านความรู้เกี่ยวกับยาต้านไวรัส การปกิบัติตัวหลักๆ
สาเหตุที่ต้องมีการเตรียมความพร้อม เนื่องจากผู้ป่วยอาจมีอาการข้างเคียงจากยาต้านได้ เมื่อมีปัญหาต้องติดต่อทีมที่รักษา นอกจากนี้การรับประทานยาต้านมีความเฉพาะเจาะจงนอกเหนือจากการรับประทานยาอื่น ตรงที่ผู้ป่วยต้องรับประทานยาตรงเวลา ห้ามหยุดยาเอง ไม่เช่นนั้นจะเกิดการดื้อยาต้านไวรัสสูตรที่รับประทานอยู่ มีผลให้ไม่สามารถกลับมารับประทานยาตัวเดิมได้ มีผลให้ตัวยาที่จะใช้รักษาผู้ป่วยมีลดลง ทางเลือก โอกาสผู้ป่วยลดลง ยาที่เหลือมีโอกาสมีอาการข้างเคียงเพิ่มขึ้น ราคาของยาที่เหลือ(สูตรดื้อยา) ก็จะแพงมากขึ้น จากสูตรแรก ประมาณ 1500 บาท/เดือน ก็เป็น 10,000 บาทขึ้นไป (ซึ่งปัจจุบันทุกสิทธิ์การรักษา คือบัตรทอง ประกันสังคม เบิกได้ สามารถรับยาต้านไวรัสได้ แต่ปัญหาคือ โอกาสทางเลือกยาของผู้ป่วยลดลง ประเทศต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายยารายคนเพิ่มมากขึ้น อื่นๆ อีก .......
และที่ผ่านมา จะพบว่าผุ้ป่วยที่ขาดยา หายไป ไม่มาตามนัด จะกลับมาพบทีมที่รักษาด้วยอาการป่วยหนัก ของโรคเอดส์ ซึ่งทำร้ายจิตใจของผู้ป่วยและครอบครัวอย่างมาก
จากเหตุหลักที่กล่าวมา ... ทางทีมที่ดูแลผุ้ป่วยกลุ่มนี้ จึงใส่ใจ อยากให้ผู้ป่วยมาตามนัด ไม่ขาดยา เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่ป่วย ทำงานได้ เป็นผู้นำครอบครัว เป็นพ่อ เป็นแม่ เป็นลูก ที่มีความสุข
คนที่มีวินัย รับประทานยาต่อเนื่อง ที่พบตอนนี้ รับประทานยามา 20 ปี ยังดีอยู่สามารถทำงานตามปกติ หลักการรักษาปัจจุบัน จึงเหมือนดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ทั่วไป