การศึกษาครั้งนี้ผู้รายงานมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องชนิดของคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยวิธีการสอนแบบนิรนัย ซึ่งมีวิธีในการดำเนินการ ดังนี้
1. ประชากรและกลุ่มเป้าหมาย
2. เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล
3. การสร้างและหาประสิทธิภาพของเครื่องมือ
4. การดำเนินการทดลองและการเก็บรวบรวมข้อมูล
5. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ประชากรและกลุ่มเป้าหมาย
1. ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนชุมชน
วัดหนองค้อ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 3 ห้องเรียน รวมนักเรียนทั้งสิ้น 120 คน
2. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ห้อง 1
โรงเรียนชุมชนวัดหนองค้อ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาจาก การสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยวิธีจับฉลาก
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
1. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง
ชนิดของคำ เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบแบบ 4 ตัวเลือก จำนวน 70 ข้อ
2. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยวิธีสอนการแบบนิรนัย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ
การสร้างและหาประสิทธิภาพเครื่องมือ
1. การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์
ผู้รายงานดำเนินการตามขั้นตอนการสร้างบทเรียนของ ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2547, หน้า 119-124)
ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์ (Analyze)
1. ศึกษาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 โดยรวบรวมเนื้อหา เรื่อง ชนิดของคำ จากเอกสาร ตำราที่ใช้ประกอบการเรียนการสอน เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ เนื้อหา วิธีการสอน และการวัดประเมินผล จากหนังสือแบบเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 รวมทั้งเนื้อหาที่ผู้รายงานค้นคว้าเพิ่มเติมจากเอกสารที่ใช้ในการประกอบการสอนเนื้อหาในการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์
2. กำหนดขอบข่ายเนื้อหาและวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544
3. ศึกษาเทคนิควิธีการ หลักการเขียนโปรแกรมและที่ใช้สร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ขั้นที่ 2 การออกแบบ ( Design)
1. นำเนื้อหาที่ได้มาวิเคราะห์ แยกออกเป็นหน่วยต่าง ๆ แล้วคัดเลือกเนื้อหาออกมาเป็น 7 หน่วย ที่เหมาะสมต่อการสร้างเป็นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยพิจารณาจากลักษณะเนื้อหาและปริมาณของเนื้อหา บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ชนิดของคำ แบ่งเนื้อหาออกเป็นหน่วย ๆ ดังนี้
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง คำนาม จำนวน 1 ชั่วโมง
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง คำสรรพนาม จำนวน 1 ชั่วโมง
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง คำกริยา จำนวน 1 ชั่วโมง
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง คำวิเศษณ์ จำนวน 1 ชั่วโมง
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง คำบุพบท จำนวน 1 ชั่วโมง
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 เรื่อง คำสันธาน จำนวน 1 ชั่วโมง
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 เรื่อง คำอุทาน จำนวน 1 ชั่วโมง
2. จากนั้นนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเนื้อหาจำนวน 3 ท่าน (ภาคผนวก) ตรวจสอบความถูกต้อง ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ ความตรงของเนื้อหา ความครอบคลุม
ของเนื้อหาภาษาที่ใช้โดยใช้แบบประเมินที่ผู้รายงานสร้างขึ้นซึ่งเป็นแบบประเมินความคิดเห็นชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ผู้เชี่ยวชาญจะพิจารณาโดยมีเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด, 2545, หน้า 99-100)
เหมาะสมมากที่สุด ให้คะแนน 5 คะแนน
เหมาะสมมาก ให้คะแนน 4 คะแนน
เหมาะสมปานกลาง ให้คะแนน 3 คะแนน
เหมาะสมน้อย ให้คะแนน 2 คะแนน
เหมาะสมน้อยที่สุด ให้คะแนน 1 คะแนน
และตอนท้ายเป็นแบบปลายเปิดมีไว้ให้ผู้เชี่ยวชาญให้ข้อเสนอแนะเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงบทเรียนคอมพิวเตอร์ แล้วนำคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญมาหาค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยใช้เกณฑ์การวิเคราะห์ ดังนี้
4.51-5.00 หมายถึง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
3.51-4.50 หมายถึง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
2.51-3.50 หมายถึง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง
1.51-2.50 หมายถึง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับน้อย
1.00-1.50 หมายถึง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับน้อยที่สุด
3. นำเนื้อหาที่ได้แล้วผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญแล้วไปจัดทำโครงเรื่อง (Story board) เพื่อนำไปสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ตามกระบวนการเรียนการสอน 9 ขั้นตอนของ กาเย่
ขั้นที่ 3 การพัฒนาบทเรียน (Develop)
นำบทเรียนคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นเสนอผู้เชี่ยวชาญ และผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ จำนวน 2 ท่าน (ภาคผนวก) ตรวจสอบความถูกต้อง เหมาะสม และ
ให้คำแนะนำเพื่อพิจารณาปรับปรุงแก้ไข
ขั้นที่ 4 การนำไปใช้/ทดลองใช้ (Implement)
ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือด้วยการนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย เพื่อทดสอบหาประสิทธิภาพสื่อ โดยดำเนินการตามลำดับดังนี้
1. ทดสอบหนึ่งต่อหนึ่ง (One to One Testing) เป็นการทดลองกับนักเรียนเป็นรายบุคคล โดยนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ชนิดของคำ ที่มีวิธีการสอนแบบนิรนัย
ที่สร้างขึ้นไปทดลองใช้กับนักเรียนที่ไม่เคยเรียนบทเรียนนี้มาก่อน จำนวน 3 คน ผลการทดลองพบว่า เนื้อหาและแบบทดสอบในแต่ละหน่วยน้อยไปเสียงบรรยายบางช่วงเบาฟังไม่ชัดเจน ผู้รายงานจึงปรับปรุงแก้ไขโดยเพิ่มเนื้อหา แบบทดสอบ และเสียงบรรยายใหม่
2. ทดสอบกลุ่มเล็ก (Small Group Testing) ผู้รายงานนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ชนิดของคำ ที่ทำการปรับปรุงแก้ไขแล้ว ไปทดลองกับนักเรียน จำนวน 1 ห้องเรียน คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ห้อง 2 มีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 40 คน โดยปฏิบัติเช่นเดียวกับการทดลองจริงทุกประการ คือให้ผู้เรียนศึกษาเนื้อหา หลังจากนั้นให้ทดสอบหลังเรียนทันที แล้วนำผลการทดสอบมาวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของบทเรียน เพื่อนำมาหาข้อบกพร่องแล้วนำมาปรับปรุงแก้ไข
3. การทดลองภาคสนาม (Field Testing) ผู้รายงานนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ชนิดของคำ ที่ปรับปรุงแล้วไปทดลองกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ห้อง 1 โรงเรียนชุมชนวัดหนองค้อ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี จำนวน 40 คน
หลังจากเรียนจบในแต่ละหน่วย ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนทันที
ในแต่ละหน่วยจะมีแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียนหน่วยละ 10 ข้อ ซึ่งเป็นแบบทดสอบ
ชุดเดียวกับก่อนเรียน ใช้เวลาในการทำแบบทดสอบ 10 นาที นำแบบทดสอบทั้งก่อนหลังเรียนและหลังเรียนมาวิเคราะห์ผลทางสถิติ
2. ขั้นตอนในการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง ชนิดของคำ ที่ผู้รายงานสร้างขึ้น เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ มี 4 ตัวเลือก จำนวน 70 ข้อ ดำเนินการสร้างตามลำดับ ดังนี้
1. ศึกษาเอกสารหลักสูตร โครงสร้าง ได้แก่ คู่มือครู การวัดผลประเมินผล
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและการสร้างแบบทดสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ
2. รวบรวมเนื้อหา วิเคราะห์เนื้อหาและกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ของเนื้อหา
ที่เลือกมาสร้างเป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
3. สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบเลือกตอบชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 90 ข้อ ให้ครอบคลุมเนื้อหาและวัตถุประสงค์ดังกล่าว
4. นำแบบทดสอบเสนอผู้เชี่ยวชาญด้านวัดผลประเมินผล และผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา เพื่อประเมินความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์การเรียนรู้ ตรวจสอบด้านการใช้ภาษา และความเหมาะสมของตัวเลือก แล้วนำมาแก้ไขปรับปรุง หาค่าดัชนีความสอดคล้อง โดยใช้สูตร IOC (สมนึก ภัทธยธนี, 2544, หน้า 221)
5. นำแบบทดสอบที่แก้ไขเรียบร้อยแล้ว 90 ข้อ ไปทดลองกับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ห้อง 2 โรงเรียนชุมชนวัดหนองค้อ จำนวน 40 คน เพื่อนำผลการทดสอบ มาทำการวิเคราะห์รายข้อ (Item Analysis ) เพื่อหาค่าความยากง่าย ( p ) และค่าอำนาจจำแนก ( r ) ของแบบทดสอบ โดยเลือกข้อสอบที่มีค่าความยากง่าย อยู่ระหว่าง 0.20-0.80 (บุญชม ศรีสะอาด, 2535) และค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20 ขึ้นไป ให้เลือกข้อสอบ 70 ข้อ และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบโดยใช้สูตร KR-20 ของ คูเดอร์ ริชาร์ดสัน (Kuder Richardson Formula 20 ) ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.88
การดำเนินการทดลองและการเก็บรวบรวมข้อมูล
การทดลองในครั้งนี้ ใช้รูปแบบ การทดลองแบบ One Group Pre-test Post-test Design ดังแสดงในตารางที่ 1 (ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. 2538 : 219-220) โดยมีรูปแบบดังนี้
ตารางที่ 1 แบบแผนการทดลอง
T1 |
X |
T2 |
X คือ การจัดกระทำ (Treatment)
T1 คือ การสอบก่อนที่จะจัดกระทำการทดลอง (Pretest)
T2 คือ การสอบหลังที่จะจัดกระทำการทดลอง (Posttest)
ผู้รายงานนำเครื่องมือที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญและผ่านการหาประสิทธิภาพแล้วไปทดลองกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ห้อง 1 โรงเรียนชุมชนวัดหนองค้อ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550ในวันที่ 24 ธันวาคม 2550 วันที่ 7,14,21,28 มกราคม 2551และวันที่ 4,11 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา 9.30 -10.30 โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. เตรียมสถานที่และเครื่องมือในการทดลองให้พร้อม ซึ่งสถานที่ในการทดลองเป็นห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ โรงเรียนชุมชนวัด
แวะมาเยี่ยมครับ
พี่เพ็ญคะ แวะมาเยี่ยมด้วยความคิดถึงค่ะ
สนใจผลงานบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องชนิดของคำ ต้องการปรึกษาค่ะ
ขอบคุณอาจารย์และทุกคยคะ
ขอดูตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้เรื่องคำและชนิดของคำค่ะ