ลูกธาตุเย็น แม่ธาตุร้อน


ดิฉันเชื่อในภูมิปัญญาแพทย์แผนไทยค่ะ มีคุณหมอท่านหนึ่งได้กรุณาเตือนดิฉันเรื่องธาตุมาหลายครั้งแล้วค่ะ และหลังจากได้สังเกตจากการที่ลูกไม่สบายหนักถึงสองครั้ง ทำให้มั่นใจว่า ธาตุของคน เป็นเรื่องสำคัญต่อการดูแลสุขภาพค่ะ

ดิฉันเป็นคนธาตุร้อนแต่ลูกเป็นคนธาตุเย็น ลูกมักจะมือเท้าเย็นแม้ว่าหัวจะเปียกร้อนเหงื่อ การเป็นคนธาตุเย็นทำให้ลูกไม่ค่อยถูกกับแอร์ค่ะ แม้ดิฉันจะเปิดแอร์เพียงแค่ช่วงสองทุ่มถึงห้าทุ่มก็ตาม ลูกก็มักจะมีการไม่สบายตามมาหลังจากอยุ่กับแอร์ประมาณหนึงถึงสองอาทิตย์ค่ะ (บ่อยครั้งที่แม่รู้สึกร้อนจึงเปิดแอร์ เลยคิดไปว่าลูกก็น่าจะร้อนไปด้วยเพราะผมเปียกๆ เหงื่อ) 

แต่อาการไม่สบายที่ว่าจะออกมาในลักษณะท้องเสียค่ะ คาดว่าอากาศเย็นกับเด็กธาตุเย็นทำให้ภูมิต้านทานของลูกคงลดค่ะ ความไม่สมดุลของร่างกายเกิดขึ้น เป็นบ่อเกิดบ่มเพาะเชื้อแบคทีเรียที่อาจจะมีอยู่แล้วในร่างกาย หรือเพิ่งได้รับมาแล้วเจริญเติบโตได้ดีขึ้นเมื่อภูมิต้านทานลดลงค่ะ ทำให้ลูกถึงกับท้องเสียไข้สูงเข้าโรงพยาบาลเป็นหนทีสองค่ะ

ใครมีลูกธาตุเย็น ต้องคอยดูแลลูกให้อบอุ่นไว้เสมอค่ะ อย่าเอาตัวแม่ผู้เป็นธาตุร้อนเป็นตัววัดค่ะ และดีที่พ่อของลูกเป็นคนธาตุเย็น ก็คงจะให้พ่อเขาเป็นคนตัดสินค่ะว่าอากาศร้อนหรือเย็นไปสำหรับลูก

 

หมายเลขบันทึก: 254180เขียนเมื่อ 7 เมษายน 2009 22:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 สิงหาคม 2013 10:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ถ้าลูกเคยท้องเสีย จะท้องเสียบ่อยๆค่ะ

ตอนลูกพี่เล็กๆ จะท้องเสียบ่อยมาก พอเริ่มจะอ้วน จะทั้งท้องเสียและอาเจียน จนผอมทุกที จนต้องเข้า รพ

เราจะต้องระวังเรื่อง การชงนม ขวดนมต้องต้ม และชงแบบ Sterile

 

ขออนุญาต เติมเต็ม เล็กน้อย

เด็ก โดยธรรมชาติ จัดเป็นวัยของ เสมหะ

ฤดูกาล ที่เกิด ของ ทารก จะทำนาย ธาตุเจ้าเรือน ของเด็ก เกิดฤดูร้อน ก็ธาตุเจ้าเรือน เป็นไฟ หรือ ปิตตะ หรือ ร้อน ได้ง่าย แต่ยังต้องระวัง ความเย็นอยู่บ้าง ตามประสาของวัยเด็ก

ฤดูฝนเดือน แปด ประมาณ มิย.-กย. เป็นกลุ่ม ธาตุลม เป็นธาตเจ้าเรือน จุดเด่น คือ คอแห้ง เหนื่อยง่าย ไม่ค่อยทนทานการตรากตรำ แต่ ว่องไว

เกิดช่วงของฤดูฝน เดือน 12 ของทางใต้ อากาศจะเย็นชื้นมาก ตค-มค จัดเป็นกลุ่ม เสมหะเป็นธาตุเจ้าเรือน จะเป็นหวัดง่ายกว่า ท้องเสียง่ายกว่า

บางตำราคัมภีร์ ใช้เดือน ที่เกิด เป็นตัวกำหนดธาตุเจ้าเรือน แต่ผมคิดว่าฤดูกาล จะอธิบายได้ดีกว่า จำง่ายกว่า

ทั้งนี้นั้น อาจจะแปรตามสภาพ ความสมบูรณ์แข็งแรงของแม่ในขณะตั้งครรภ์ด้วย เช่น ลูกท้องหลัง จะไม่ขี้ร้อน เท่ากับ ลูกท้องแรก เพราะพลังความสมบูรณ์ของแม่ ลดลงบ้าง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท