Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

เชียงใหม่ศึกษา : เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อสร้างและพัฒนาองค์ความรู้สำหรับมนุษย์และสังคมในจังหวัดเชียงใหม่


คนที่เริ่มต้นสัญจร ก็คือ ๒ นักวิชาการสายนิติศาสตร์ซึ่งทำงานวิจัยในระดับดุษฎีบัณฑิต อันได้แก่ อาจารย์ลักคณา พบร่มเย็น ซึ่งวิจัยเรื่อง “สิทธิในที่ดินของบุคคลบนพื้นที่สูงในที่ดินของรัฐ” และอาจารย์ไพรัช ธีระชัยมหิทธิ์ ซึ่งวิจัยเรื่อง “สิทธิที่หายไป: ผลกระทบจากการบังคับใช้ ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ ๓๓๗” ซึ่งทั้งสองจับมือกันที่จะนำเสนอความคืบหน้าในการวิจัย โดยพาคณะที่ปรึกษาลงดูผลการค้นคว้าในพื้นที่

สิ่งหนึ่งที่อาจารย์แหววมักทำ ก็คือ การผลักดันให้คนที่มาศึกษารอบตัวคิดอย่างเป็นระบบ และแปลงสิ่งที่คิดให้เป็นจริง

สำหรับปีนี้ โครงการศึกษาวิจัยที่โดดเด่นมีหลายงานด้วยกัน ที่ควรจะเล่าถึงในช่วงนี้ ก็คือ การสัญจรศึกษาครั้งที่ ๑/๒๕๕๒ : เชียงใหม่ศึกษา ระหว่างวันที่ ๑๕ – ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ซึ่งประสานงานโดย อ.ไหม กิติวรญา รัตนมณี ซึ่งทำหน้าที่ TA ของ อ.แหววในวันนี้

อ.ไหม กิติวรญา รัตนมณี ผู้ประสานงานโครงการฯ

          คนที่เริ่มต้นสัญจร ก็คือ  ๒ นักวิชาการสายนิติศาสตร์ซึ่งทำงานวิจัยในระดับดุษฎีบัณฑิต อันได้แก่  อาจารย์ลักคณา พบร่มเย็น ซึ่งวิจัยเรื่อง “สิทธิในที่ดินของบุคคลบนพื้นที่สูงในที่ดินของรัฐ” และอาจารย์ไพรัช ธีระชัยมหิทธิ์ ซึ่งวิจัยเรื่อง “สิทธิที่หายไป: ผลกระทบจากการบังคับใช้ ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ ๓๓๗” ซึ่งทั้งสองจับมือกันที่จะนำเสนอความคืบหน้าในการวิจัย โดยพาคณะที่ปรึกษาลงดูผลการค้นคว้าในพื้นที่ โดยอาจารย์ลักคณาเสนอให้ไปที่ (๑) ชุมชนชาวกะเหรี่ยง บ้านห้วยเนียม หมู่ ๖ ต.ดอนเปา อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ และ (๒) ชุมชนชาวเขา บ้านหนองเต่า หมู่ ๔ ตำบลแม่วิน อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่

นอกจากนั้น โดยปกติประเพณีของการทำงานวิชาการกับอาจารย์แหวว ก็จะต้องมีการเปิดเวทีวิชาการเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้เป็นระยะๆ ซึ่งของนักศึกษาปริญญาเอก ก็อยู่ที่ ๓ เดือนครั้ง ซึ่งอาจารย์ทั้งสองท่านข้างต้นก็ถือโอกาสนี้เสนอความคืบหน้าของงานในรอบ ๓ เดือนที่ ๔ ก็หมายความว่า เวที ๒ คูณ ๓ ต้องเกิดขึ้นเป็นอย่างน้อย นั่นคือ นักศึกษาปริญญาเอก ๒ คน และอาจารย์ที่ปรึกษา ๓ คน เวทีวิชาการของเราจึงเกิดทุก ๓ เดือนมาแล้ว ๑ ปี และก็คงเป็นอย่างนี้ไปอีก ๓ ปี เป็นอย่างน้อย

แต่ในครั้งนี้ เมื่ออาจารย์ลักษณาเสนอที่จะทำเชียงใหม่ศึกษา จากวงวิชาการเล็กๆ เริ่ม ขยายวงกว้างเพื่อให้เกิดการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างนักวิชาการรุ่นใหญ่ รุ่นกลาง และรุ่นเล็ก ซึ่งได้มาร่วมกันศึกษาค้นคว้าหัวข้อซึ่งเกี่ยวข้องกับจังหวัดเชียงใหม่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง อันนำไปสู่องค์ความรู้ด้านนิติศาสตร์ที่มีลักษณะของการวิจัยเพื่อการพัฒนา (R&D) จังหวัดเชียงใหม่ได้ในที่สุด กระบวนการพัฒนาองค์ความรู้ด้านนิติศาสตร์ด้านนิติศาสตร์ในเชียงใหม่ศึกษาครั้งนี้มี ๒ ลักษณะ กล่าวคือ

(๑) การลงพื้นที่เพื่อสัมผัสกับสภาพปัญหาที่ชาวบ้านต้องเผชิญ

(๒) การตั้งเวทีวิชาการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้สถานการณ์ต่างๆ ที่นักวิชาการหยิบยกมาศึกษา และที่พบเห็นในการลงพื้นที่ 

การพัฒนาองค์ความรู้ในลักษณะที่ทำกันนี้จะก่อให้เกิดอะไรขึ้นมาล่ะ ??

ประโยชน์ในประการแรก ก็คือ การทักทอเครือข่ายทางวิชาการ ซึ่งอาจจะแนบแน่นในอนาคตหรือไม่ ก็คงไม่มีใครทราบได้ แต่อย่างน้อย ประชาคมวิจัยย่อมเกิดขึ้นบนพื้นที่หนึ่ง ในช่วงเวลาหนึ่ง หากจะสำเร็จ เราก็จะได้บทเรียนแห่งความสำเร็จ หากจะล้มเหลว เราก็จะได้บทเรียนแห่งความล้มเหลว

ประโยชน์ในประการที่สอง ก็คือ ชุดความรู้ด้านข้อเท็จจริงชุดหนึ่งเกี่ยวกับการจัดการผืนป่าชุมชนและการจัดการประชากรบนพื้นที่สูง ซึ่งเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชาวบ้านในชุมชนกับนักวิชาการ ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านนิติศาสตร์จากหลายมหาวิทยาลัย[1] และนิติศาสตร์บัณฑิตน้อยที่อาสามาทำงานวิชาการในโครงการปริญญาโทของทั้งธรรมศาสตร์และพายัพ

ประโยชน์ในประการที่สาม ก็คือ ชุดความรู้ด้านข้อกฎหมายหลายชุดอันเป็นประโยชน์ต่อเชียงใหม่ ตลอดจนพื้นที่ใกล้เคียง  จากกิจกรรมทางวิชาการ ๒ ลักษณะ กล่าวคือ (๑) การนำเสนอผลงานทางวิชาการ และ (๒) การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางวิชาการของนักศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิต และระดับมหาบัณฑิต

      เราคงตั้งตารอการสัญจรศึกษาครั้งที่ ๒/๒๕๕๒ : พะเยาศึกษา ซึ่งจะมาถึงใน ๓ เดือนข้างหน้าค่ะ



[1] (๑) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (๒) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ (๓) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (๔) สำนักนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตพะเยา และ (๕) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

หมายเลขบันทึก: 253917เขียนเมื่อ 6 เมษายน 2009 22:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 09:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท