นอนไม่พอเสี่ยงฆ่าตัวตาย


 

...

ท่านอาจารย์มาร์ซิน วอจนาร์ และคณะ แห่งมหาวิทยาลัยมิชิแกน สหรัฐฯ ทำการวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยแพทย์โปแลนด์ ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่าง 5,692 คน

ผลการศึกษาพบว่า คนที่มีปัญหาการนอน เช่น นอนหลับแล้วตื่น ตื่นแล้วนอนไม่หลับอีก, หลับยาก, นอนไม่หลับทั้งคืน ฯลฯ ตั้งแต่ 2 อย่างขึ้นไปเพิ่มความเสี่ยง (โอกาส) ฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น 2.6 เท่า

...

ลักษณะการนอนหลับที่เพิ่มเสี่ยงการฆ่าตัวตายชัดเจนคือ หลับง่าย-ตื่นง่าย-ตื่นแล้วหลับยาก (terminal insomnia)

คนที่มีปัญหาการนอนหลับแบบนี้มีความเสี่ยงที่จะคิดฆ่าตัวตายเพิ่มเป็น 2 เท่า หรือวางแผนการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นยังเสี่ยงที่จะพยายามฆ่าตัวตายเพิ่มเกือบ 3 เท่า

...

องค์การอนามัยโลกรายงานว่า โลกเบี้ยวๆ ใบนี้ (6,790 ล้านคนในเดือนมกราคม 2552) มีคนฆ่าตัวตายสำเร็จประมาณปีละ 877,000 คน (0.0129%) [ UScensus ] 

คนที่พยายามฆ่าตัวตาย (suicide attempts) ไม่ได้ตายทุกครั้ง สถิติที่ผ่านมาพบว่า ถ้าพยายาม 10-40 ครั้ง (เฉลี่ย 20 ครั้ง) จะถึงตาย 1 ครั้ง

...

นั่นคือ คนบนโลกเรา 10,000 คน มีคนที่พยายามฆ่าตัวตายปีละ 25.8 คน และฆ่าตัวตายสำเร็จ (ตายจริง) 1.29 คน สรุปง่ายๆ คือ คน 10,000 คนจะตายจากการฆ่าตัวตายประมาณ 1 คนต่อปี

กลไกที่เป็นไปได้คือ การนอนไม่พออาจทำให้ความสามารถในการคิดอ่านลดลง ความยับยั้งชั่งใจลดลง การตัดสินใจตกลง และความรู้สึกสิ้นหวัง (hopelessness) เพิ่มขึ้น

...

สมองคนเรามีระบบการคิด 2 ระดับใหญ่ๆ ได้แก่ ระดับสันดานดิบ ซึ่งมีแต่ความต้องการหรือความอยากเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ใช้แต่อารมณ์ และระบบสมองใหญ่ ซึ่งมีเหตุผล-จริยธรรม มีการยับยั้งชั่งใจ

การนอนหลับอาจทำให้สมองใหญ่ทำงานได้น้อยลง ทำให้ความสามารถในการคิดอ่าน ตัดสินใจ และการยับยั้งชั่งใจลดลง

...

อาจารย์โวจนาร์กล่าวว่า การศึกษานี้อาจนำไปสู่การตรวจคัดกรองหาคนที่นอนไม่หลับ หรือนอนไม่พอ... แล้วหาทางแก้ปัญหาตั้งแต่เริ่มแรกก่อนที่จะเกิดความคิดฆ่าตัวตาย

ว่าแต่ว่า คืนนี้พวกเรานอนพอแล้วหรือยัง

...

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

 

ที่มา >                          

  • Thank Reuters > Michael Kahn. Sleep problems may up suicide risk, study finds > [ Click ] > March 31, 2009. / Source > World Psychiatric Association International Congress.
  • Thank BBC > Sleep problems linked to suicide[ Click ] > 31 March 2009.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้ท่านนำไปเผยแพร่ความรู้ได้โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า >  > 1 เมษายน 2552.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้

หมายเลขบันทึก: 252641เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2009 23:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 06:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท