การนำเสนอผลงานวิจัยต่อยอดที่มีศักยภาพสู่เชิงพาณิชย์


การนำเสนอผลงานวิจัยต่อยอดที่มีศักยภาพสู่เชิงพาณิชย์ต่อศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย

         เมื่อวันพฤหัสบดีที่  26  มีนาคม  2552  รองคณบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพ  อาจารย์ศุภวิทู  สุขเพ็ง ได้นำเสนอผลงานวิจัยต่อยอดที่มีศักยภาพสู่เชิงพาณิชย์ให้กับ คุณจรัญ  จักรวาลชัยศรี รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทยได้รับทราบ  ณ ห้องประชุมนเรศวร 1 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยนเรศวร  โดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทยนี้เป็นศูนย์กลางการจัดการความรู้และเพิ่มมูลค่าในด้านชีววิทยาศาสตร์เพื่อสุขภาพและให้ประเทศมีบทบาทสำคัญในภูมิภาค  

       โดยมุ่งเน้น  1.  การพัฒนา Drug, Natural Products, Medical Device

                       2.  Investment /Fund

                       3.  National & International Coperation

        สำหรับจุดประสงค์ที่ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทยมาเยี่ยมชมมหาวิทยาลัยนเรศวรครั้งนี้  คือ  เพื่อคัดสรรผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพที่มีศักยภาพในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันวิจัยต่างๆ  เพื่อร่วมทุนและพัฒนาเทคโนโลยี ต่อยอดผลงานวิจัยสู่เชิงพานิชย์ต่อไป

       เกณฑ์การคัดเลือกผลิตภัณฑ์ 

       มิติที่ 1 : Product Development

                   1.1 Technology : Conventional หรือ Advance

                   1.2 Innovation

                   1.3 Intrastructure  ดูความพร้อมของ  Intrastructure 

                   1.4 Human Resource

       มิติที่ 2  ดูความคุ้มค่าในการลงทุน

 

 

        และในช่วงบ่ายบุคลากรจากศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทยได้มาเยี่ยมชมนวัตกรรมที่คณะสหเวชศาสตร์คะ

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 251892เขียนเมื่อ 30 มีนาคม 2009 12:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท