อาจารย์อายุ (โพ) นามเทพ (๒): ควรได้รับการพัฒนาสถานะบุคคลตามกฎหมายไทยแค่ไหน เพียงใด?


--------------------------------------------

ประเด็นการรับการสำรวจโดยรัฐไทย

--------------------------------------------

ภายหลังมียุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล ตามมติครม.ลงวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๔๘ อาจารย์อายุ ได้เขียนหนังสือ[1]เพื่อร้องขอให้กระทรวงมหาดไทย โดยเทศบาลเมืองเชียงใหม่ ทำการสำรวจและจัดทำทะเบียนประวัติผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียนตามระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วย.....พ.ศ. ๒๕๔๘[2] โดยได้รับการสำรวจแบบ ๘๙[3] เมื่อวันที่ ......๒๕๔๘ และได้รับการเพิ่มชื่อในทะเบียนราษฎรประเภทบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน ท.ณ.๓๘ก เมื่อวันที่ .....และได้รับการจัดทำบัตรประจำตัวบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนเมื่อวันที่  ๘ ตุลาคม ๒๕๕๐[4]     

เมื่อวันที่......อาจารย์อายุได้ยื่นคำร้องขอแปลงสัญชาติเป็นไทย[5] ต่อ..... ตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิฯ ในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศไทย โดยผ่านกระบวนการพิจารณาตามหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการกลั่นกรองสัญชาติแล้ว และอยู่ในขั้นตอนรอการลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย[6] ในระหว่างรอการลงนามนี้อาจารย์อายุก็ได้ติดตามความคืบหน้าเป็นระยะๆ[7]

---------------------------------------------------

การกำหนดสถานะบุคคลตามกฎหมายไทยของอาจารย์อายุ (โพ) นามเทพ

--------------------------------------------------

ประการทีหนึ่ง    อาจารย์อายุ มีสถานะเป็นคนต่างด้าวที่ได้รับการรับรองศักด์ศรีความเป็นมนุษย์ไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ดังปรากฎในบทบัญญัติมาตรา 4 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ตลอดจนมาตรา 3 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2549 เรื่อยมาจนถึงบทบัญญัติมาตรา 4 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ดังนั้น จึงถือได้ว่าอาจารย์อายุ เป็นผู้ทรงสิทธิที่ได้รับการรับรองและคุ้มครองในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนับตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา

ประการที่สอง   อาจารย์อายุมีสถานะเป็นคนไร้รัฐ เพราะไม่ได้รับการบันทึกตัวบุคคลในทะเบียนราษฎรของรัฐใดเลย

ประการที่สาม   อาจารย์อายุมีสถานะเป็นคนไร้สัญชาติ แม้ว่าอาจารย์อายุจะมีจุดเกาะเกี่ยวกับประเทศพม่าโดยการเกิดทั้งโดยหลักบุคคล และหลักดินแดน แต่เนื่องจากบิดาและมารดาเป็นชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในประเทศพม่า และไม่ได้รับการยอมรับจากรัฐบาลพม่าว่ามีสัญชาติพม่า จึงประสบปัญหาความไร้สัญชาติซึ่งจึงส่งผลสืบเนื่องมาถึงอาจารย์อายุ ทำให้อาจารย์อายุประสบปัญหาความไร้สัญชาติเช่นกัน

ประการที่สี่      อาจารย์อายุมีสถานะเป็นคนต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมาย

ประการที่ห้า    อาจารย์อายุมีสถานะเป็นคนต่างด้าวที่ได้รับการผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในประเทศไทย เนื่องจากครอบครัวของอาจารย์อายุได้ขอลี้ภัยการเมืองจากประเทศพม่า ประกอบกับในขณะนั้นปรากฎข้อเท็จจริงว่าสภาวะการณ์บริเวณชายแดนไทยพม่าอยู่ในสภาวะไม่ปกติ หากส่งครอบครัวของอาจารย์อายุกลับไปยังประเทศพม่าอาจเป็นภัยแก่ชีวิตได้ ดังนั้น รัฐบาลไทยโดยคำนึงถึงหลักมนุษยธรรมและกฎหมายระหว่างประเทศ จึงได้ผ่อนผันให้ครอบครัวของอาจารย์อายุอาศัยอยู่ในประเทศไทยต่อไปได้ ปรากฎความตามหนังสือที่ ๑๘๑๑/๒๕๐๒ จากสำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๐๒

ประการที่หก   นับตั้งแต่วันที่ได้รับการบันทึกในทะเบียนราษฎร ท.ร.๓๘ก อาจารย์อายุมีสถานะเป็นคนไร้สัญชาติแต่ไม่ไร้รัฐ เนื่องจากอาจารย์อายุมีจุดเกาะเกี่ยวภายหลังการเกิดกับรัฐไทยอย่างเข้มข้น ทั้งเรียนในสถานศึกษาในประเทศไทยมาโดยตลอดตั้งแต่ประถมศึกษาจนถึงอุดมศึกษา ประกอบอาชีพเป็นหลักแหล่งในประเทศไทย มีสามีเป็นคนสัญชาติไทย และเป็นมารดาของบุตรชายสัญชาติไทย ๒ คน นอกจากนี้ยังเป็นผู้ทำชื่อเสียงให้แก่ประเทศชาติและสร้างประโยชน์นานัปประการให้ประเทศไทย

ด้วยเหตุดังกล่าว รัฐไทยโดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย จึงได้มีความพยายามในการขจัดปัญหาความไร้รัฐให้แก่อาจารย์อายุ โดยการบันทึกตัวบุคคลของอาจารย์อายุในทะเบียนราษฎรสำหรับบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน รวมทั้งจัดทำบัตรประจำตัวบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการสำรวจและ....พ.ศ.๒๕๔๘ อาจารย์อายุจึงไม่ไร้รัฐอีกต่อไป แต่ยังคงไร้สัญชาติ     

ประการที่เจ็ด       มีสถานะเป็นผู้ทรงสิทธิที่จะร้องขอสัญชาติไทย ตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล ตามมติครม. 18 มกราคม 2548 เพราะเป็นผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศไทย เนื่องจาก......จึงมีสิทธิร้องขอสัญชาติไทย ตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคลตามมติ ครม.วันที่ 18 มกราคม 2548 นับตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2548 เป็นต้นมา

---------------------------------------------------

การพัฒนาสถานะบุคคลตามกฎหมายไทยของอาจารย์อายุ (โพ) นามเทพ

---------------------------------------------------

สภาวะความเป็นคนไร้สัญชาติของอาจารย์อายุ จะสิ้นสุดลงหากได้รับการพัฒนาสถานะบุคคลตามกฎหมายไทย ดังต่อไปนี้

ประการแรก      นับตั้งแต่วันที่อาจารย์อายุจดทะเบียนสมรสกับสามี อาจารย์อายุมีสิทธิขอแปลงสัญชาติไทยตามสามี ????  ตามมาตรา .....  แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ แต่อาจารย์อายุไม่ได้ใช้สิทธิดังกล่าวจนกระทั่งสิทธิดังกล่าวสิ้นสุดลงเมื่อนายเธียรชัยสามีถึงแก่ความตายในปี พ.ศ.๒๕๒๘

ประการที่สอง    นับตั้งแต่วันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๔๘ เป็นต้นมา อาจารย์อายุมีสิทธิร้องขอสัญชาติไทย ตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล ตามติครม. ๑๘ มกราคม ๒๕๔๘  ซึ่งเป็นไปตามมาตรา ๑๑ (๑)[8] แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ ทั้งนี้เพราะ

(๑)  อาจารย์อายุเป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้วตามกฎหมายไทย ตามมาตรา ๑๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘

(๒)  อาจารย์อายุเป็นบุคคลที่มีความประพฤติดี เพราะไม่เคยมีประวัติอาชญากรรม ตามมาตรา ๑๐ (๒) แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘

(๓)  อาจารย์อายุเป็นบุคคลที่มีอาชีพเป็นหลักฐาน เนื่องจากประกอบอาชีพเป็นอาจารย์ในภาควิชาดุริยศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ มาตั้งแต่พ.ศ.๒๕๒๑ ปัจจุบัน  รวมเป็นเวลา กว่า ๓๐ ปี ตามมาตรา ๑๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘

(๔)  อาจารย์อายุเป็นบุคคลที่ทำคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศไทย จึงได้รับการยกเว้น ตามมาตรา ๑๐ (๔) กล่าวคือ ไม่ต้องมีภูมิลำเนา(ตามกฎหมายมหาชน)[9] ในราชอาณาจักรไทยต่อเนื่องมาจนถึงวันยื่นขอแปลงสัญชาติเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี

(๕)  อาจารย์อายุเป็นบุคคลที่ได้รับการยกเว้นคุณสมบัติตามมาตรา ๑๐ (๕) แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวคือ ไม่ต้องมีความรู้ภาษาไทยตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

(๖)  อาจารย์อายุเป็นบุคคลที่ได้ทำคุณประโยชน์ให้กับประเทศไทยมาโดยตลอดเป็นระยะเวลากว่า ๓๐ ปี แล้วที่อาจารย์อายุได้อุทิศตนเป็นประโยชน์แก่สังคมไทยทั้งในฐานะอาจารย์สอนดนตรี และในฐานะผู้ควบคุมวงขับร้องประสานเสียงที่สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทยในเวทีระดับโลกหลายต่อหลายเวที ดังจึงถือได้ว่าอาจารย์อายุเป็นบุคคลที่ทำคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศไทยตามมาตรา ๑๑ (๑) แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ อีกด้วย

ดังนั้น อาจารย์อายุจึงมีสิทธิที่จะร้องขอแปลงสัญชาติเป็นไทยตามมาตรา ๑๑ (๑) แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ เพราะมีคุณสมบัติครบตามที่มาตราดังกล่าวกำหนด

ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จะอนุญาตให้สัญชาติไทยแก่อาจารย์อายุได้ และหากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งอนุญาตให้สัญชาติไทยแก่นางอายุ สภาวะความเป็นคนไร้สัญชาติของบุคคลนี้ก็จะสิ้นสุดลง



[1] เรมีย์ นามเทพ และศิลา นามเทพ. จดหมายของนายเรมีย์ - นายศิลา นามเทพถึงนายกรัฐมนตรีเพื่อขอบัตรแสดงตนให้แก่อาจารย์อายุ นามเทพ มารดาซึ่งตกเป็นคนไร้รัฐ. (12 กรกฎาคม 2548) <http://www.archanwell.org/autopage/show_page.php?t=1&s_id=171&d_id=171 >  เข้าถึงเมื่อ 19 ตุลาคม 2551, อายุ นามเทพ. จดหมายของอาจารย์อายุ นามเทพถึงนายกรัฐมนตรีเพื่อขอความอนุเคราะห์เร่งรัดกระบวนการพิจารณาขอแปลงสัญชาติเป็นไทย. (2 สิงหาคม 2548)<http://www.archanwell.org/autopage/show_page.php?t=1&s_id=178&d_id=178 > เข้าถึงเมื่อ 19 ตุลาคม 2551, อายุ นามเทพ. อายุ (โพ) นามเทพ : คนไร้รัฐและมนุษย์ล่องหน. (16 พฤศจิกายน 2548) <http://www.archanwell.org/autopage/show_page.php?t=1&s_id=230&d_id=229> เข้าถึงเมื่อ 19 ตุลาคม 2551, ศูนย์ข่าวสาละวิน. ชีวิตดั่งนิยายของนักเปียโนไร้สัญชาติ. ประชาไท ( 9 ธันวาคม 2548 ) <http://www.prachatai.com/05web/th/columnist/viewcontent.php?SystemModuleKey=Column&ContentID=1110&ColumnistID=77 > เข้าถึงเมื่อ 19 ตุลาคม 2551, พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร. ขอความช่วยเหลือให้แก่อาจารย์อายุ นามเทพ...เพชรน้ำหนึ่งทางวิชาการดนตรี...คนดีที่ประเทศไทยลืม. (7 กรกฎาคม 2549) <http://gotoknow.org/blog/msa-by-law/37553> เข้าถึงเมื่อ 19 ตุลาคม 2551,จันทวรรณ ปิยะวัฒน์. ขอน้ำใจ "ไทย" ให้ "อายุ นามเทพ" บุคคลากรแห่งความรู้ด้านดนตรี. (8 กรกฎาคม 2549)  <http://gotoknow.org/blog/tutorial/37774 > เข้าถึงเมื่อ 19 ตุลาคม 2551,ธวัชชัย ปิยะวัฒน์. ผมขอ "แจก F" (เพื่อให้กำลังใจ อ. อายุ นามเทพ). (11 กรกฎาคม 2549 ) <http://gotoknow.org/blog/averageline/38107> เข้าถึงเมื่อ 19 ตุลาคม 2551,จุฑิมาศ สุกใส.  บททดสอบพลัง Blog กับการเคลื่อนไหวทางสังคม.  11 กรกฎาคม 2549 <http://gotoknow.org/blog/viewfromsomewhere/38162> เข้าถึงเมื่อ 19 ตุลาคม 2551

[2] ปรากฎตามภาคผนวก .......(ระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ๔๘)

[3] ปรากฎตามภาคผนวก .......(แบบสำรวจ ๘๙)

[4] สุภนิช ทวีสุขสิริอนันต์. อายุ นามเทพ .. คนดีไม่มีที่อยู่. 5 เมษายน 2550<http://learners.in.th/blog/aristo/27037> เข้าถึงเมื่อ 22 ตุลาคม 2551,พิมพ์อร พิรุณ. อายุ นามเทพ: Invisible Woman. 12 เมษยน 2550.<http://learners.in.th/blog/pimon-la396-humanrights/27903>  เข้าถึงเมื่อ 22 ตุลาคม 2551,วรงค์รัตน์ กังวาลวงศ์ไพศาล. บุคคลากรคุณภาพผู้ไร้ซึ่งสัญชาติ. 14 เมษยน 2550 <http://learners.in.th/blog/warong/28004> เข้าถึงเมื่อ 22 ตุลาคม 2551

[5] มุทิตา เชื้อชั่ง.  อายุ นามเทพ : ฉันต้องทำอย่างไรจึงจะมีค่าพอเป็น คนไทย ! ประชาไท (24  กรกฎาคม 2549)<http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ID=4364&Key=HilightNews> เข้าถึงเมื่อ 19 ตุลาคม 2551

[6] ชลฤทัย แก้วรุ่งเรือง. เรื่องราวในก้าวสุดท้ายของการขอแปลงสัญชาติเป็นไทย : ทางที่ยังต้องเดินของอาจารย์อายุ นามเทพ. 19 กรกฎาคม 2549.<http://gotoknow.org/blog/chonruitai/39638> ชลฤทัย แก้วรุ่งเรือง. ขอความช่วยเหลือประชาสัมพันธ์ และติดตามการพิจารณาอนุมัติสัญชาติให้กับอ.อายุ นามเทพ. 19 กรกฎาคม  2549 <http://gotoknow.org/blog/chonruitai/39666>

[7] ปรากฎตามภาคผนวก ....... (หนังสือติดตามความคืบหน้า)

[8]  มาตรา ๑๑บทบัญญัติในมาตรา ๑๐ (๔) และ (๕) มิให้นำมาใช้บังคับ ถ้าผู้ขอแปลงสัญชาติเป็น

(๑)     ได้กระทำความดีความชอบเป็นพิเศษต่อประเทศไทย หรือได้ทำคุณประโยชน์ให้แก่ราชการซึ่งรัฐมนตรีเห็นสมควร

(๒)     เป็นบุตรหรือภริยาของผู้ที่ได้แปลงสัญชาติเป็นไทย หรือของผู้ได้กลับคืนสัญชาติไทย

(๓)     เป็นผู้ได้เคยมีสัญชาติไทยมาก่อน

    มาตรา ๑๐ คนต่างด้าวซึ่งมีคุณสมบัติครบถ้วนดังต่อไปนี้ อาจขอแปลงสัญชาติเป็นไทยได้ คือ

(๑)     บรรลุนิติภาวะแล้วตามกฎหมายไทยและตามกฎหมายที่บุคคลนั้นมีสัญชาติ

(๒)     มีความประพฤติดี

(๓)     มีอาชีพเป็นหลักฐาน

(๔)     มีภูมิลำเนาในราชอาณาจักรไทยต่อเนื่องมาจนถึงวันที่ยื่นขอแปลงสัญชาติเป็นไทยเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี

(๕)     มีความรู้ภาษาไทยตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

[9]  โดยหลักกฎหมายแล้วคำว่า ภูมิลำเนา สามารถจำแนกได้ ๒ ประเภท กล่าวคือ ๑.ภูมิลำเนาตามกฎหมายเอกชน ตามมาตรา ๓๗  แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยพิจารณาจากเจตนาของผู้อาศัยเป็นสำคัญว่ามีเจตนาจะใช้ที่ใดเป็นที่อยู่อาศัย และที่อยู่อาศัยนั้นต้องเป็นที่อยู่อาศัยที่เป็นหลักแหล่งที่ถาวร ๒.ภูมิลำเนาตามกฎหมายมหาชน ตามมาตรา๒๙ แห่งพระราชบัญญัติทะเบียนราษฎรพ.ศ.๒๕๓๔ โดยพิจารณาจากการบันทึกในทะเบียนราษฎรกล่าวคือหากบุคคลใดมีชื่ออยู่ในทะเบียนราษฎร ณ ทีใด กฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลนั้นอยู่และมีภูมิลำเนาอยู่ ณ ที่นั้น  

ทั้งนี้ เมื่อเป็นกรณีตามกฎหมายสัญชาติซึ่งเป็นกฎหมายมหาชนของรัฐเจ้าของสัญชาติจึงจำต้องตีความคำว่าภูมิลำเนาให้สอดคล้อง

 

หมายเลขบันทึก: 251638เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2009 04:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:55 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท