การบ้านส่งอาจารย์หมอวิจารณ์ พานิช: ทางเลือก (ที่น่าจะดีกว่า)ในการทำงานวิจัยและพัฒนาแบบมีส่วนร่วม (ของสถาบันวิจัย และสถาบันการศึกษา)


การพัฒนาในเส้นทางนี้ (Copy/Modify/Develop/Research) ก็จะทำให้ฐานงานวิจัยยืนอยู่บนความรู้ความเข้าใจที่เท่าเทียมกัน ทั้งผู้ใช้ นักวิชาการ และนักพัฒนาในสาขาต่างๆ โดยเริ่มต้นจากการใช้ความรู้เชิงประจักษ์ หรือเชิงเทคโนโลยีจากที่อื่น แล้วทำความเข้าใจร่วมกันในการดัดแปลง แก้ไข เพื่อปรับใช้ในระดับชุมชน จนถึงขั้นของการสร้างความเหมาะสมใหม่ โดยการทำงานวิจัย ซึ่งคาดหวังว่า งานวิจัยในรูปแบบนี้จะมีระดับความเข้าใจใกล้เคียงกัน ระหว่างผู้ร่วมงานในสาขาต่างๆ และพูดภาษาเดียวกันแบบไม่ผิดฝาผิดตัว

เมื่อประมาณเดือนที่แล้ว (ก.พ.52) ระหว่างที่ผมเดินทางโดยเครื่องบินไปประชุมที่กรุงเทพฯ ก็ได้มีโอกาสพบกับอาจารย์หมอวิจารณ์ พานิช ที่สนามบินขอนแก่น ท่านได้ถามผมว่า “ทำอะไรอยู่” ผมก็เรียนให้ท่านทราบว่า “ผมกำลังทำงานวิจัยและพัฒนาร่วมกับชุมชน นอกเหนือไปจากที่ผมทำนาด้วยตัวเอง ๑๖ ไร่”

การทำนาด้วยตนเองนั้น

  • ำให้ผมได้รับบทเรียน ความรู้ ความเข้าใจ ทั้งในเชิงการปรับใช้ความรู้ จากเอกสารทางวิชาการเข้ามาใช้ในการทำงานที่เป็นจริง
  • จนสามารถทำการเกษตรแบบประหยัด “ไม่ไถ ไม่ดำ ไม่หว่าน” จนสำเร็จ
  • เหลือแต่ยังต้องลงทุนเกี่ยวข้าว จึงจะได้ข้าวมาบริโภค

นการทำงานดังกล่าว

  • เป็นการจัดการความรู้แบบจริงจัง
  • มากกว่าการจัดการความรู้ เพื่อการเรียนการสอนและการวิจัยที่ทำกันอยู่ทั่วไป และ
  • ทำให้เกิดความรู้ใหม่ ๆ ขึ้นมาอีกหลายประเด็น

 และในขณะเดียวกัน เมื่อผมทำงานร่วมกับชุมชน

  • มก็ได้รับทราบว่าชุมชนยังขาดทั้งความรู้และการจัดการความรู้ที่มี
  • ที่จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากสถาบันการศึกษาและหน่วยราชการต่างๆ

แต่เมื่อมองย้อนกลับมาพิจารณาถึงสถาบันการศึกษา และหน่วยราชการต่างๆ กลับพบว่า

  • ีความรู้ที่ไม่ตรงกับความต้องการของชุมชน
  • จึงทำให้กระบวนการพัฒนาอยู่ในลักษณะ “ผิดฝา ผิดตัว” อยู่เป็นประจำ

กล่าวคือ มชนก็รอความช่วยเหลือ นักวิชาการก็รอว่า เมื่อไหร่ชุมชนจะนำความรู้ที่ตนมีไปใช้ประโยชน์

ระเด็นนี้นอกจากจะเป็นช่องว่างทางความเข้าใจในวิชาการแล้ว

  • ังมีช่องว่างทางความคิด
  • ช่องว่างทางการสื่อสาร

ึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาในปัจจุบัน

หลังจากที่ผมได้รับการบ้านจากหมอวิจารณ์ ว่า

 “มีแนวทางในการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาอย่างไร? ที่จะทำให้สถาบันการศึกษา สามารถช่วยเหลือการพัฒนาชุมชนได้อย่างเป็นจริง”

ผมก็ได้ใช้เวลามาไตร่ตรอง โดยอาศัยประสบการณ์ที่ทำงานกับชุมชนมาเป็นเวลายาวนาน และได้พบประเด็นหนึ่งที่สำคัญ ในการพัฒนางานวิจัย ก็คือ

·       ต่เดิม งานวิจัยอยู่คนละระบบกับงานพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นฐานความรู้ ที่อาจจะมีผู้นำไปใช้ในอนาคต

·       ต่อมา มีการนำแผนงานวิจัยไปสู่การพัฒนาในนามของ การวิจัยและพัฒนา (R&D) ซึ่งไม่ค่อยประสบผลสำเร็จนัก เพราะนักวิจัยส่วนใหญ่ก็ยังติดกรอบอยู่กับการวิจัย ที่แยกส่วนกับการพัฒนา

·       ต่อมา จึงมีความพยายามที่จะดึงงานวิจัยไปเชื่อมกับงานพัฒนาให้ได้ จึงมีการใช้คำว่า “การพัฒนาและวิจัย” (D&R) หรือการวิจัยเพื่อการพัฒนา ึ่งก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จอยู่เช่นเดิม ทั้งนี้ เนื่องจากฐานงานพัฒนากับฐานงานวิจัย เริ่มต้นจากจุดที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะงนวิจัยจะเริ่มจากหลักการ ทฤษฎี และความคิดของนักวิจัย ว่าพร้อม หรือ อยากจะทำอะไร ต่งานพัฒนาจะเริ่มจากการแก้ปัญหาด้านต่างๆ ที่นักพัฒนาต้องเผชิญอยู่ทุกวัน จึงทำให้แนวคิดการพัฒนาดังกล่าวยังไม่ประสพผลสำเร็จเท่าที่ควร

·       ในปัจจุบัน จากประสบการณ์ที่ผมพยายามกลั่นกรอง พบว่า งานวิจัยและงานพัฒนาที่จะทำให้เกิดความเชื่อมโยงกันได้นั้น ะต้องมีฐานงานร่วมกัน ดยอาศัยประสบการณ์เดิมที่เคยมีมาในอดีต

กล่าวคือ ก่อนการพัฒนาใดๆ

  • มักเริ่มต้นด้วยการนำความรู้จากแหล่งอื่นเข้ามาใช้ (Copy) และ
  • เมื่อความรู้ที่นำมาใช้นั้น มีความไม่เหมาะสมในประเด็นใดก็ตาม ก็จะมีการดัดแปลงให้เหมาะสมยิ่งขึ้น (Modify) และ
  • เมื่อแม้จะดัดแปลงแล้วก็อาจจะยังไม่เพียงพอ อาจจำเป็นต้องมีการพัฒนาให้ดีขึ้น (Develop) และ
  • ในการพัฒนานั้น จะให้มีความเหมาะสมหรือมีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิม ก็ต้องมีการศึกษาวิจัย (Research) และพัฒนาการของความรู้ที่ถูกต้อง

ังนั้น ถ้ามีการพัฒนาในเส้นทางนี้ (Copy/Modify/Develop/Research) ก็จะทำให้

  • ฐานงานวิจัยยืนอยู่บนความรู้ความเข้าใจที่เท่าเทียมกัน
  • ทั้งผู้ใช้ นักวิชาการ และนักพัฒนาในสาขาต่างๆ
    • โดยเริ่มต้นจากการใช้ความรู้เชิงประจักษ์ หรือเชิงเทคโนโลยีจากที่อื่น
    • แล้วทำความเข้าใจร่วมกันในการดัดแปลง แก้ไข เพื่อปรับใช้ในระดับชุมชน
    • จนถึงขั้นของการสร้างความเหมาะสมใหม่ โดยการทำงานวิจัย

ซึ่งคาดหวังว่า านวิจัยในรูปแบบนี้จะมีระดับความเข้าใจใกล้เคียงกันะหว่างผู้ร่วมงานในสาขาต่างๆ และพูดภาษาเดียวกันแบบไม่ผิดฝาผิดตัว อย่างที่เคยเป็นมาในอดีต

การทำงานเช่นนี้ ก็คือ

  • การถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ผู้ใช้ต้องการ
  • การปรับใช้เพื่อการพัฒนา และ
  • งานวิจัยเสริมการพัฒนา
  • แทนรูปแบบารวิจัย(ที่แยกออกจาก)การพัฒนาี่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
  • ก็น่าจะเป็นแนวทางในการพัฒนาชุมชน พัฒนาความรู้ พัฒนาบุคลากร และพัฒนาการศึกษา และพัฒนาการจัดการความรู้ ไปในขณะเดียวกัน

คุณหมอวิจารณ์ ครับ นี่คือ การบ้านที่ผมทำส่งให้ท่านแล้วครับ

ท่านให้คะแนนเท่าไหร่ ครับ คงไม่ถึงกับตก นะครับ

สวัสดีครับ

หมายเลขบันทึก: 251342เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2009 19:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2012 13:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

งานวิจัย กับ งานพัฒนา น่าจะเป็นเนื้อเดียวกันครับ เพราะสองกระบวนการคือ KM

วันนี้ผมมาเรียนรู้กระบวนการอย่างที่อาจารย์เขียนที่ อุบลราชธานี ครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท