R2R กับจิตเจริญ


          ในการประชุมคณะกรรมการอำนวยการโครงการ R2R ของศิริราช เมื่อวันที่ ๑๓ มี.ค. ๕๒ เราคุยกันเรื่องผลลัพธ์และผลกระทบของ R2R  

          เราอภิปรายกันเรื่องการใช้ R2R เป็นเครื่องมือแหกด่านงานยุ่ง    คือเมื่อกระแส    R2R เข้าไปที่บางหน่วยงาน ก็จะมีปฏิกริยา “งานยุ่งอยู่แล้ว ยังจะเพิ่มภาระ R2R อีกหรือ”    คนที่รู้สึกเช่นนี้ไม่ต้องการคำอธิบาย   และไม่ควรมีใครพยายามอธิบายให้เข้าใจ    ควรให้เขาเข้าร่วมเวที Success Story Sharing ของ R2R   แล้วเขาจะเห็นเอง ว่า R2R เป็นเครื่องมือลดงาน    หรือบางกรณีไม่ลด แต่มีความสุขจากการทำงานมากขึ้น    คืองานมากแต่ไม่ยุ่ง  

          เรามีตัวอย่างคนจริงเสียงจริง ที่ทำงาน R2R เบาหวานเด็ก    แล้วเกิดความมั่นใจตนเองในการริเริ่มสร้างสรรค์    จึงทำเครือข่ายพ่อแม่ มีกิจกรรมเพิ่มขึ้น   งานเพิ่ม แต่มีความสุขความภูมิใจที่ได้ทำประโยชน์ 

          มองในมุมหนึ่ง R2R เป็นเครื่องมือเปลี่ยนมุมมองต่องาน ต่อชีวิต   อาจนำไปสู่การมองว่างานคือเครื่องมือช่วยให้ตนเองได้ทำในสิ่งที่ตนใฝ่ฝัน ได้ทำประโยชน์แก่คนอื่น   เมื่อทำแล้วเกิดผล ก็มีความสุข    และได้ยกระดับจิตใจของตนเอง    ให้ลดความเห็นแก่ตัวลง ลดการคิดถึงแต่ตัวเอง   หันไปคิดถึงคนอื่น ช่วยเหลือคนอื่น   แล้วเกิดความสุข

          คนที่มีจิตใจมุ่งทำประโยชน์ให้แก่คนอื่นคือผู้มีจิตใจสูง หรือจิตเจริญ   เป็นคนที่มีการพัฒนาจิต  

          เป็นการพัฒนาจิตผ่านงานประจำ  ก้าวผ่านความจำเจ  อาศัยงานประจำเป็นที่ฝึกปฏิบัติความคิดสร้างสรรค์   และยกระดับจิตใจตนเอง

          เราคุยกันว่า ควรมีการทำวิดีโอเผยแพร่เรื่องราวของคนที่ R2R ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชีวิตอย่างมากมาย

วิจารณ์ พานิช
๑๔ มี.ค. ๕๒


         


คำสำคัญ (Tags): #520313#r2r#ศิริราช
หมายเลขบันทึก: 251269เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2009 14:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท