ฤๅว่าศาสนาเป็นยาเสพติดอย่างที่คนเขาว่ากัน ?


  • ในงานประชุมนานาชาติเมื่อวานนี้ โชคดีเหมือนธรรมะจัดสรรให้ได้สุนทรียสนทนากับเหล่าบัณฑิต (นิสิตปริญญาเอก) ที่มีความสนใจพิเศษในธรรมะ แต่ละท่านนั้นไม่ธรรมดาเลยจริง ๆ บางท่านบวชมา 13 พรรษาก็มีแล้วหันกับมาใช้ชีวิตทางโลก บางท่านพึ่งมาบวชตอนเรียน ป.เอก นี้ก็มี
  • ผมไม่รีรอที่จะนำประเด็นคำถามที่เกิดจากการทำวิจัยโยนเข้าสู่วงสนทนาอย่างไม่ขาดสาย
  • ท่านทั้งหลายเหล่านั้นยืนยันเป็นเสียงเดียวกันก็คือ "ธรรมะ" เป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินชีวิตแน่นอน 
  • แต่ความยากประการหนึ่งคือ ปุถุชน คนธรรมดา หรือนิสิตที่เข้ามาเรียน 4 ปี ในรั้วมหาวิทยาลัยทั้งหลายจะหันมามอง เข้าถึง และเห็นความสำคัญตรงนี้ได้อย่างไร? หรือ จะเข้าถึงธรรมได้อย่างไร ?
  • ท่านทั้งหลายเหล่านั้น ก็เสนอแนะแนวทางจากประสบการณ์และข้อคิดเห็นของท่านไว้อย่างหลากหลายและน่าสนใจยิ่ง ซึ่งผมก็จะนำเข้าบูรณาการในงานวิจัยต่อไป
  • -------------------------
  • นึกถึงงานเขียนของ ศ.นพ.ประเวส วะสี ที่เขียนไว้ในหนังสือ "พุทธธรรมกับสังคม" ท่านเขียนอธิบายประเด็นที่ว่า ฤๅว่าศาสนาเป็นยาเสพติดอย่างที่คนเขาว่ากัน ? ไว้อย่างน่าสนใจว่า

...ส่วนที่ว่า ศาสนาเป็นยาเสพติดนั้น ก็ขอให้พิจารณาเรื่องมอร์ฟีน มอร์ฟีนนั้นโดยสภาพของมันเป็นวัตถุ เมื่อเอาไปใช้ในฐานะยาเสพติดก็เป็นยาเสพติด แต่ขณะเดียวกันแพทย์ได้นำมอร์ฟีนไปใช้เป็นยาแก้ปวดที่บำบัดทุกข์และช่วยชีวิตผู้ป่วยได้เป็นจำนวนมาก...แสดงให้เห็นว่าของอย่างเดียวกันเป็นเครื่องเสพติดก็ได้ เป็นเครื่องแก้ปัญหาก็ได้...

หมายเลขบันทึก: 250951เขียนเมื่อ 26 มีนาคม 2009 08:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มกราคม 2014 13:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

      สถานปฏิบัติธรรมบางที่  ผู้คนติดกันงอมแงมครับ  เพราะเขามีวิธีการทำให้คนมาปฏิบัติธรรมรู้สึกมีความสุข (แต่ไม่ได้แก้ปัญหาชีวิตนะครับ)

ขออนุญาติแลกเปลี่ยนนะครับ..

ถ้าปฏิบัติธรรมแล้วมีสองโลก คือ โลกทางธรรม และ โลกปกติก็อาจนับว่าเป็นสิ่งเสพย์ติดได้ครับ รวมถึงปฏิบัติเพื่อมุ่งหวังจะบรรลุธรรมโดยมีลาภสักการะ

ถ้าปฏิบัติธรรมแล้วทุกข์น้อยลง ปล่อยวางมากขึ้น เข้าใจหลักไตรสิกขา ไตรลักษณ์ ใช้ชีวิตอยู่กับโลกตามปกติ แต่ใจสูงขึ้น ไม่มองคนอื่นแย่กว่าเราเพราะไม่ปฏิบัติธรรม อันนี้เป็นการน้อมนำธรรมะมาสู่ใจครับ

สวัสดีครับ ท่าน

P

 

  • ในหนังสือ "พุทธธรรมกับสังคม" ก็เขียนไว้ประมาณนั้นครับ
  • ขอบคุณครับ

 

สวัสดีครับ ท่าน

P

 

ถ้าปฏิบัติธรรมแล้วทุกข์น้อยลง ปล่อยวางมากขึ้น เข้าใจหลักไตรสิกขา ไตรลักษณ์ ใช้ชีวิตอยู่กับโลกตามปกติ แต่ใจสูงขึ้น ไม่มองคนอื่นแย่กว่าเราเพราะไม่ปฏิบัติธรรม อันนี้เป็นการน้อมนำธรรมะมาสู่ใจครับ

 

  • สุดยอดจริง ๆ ครับ
  • ขอบคุณครับ

 

ศาสนาก็เหมือน "เรือ" ที่ต้องใช้ให้เป็น....

พายไม่เป็นก็ไม่ไปไหน...นั่งไม่ดีก็ล่ม...)

และเมื่อถึง "ฝั่ง" ก็ต้อง "ขึ้นฝั่ง"... อย่ามัวเสียดาย "เรือ"...

สวัสดีครับ

P

 

  • ต้องขออภัยด้วยครับที่ตอบช้า เพราะพึ่งมาอ่านเจอครับ

ศาสนาก็เหมือน "เรือ" ที่ต้องใช้ให้เป็น....

พายไม่เป็นก็ไม่ไปไหน...นั่งไม่ดีก็ล่ม...)

และเมื่อถึง "ฝั่ง" ก็ต้อง "ขึ้นฝั่ง"... อย่ามัวเสียดาย "เรือ"...

  • เป็นคำกล่าวที่จริงและลึกซึ้งเกินกว่าจะขยายความต่อเลยครับ
  • ขอบคุณครับ

 

สวัสดีครับ ท่านทั้งหลาย

  • ตั้งแต่ท่าน อ.ขจิต แนะนำหนังสือ "พุทธธรรมกับสังคม" ซึ่งเขียนโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี ผมก็ไม่รอช้าที่จะไปหามาอ่าน โดยครั้งแรกก็หยิบยืมจากห้องสมุดของมหาวิทยาลัยมาอ่านก่อน และตอนนี้ก็สั่งซื้อจากร้านหนังสือออนไลน์ ได้เป็นเจ้าของเรียบร้อยแล้วล่ะครับ
  • หนังสือชุดนี้ เขียนขึ้นตั้งแต่ปี ๒๕๒๖ อ่านแล้วจะสัมผัสได้ถึงความร้อนแรงและตรงไปตรงมาของผู้เขียนในการที่จะหาวิธีให้สังคมเป็นสุขด้วยพุทธธรรม...
  • ในความคิดของผมยกให้เป็นผลงานชิ้นเอกที่คนทุกคนควรอ่านให้ได้ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท