10 ปี งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น “คุณค่า...พลัง...และความสุข”


งานนี้จัดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น ณ คอนเวนชั่นฮอลล์ 9 เมืองทองธานี

ผู้เข้าร่วมประมาณ 2,000 คน ร้อยละ 90 เป็นนักวิจัยชาวบ้าน อีกร้อยละ 10 เป็นทีมงาน!!!

จากประสบการณ์ที่ไปร่วมงานใหญ่ๆ อย่างนี้ บอกได้ว่างานนี้เป็นงานแรกที่มีชาวบ้านมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก ที่ไม่ใช่มาร่วมงานแบบชวนๆ กันมา ดีกว่าอยู่เฉยๆ แต่เป็นชาวบ้านนักวิจัยที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมากับ สกว. ฝ่ายวิจัยท้องถิ่น มาร่วม 10 ปี

และเมื่อเป็นงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น การเปิดงานจึงเริ่มด้วย การแสดงศิลปวัฒนธรรมอัตลักษณ์ท้องถิ่น 4 ภาค  

    

กลองยาว จากภาคกลาง                                                                         โปงลาง จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

    

กลองสะบัดชัย จากภาคเหนือ                                                              ลิเกฮูลู จากภาคใต้

จากนั้นก็มีพิธีการนิดหน่อย คือ การกล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดงาน โดย ศ.ดร. ปิยะวัติ บุญ-หลง ผู้อำนวยการ สกว. และผู้ริเริ่มให้มีการทำวิจัยเพื่อท้องถิ่น โดยท้องถิ่น (นักวิจัยท้องถิ่น ให้ชื่อว่า บิดาแห่งการวิจัยท้องถิ่น) 

สรุปใจความสำคัญของการกล่าวรายงานได้ว่า จากการดำเนินงานตั้งแต่ปี 2541 - 2551 มีจำนวนโครงการประมาณ 1,900 โครงการ สร้างนักวิจัยท้องถิ่นไปแล้วประมาณ 10,000 คน  กระจายอยู่ใน 229 อำเภอ จาก 58 จังหวัด อย่างไรก็ตาม ประโยชน์ที่แท้จริงของการทำวิจัยท้องถิ่น ไม่ใช่การได้ผลการวิจัยแต่อยู่ที่การได้ประโยชน์จากกระบวนการวิจัย ทำให้ท้องถิ่นมีความสามารถมากขึ้น มั่นใจมากขึ้น มีวิธีหาข้อมูล หาเครือข่ายทำงาน มีดุลยพินิจที่สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้

คำถามในระยะต่อไปของงานวิจัยท้องถิ่น คือ จากฐานการทำงานที่ผ่านมา 10 ปี มีความหมายอย่างไรต่อสังคมไทย ต่อวงการวิชาการ ต่อนักพัฒนา ฯลฯ

 

   

ศ. ดร. ปิยะวัติ  บุญ-หลง                                                                     ศ. นพ. จรัส  สุวรรณเวลา

โดยประธานในงานนี้ คือ ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ จรัส  สุวรรณเวลา ที่มีความผูกพันกับ สกว. มายาวนาน เพราะท่านคือ อดีตประธานคณะกรรมการนโยบาย สกว. ในสมัยที่มีการริเริ่ม สกว. ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น  ได้กล่าวปาฐกถา มีใจความสำคัญ เช่น 

...การวิจัยส่วนใหญ่ร้อยละ 90 ทำวิจัยเพื่อตอบโจทย์ของกลุ่มคนร้อยละ 10 ในขณะที่ มีการทำวิจัยเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น ที่ทำโจทย์เกี่ยวกับกลุ่มคนร้อยละ 90 ของโลก

     

...หากมองเรื่องประเภทของความรู้ อาจแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ ความรู้ที่พิสูจน์แล้ว (Explicit Knowledge) ความรู้จากองค์รวมสะสม (Tacit Knowledge) และความรู้จากการกระทำ (Experience Expertise) ซึ่งหากไม่มีการจัดการส่วน TK ที่ดี อาจทำให้เกิดช่องว่างทางความรู้...  

…..ในด้านการจัดการความรู้ การประชุมวิชาการ จะเปลี่ยนเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็น Success Story Sharing เป็นการเอา lesson-learned และ Best Practice มาแลกเปลี่ยนกัน เกิดเป็นพลังของการพึ่งตนเอง สร้างความรู้ที่ขยายผลได้...

...ในแวดวงวิจัยมักมองงานวิจัยท้องถิ่น ว่าไม่ใช่งานวิจัย เพราะมักไม่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ  ทั้งที่งานวิจัยท้องถิ่น สร้างผลงานที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ไม่ต้องรอตีพิมพ์ !!! 

 จึงไม่น่าแปลกใจที่งานครั้งนี้ ใช้ Theme ว่า “คุณค่า...พลัง...ความสุข” โดยมีคำขยายจากวีดิทัศน์ ว่า

สิ่งดีๆ ที่ได้จากการทำงานวิจัยท้องถิ่น คือ

คุณค่า    เพราะโจทย์วิจัยเป็นของชุมชนเอง

พลัง        ที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล

                แรงหนุนจากพี่เลี้ยง

                จากการยกระดับต่อยอด

ความสุข ที่ได้ให้โอกาสและสร้างความเชื่อมั่นให้ชุมชน   

 

ใครสนใจวีดิทัศน์ ติดต่อซื้อได้ที่ สกว. ฝ่ายวิจัยท้องถิ่น www.vijai.org  

 

คำสำคัญ (Tags): #สกว.ภาค
หมายเลขบันทึก: 250300เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2009 13:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เห็นด้วยค่ะว่า งานวิจัยชาวบ้านมักไม่ได้รับการตีพิมพ์ แต่พอจะบอกได้ว่า..เพราะงานมันมีคุณค่าเพราะโจทย์เป็นของชุมชน และดิฉันพึ่งไปพิสูจน์มา (ประเมินการจัดทำแผนลดทุกข์สร้างสุขภาคกลาง ว่า..ความสุขที่ได้คือชาวบ้านที่เป็นนักวิจัยที่เขามีความเชื่อมั่นในตนเอง ชุมชนที่เขาอยู่เพราะ..มันมีพลังของข้อมูลที่เขาเองค้นพบ และพัฒนา/แก้ไขจนยกระดับต่อยอดเป็นองค์รวมนี่แหละ นักวิจัยตัวจริง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท