ตอนที่ 1 ความสำคัญและประเด็นสุขภาพที่เกี่ยวข้อง


นำเอาโครงการ "ต้นแบบสถานที่ทำงานน่าอยู่ น่าทำงาน(Healthy Workplace Model)" เมื่อปีพ.ศ.2548 มาปรับปรุงและพัฒนาให้เหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

น้องอร (คุณจรวยพร  รอบคอบ  เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป  สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ฯ ม.วลัยลักษณ์ ) หัวหน้าโครงการ"สถานที่ทำงานน่าอยู่  น่าทำงาน(เข้าสู่ปีที่ 2) ปี พ.ศ.2549" และพี่ต้อย (คุณอารี  จันทร์คงหอม  เจ้าหน้าที่บริหารฯ ส่วนพัสดุ รองหัวหน้าโครงการฯ )  ได้ร่วมกันจัดทำโครงการฯ เสนอต่อ  แผนงานการพัฒนาสถาบันการศึกษาสาธารณสุขให้เป็นองค์กรการสร้างเสริมสุขภาพ(สอส.) เพื่อพิจารณาอนุมัิติ   โดยได้นำเอาโครงการ "ต้นแบบสถานที่ทำงานน่าอยู่   น่าทำงาน(Healthy Workplace Model)" เมื่อปีพ.ศ.2548 มาปรับปรุงและพัฒนาให้เหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น   และขยายหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการฯ จากเดิม 6 หน่วยงาน  เป็น 15 หน่วยงาน

ในปีที่ 2  ได้กำหนดความสำคัญและประเด็นสุขภาพที่เกี่ยวข้องไว้ในโครงการฯ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

 มวล.เป็นสถาบันการศึกษาที่มีฐานะเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐที่มีรูปแบบเป็น "มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล" มีการบริหารงานของตนเองโดยอิสระจากระบบราชการ   เป็น ม.สมบูรณ์แบบ (Comprehensive  University)  เป็นม.เพื่อชุมชน  มีภารกิจหลัก 4 ประการ เช่นเดียวกันกับ ม.อื่นๆ โดยทั่วไป  มีนโยบาย "รวมบริการ  ประสานภารกิจ"   ดังนั้นสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งใน มวล.จะต้องมีการปฏิบัติงาน / ประสานงาน/ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ เพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

  ในปี 2548 สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ฯ ได้รับการสนับสนุนจาก สอส.ให้ดำเนินโครงการ "ต้นแบบสถานที่ทำงานน่าอยู่   น่าทำงาน(Healthy Workplace Model)" โดยมีหน่วยงานเข้าร่วม 6 หน่วยงาน  และได้รับรางวัล /ใบรับรองจาก สอส. ตามที่ผมได้แจ้วแล้วก่อนหน้านี้   ผลจากการดำเนินการของหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการฯ ปรากฏว่า พนักงานมีความพึงพอใจในการทำกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นการส่งเสริมสุขภาพ  ทั้งทางด้านกายภาพ (สถานที่ทำงาน) และด้านจิตใจ  ล้วนส่งผลให้เกิดผลงานที่มีประสิทธิภาพ  และคนทำงานมีความสุขมากขึ้น  เป็นแบอย่างที่ดี  ที่ทำให้พนักงานสังกัดหน่วยงานอืื่่นเกิดความสนใจที่จะริเริ่มเข้าร่วมโครงการฯ  ดังนั้นสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ฯ จึงจัดทำโครงการฯ ในปีที่ 2 เพื่อส่งเสริมและขยายผลโครงการสู่หน่วยงานอื่นๆที่สนใจต่อไป  โดยกิจกรรมในปีที่ 2 นี้  จะเน้นการให้ความสำคัญกับกิจกรรม 5 ส. และกิจกรรมมีชีวิตชีวา  ที่มีรูปแบบของการประเมินและติดตามผลอย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนและต่อเนื่อง  เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของพนักงานอันจะเป็นพื้นฐานที่จะทำให้มหาวิทยาลัยเป็นองค์กรการสร้างเสริมสุขภาพ และก้าวสู่การเป็นองค์กรคุณภาพต่อไป

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 24984เขียนเมื่อ 22 เมษายน 2006 13:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มีนาคม 2012 22:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท