การพัฒนาบุคลากรที่บรรจุเป็นข้าราชการใหม่( 8 )


เราได้พาน้องๆนักส่งเสริมการเกษตรมือใหม่ลงไปปฏิบัติงานร่วมกันในพื้นที่ณศาลากลางบ้านหนองโสนหมู่ที่3ตำบลเขาคีริสอำเภอพรานกระต่ายจังหวัดกำแพงเพชร

การพัฒนาบุคลากรที่บรรจุเป็นข้าราชการใหม่ในตอนที่ 8 นี้จะกล่าวถึงสวมบทบาทจริงในการเป็นคุณอำนวย คุณลิขิตและคุณประสาน พร้อมสร้างและใช้เครื่องมือในการทำงานเป็น

 

วันนี้วันที่ 20 มีนาคม 2552 ผมได้มีโอกาสไปร่วมเวทีสนทนากลุ่ม กับทีมงานสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร พร้อมนี้เราได้พาน้องๆนักส่งเสริมการเกษตรมือใหม่ ลงไปปฏิบัติงานร่วมกันในพื้นที่ ณ.ศาลากลางบ้านหนองโสน หมู่ที่3 ตำบลเขาคีริส อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร

 

          ความจริงแล้วเรามีเป้าหมายของการจัดเวทีสนทนากลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไข่ ตำบลเขาคีริส อำเภอพรานกระต่าย จำนวน 20 คนเศษ เพื่อทบทวนข้อมูลสภาพการผลิตกล้วยไข่ ปัญหาอุปสรรค และแนวทางพัฒนาการผลิตกล้วยไข่ ซึ่งเป็นความต่อเนื่องของการเก็บข้อมูลการวิจัยแนวทางการพัฒนาการผลิตกล้วยไข่ของจังหวัดกำแพงเพชรนั่นเองครับ

 

 

           ในขณะเดียวกันเราต้องการที่จะสอนงานน้องๆที่เป็นนักส่งเสริมการเกษตรมือใหม่  ได้เรียนรู้เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของนักส่งเสริมการเกษตรมืออาชีพในปัจจุบัน พร้อมกับการฝึกทักษะการนำการจัดการความรู้(KM )ไปเป็นเครื่องมือในการพัฒนางานส่งเสริมการเกษตรนั่นเอง

 

 

            จากการที่ได้พาน้องๆนักส่งเสริมการเกษตรมือใหม่ ได้ลงไปปฏิบัติงานในพื้นที่และชุมชนต่างๆ มาหลายครั้งด้วยกัน วันนี้ผมดีใจมากที่เห็นน้องๆมีความตั้งใจ โดยไม่ต้องบอกน้องอีกแล้ว น้องๆทุกคนต่างอาสาทำหน้าที่บทบาทคุณอำนวย บทบาทคุณลิขิต และบทบาทของคุณสังเกต เป็นต้น น้องๆทำได้ดี และมีความคาดหวังว่าในอนาคตอันใกล้น้องๆจะต้องยกระดับไปเป็นนักส่งเสริมมืออาชีพได้ไม่ยาก

 

            ลองมาดูบรรยากาศการสอนงานน้องๆในวันนี้ โดยไม่ต้องบอกว่าสอนงาน เพียงแต่มอบงานแล้วให้น้องๆได้ตัดสินใจ นี่คือความสำคัญที่จะต้องฝึกให้น้องๆกล้าตัดสินใจ กล้าเป็นผู้นำ ซึ่งมีกระบวนการดังนี้

 

                                                            การจัดสถานที่และเก้าอี้ที่ชุมชนจัดไว้ก่อนหน้านี้

 

 

 

 

                     การจัดเก้าอี้นั่งใหม่ให้สะดวกต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

 

    

 

          ขั้นที่1. สังเกตสถานที่การจัดเวทีสนทนากลุ่ม การจัดเก้าอี้นั่ง โดยให้คำนึงถึงบรรยากาศแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ไม่ให้มีสิ่งกีดขวาง เมื่อเราไปถึง ทางชุมชนได้จัดแบบการประชุมไว้ เราก็ต้องจัดใหม่ให้เป็นรูปตัวยูหรือรูปครึ่งวงกลม

 

          ขั้นที่2.  ก่อนที่จะเข้าสู่เวทีการสนทนา ทางคุณเสนาะ ยิ้มสบาย (นวส.ชำนาญการ) ผู้รับผิดชอบงานส่งเสริมการเกษตรประจำตำบลเขาคีริส ได้แจ้งถึงวัตถุประสงค์ พร้อมแนะนำตัวเจ้าหน้าที่ จากนั้นได้เชิญคุณดรรชนี เมธเศรษฐ( นวส.ชำนาญการ) ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมงานจากจังหวัด ได้นำเสนอข้อมูล สภาพการผลิตกล้วยไข่ของตำบลเขาคีริส ที่ได้ประมวลจากแบบสัมภาษณ์  เพื่อให้พี่น้องเกษตรกรได้ทำการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และเปิดโอกาสให้มีการเพิ่มเติมข้อมูลให้สมบูรณ์

 

 

         ขั้นที่ 3. จากนั้นคุณสิงห์ป่าสัก ได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนการผลิตกล้วยไข่ต่อไร่ ซึ่งมีความแตกต่างของข้อมูล โดยเฉพาะกล้วยไข่ที่ปลูกใหม่ กับกล้วยไข่ปีที่สอง(กล้วยตอ2 ) จากนั้นเปิดโอกาสให้พี่น้องผู้ปลูกกล้วยไข่ได้ทำการทบทวนข้อมูลใหม่ โดยมีการแบ่งกลุ่มย่อย ออกเป็น สามกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่หนึ่งทบทวนข้อมูลต้นทุนการผลิตกล้วยที่ปลูกใหม่ กลุ่มที่สองทบทวนข้อมูลต้นทุนการผลิตกล้วยตอ กลุ่มที่สามระดมความคิดด้านเทคโนโลยีการผลิตกล้วยไข่

 

                      กลุ่มย่อยน้องใหม่สวมบทบาทคุณอำนวยและคุณลิขิต

               การสร้างและใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูล(เชิงคุณภาพ)

 

         ขั้นที่ 4.  จากนั้นก็ทำการแบ่งกลุ่มย่อยออกเป็นสามกลุ่มตามนัยข้อสาม ซึ่งจะให้เวลาในการระดมความคิด ประมาณ 30 นาที จากนั้น ก็จะมีการสรุปผลของแต่ละกลุ่มย่อย ให้เวทีใหญ่ได้ทราบพร้อมได้เพิ่มเติมข้อมูลให้สมบูรณ์    ข้อสังเกตที่น่าภูมิใจก็คือความกล้าแสดงออกของภาวะผู้นำของน้องๆนักส่งเสริมการเกษตรมือใหม่ที่ตัดสินใจสวมบทบาทการเป็นคุณอำนวย  คุณลิขิต และคุณประสาน โดยรับผิดชอบกลุ่มที่สามด้านเทคโนโลยีการปลูกกล้วยไข่เริ่มต้นตั้งแต่การคัดเลือกพื้นที่ปลูก การเตรียมพื้นที่ปลูก การเตรียมพันธุ์ การปลูก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว รวมถึงการตลาดกล้วยไข่ โดยใช้เครื่องมือปฏิทินการปลูกพืช

 

 

  

          ขั้นที่ 5. จากนั้นผมเขียวมรกต ได้ทำหน้าที่การนำเสนอข้อมูลของปัญหาอุปสรรคการปลูกกล้วยไข่ และแนวทางพัฒนาการผลิตกล้วยไข่ โดยใช้ฐานข้อมูลที่ได้จากการประมวลจากแบบสัมภาษณ์ทั้งนี้ได้เปิดโอกาสให้พี่น้องเกษตรกรได้ทบทวนพร้อมได้เพิ่มเติมข้อมูลและเสนอแนะความเป็นไปได้ของแนวทางพัฒนาการผลิตกล้วยไข่

 

           ขั้นที่ 6. จากนั้นคุณคำปริว จันทร์ประทักษ์ (เกษตรอำเภอพรานกระต่าย ) ได้เข้ามาร่วมในเวทีสนทนากลุ่ม พร้อมที่ให้การสนับสนุนตามแนวทางพัฒนาการผลิตกล้วยไข่ ที่พั่น้องเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไข่ได้ร่วมกันคิด โดยจะเริ่มต้นตั้งแต่การรวมกลุ่มผู้ผลิตกล้วยไข่ก่อน พร้อมได้ให้กำลังใจแก่พี่น้องเกษตรกร

  

         ขั้นที่ 7. จากนั้นคุณเสนาะ ยิ้มสยาย (นวส.ชำนาญการ) ผู้รับผิดชอบงานส่งเสริมการเกษตรประจำตำบลเขาคีริส ได้นัดหมายแกนนำกลุ่มย่อยได้นำแนวทางการพัฒนาการผลิตกล้วยไข่ ที่ได้ระดมความคิดกันในวันนี้ไปหารือเพื่อนบ้าน แล้วได้กำหนดการทำแผนปฏิบัติงานกลุ่มต่อไป จากนั้นทีมงานร่วมรับประทานอาหารกลางวันกับพี่น้องเกษตรกรแล้วก็แยกย้ายกัน

 

 

        ขั้นที่ 8.  การประเมินผลหลังเสร็จสิ้นการลงไปปฏิบัติการด้วยเทคนิค AAR.  ซึ่งเรามีการทบทวนผลของการปฏิบัติงานที่ห้องประชุมสำนักงานเกษตรอำเภอพรานกระต่าย ในขณะเดียวกันเราได้ให้คำปรึกษาแก่นักส่งเสริมการเกษตรมือใหม่ ด้านการปรับแนวคิดการทำงานส่งเสริมการเกษตร ณ.ปัจจุบัน

 

                 ประเมินหลังเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานด้วยเทคนิคAAR.

 

                สรุปบทเรียนในวันนี้ ผมดีใจมากครั้งหนึ่งที่เห็นน้องๆนักส่งเสริมการเกษตรมือใหม่ ได้มีความมุ่งมั่น ในการลงปฏิบัติงานในพื้นที่และชุมชน รวมทั้งมีการสร้างเครื่องมือเป็น พร้อมกล้าแสดงออกฝึกปฏิบัติจริงในบทบาทคุณอำนวย คุณลิขิต และคุณประสาน เป็นต้น และคาดหวังว่าน้องๆจะเป็นหนึ่งในทีมงานนักส่งเสริมการเกษตรมืออาชีพของจังหวัดกำแพงเพชรในอนาคตอันใกล้นี้ได้อย่างแน่นอนครับ...

           เขียวมรกต

            20 มีค.52

หมายเลขบันทึก: 249795เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2009 18:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีครับ ขอความคิดเห็นหน่อยครับ

ถ้าเราจะพัฒนาบุคลากรที่ทำงานแบบราชการ เราจะมีแรงจูงใจอะไรบ้างนอกจากเงิน เพราะเมื่อเปรียบเทียบกับเอกชน นั้น เค้าจะชัดเจนในเรื่องผลตอบแทนที่เป็นเงิน

ขอบคุณครับ

  • สวัสดีครับ
  • รวดเร็วปานสายฟ้านะครับ
  • ขอร่วมชื่นชมด้วยคนนะครับ
  • คำถามของท่านชัยวัฒน์ตอบได้หลายประเด็น
  • แต่เงินคงไม่ใช่ปัจจัยสำคัญสำหรับ ขรก.
  • ความภาคภูมิใจ  ความต้องการความสำเร็จ  และพัฒนาวิธี-กระบวนการของงาน ก็เป็นเหตุจูงใจให้อยากพัฒนาก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง
  • ลปรร. ได้นิดหน่อยครับ

 

  • ขอบคุณท่านชัยวัฒน์
  • ที่แวะมาทักทายและลปรร.กัน
  • ผมว่าณ.ปัจจุบันต้องปรับวิธีคิดที่ตนเองก่อน
  • ต้องให้ตระหนักถึงบทบาทภารกิจเป็นสำคัญ
  • แต่ที่สำคัญอย่าหลงประเด็นหรือหลงทางที่มุ่งแต่เศรษฐกิจ(เงิน)และตำแหน่ง ที่เป็นหัวโขน
  • ผมว่าอยู่ที่การพัฒนาจิตใจภายในเป็นสำคัญ
  • หากยึดหลักตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงก็จะสามารถพัฒนาไปสู่ความยั่งยืนได้
  • ขอบคุณครับ
  • ขอบคุณอ.สิงห์ป่าสัก
  • ที่แวะมาทักทายกันเสมอมา
  • ขอให้มีความสุขกับงานที่ทำนะครับ

ขอบคุณครับท่านเขียวมรกต

เงินไม่ได้อยู่กับเราตลอด แต่วิชาติดตัวเราเสมอ ยิ่งมีวิชามากไปอยู่ที่ไหนก็ได้ มีเงินบางครั้งก็อยู่ไม่ได้

สำหรับตัวผมเองเงินเดือนก็ไม่ได้มากมาย แต่มองว่าเราควรหาความรู้เพิ่มเติมให้มากๆๆๆๆ มากกว่าเปลี่ยนงานไปเรื่อยๆเพื่อเงินเดือนที่สูงขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท