"เจตนา" หางเสือนาวาความคิด เคล็ดไม่ลับสู่ความสำเร็จ


ในบันทึกก่อนหน้านี้ ผมเขียนบันทึกในชื่อ "เริ่มที่ "คิด" หากมันดี ผลจากมันก็จะดี "    วันนี้ก็มาคิดต่อจากที่คิดเขียนและบันทึกลงบล็อกไปแล้ว และพบว่า มีอีกสิ่งหนึ่งที่เข้ามามีอิทธิพลต่อ "การคิด" นั่นคือ เจตนา ที่เปรียบเสมือนหางเสือของนาวาความคิด ซึ่งความคิดต่างๆล้วนถูกหางเสือแห่งเจตนาควบคุม หากเจตนาที่กำกับควบคุมความคิดนั้นดี ย่อมนำพาให้คิดดี คิดในทางที่เป็นบวก แต่หากเจตนาที่กำกับควบคุมนั้นไม่ดี ลำเอียง หรือเริ่มด้วยอคติ ย่อมชักนำความคิดให้โน้มเอียงไปในทิศทางที่หางเสื่อนั้นมุ่งสู่ ซึ่งมักนำไปสู่การมีความคิดที่เป็นลบ

มนุษย์เราไม่ว่าจะยากดีมีจน เรียนมากน้อยเพียงใด ย่อมอยู่ใต้อิทธิพลของเจตนา เฉกเช่นหางเสือที่คอยกำกับ ควบคุมการคิดของเราทั้งสิ้น

การทำให้ "เจตนา" หรือ "หางเสือ" ของนาวาความคิดมุ่งสู่ทิศทางที่ดี ปราศจากอคติ ปราศจากความลำเอียง ปราศจากเจตนาที่ไม่ดี และมุ่งมั่นที่จะมุ่งสู่ความดี ความเจริญรุ่งเรือง ย่อมเป็นก้าวแรกสุดที่สำคัญยิ่ง

จึงไม่แปลกที่ท่านนบีมุหัมมัด (ขอความสันติจงมีแด่ท่าน) ได้กล่าวไว้ในหะดิษที่เป็นที่รู้จักต่อไปนี้

จากอมีรุลมุมีนีน อบู ฮัฟศิน อุมัร บิน อัลค็อฏฏ็อบ รอฎิยัลลอฮุอันฮู กล่าวว่า

                    ฉันได้ยินท่านรอซูลุลลอฮฺ  กล่าวว่า แท้จริง การกระทำทั้งหลายนั้นขึ้นอยู่กับเจตนา และแท้จริง สำหรับทุกคน เขาจะได้ตามที่เขาได้ตั้งเจตนาไว้ ดังนั้นผู้ใดที่การอพยพของเขาเพื่ออัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์    การอพยพของเขาจึงไปยังอัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์ และผู้ใดที่การอพยพของเขาเพื่อโลกดุนยาหรือเพื่อหญิงสาวที่เขาปรารถนาจะแต่งงานกับนาง ดังนั้น การอพยพของเขาจึงไปสู่สิ่งที่เขา (ได้ตั้งเจตนาเพื่อการ) อพยพนั้น 

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

หะดิษบทนี้ยังสามารถนำมาประยุกต์ปรับใช้กับการทำงานและการบริหารจัดการในชีวิตประจำวันได้ด้วย ขอเพียงบุคลากรของหน่วยงาน "ตั้งเจตนา" ที่จะพัฒนาตน พัฒนางาน และพัฒนาสิ่งต่างๆในทุกบริบทของการทำงานในความรับผิดชอบ แน่นอนครับว่า "เจตนา" ดังกล่าวจะนำพาให้"กระบวนการคิด" ดำเนินสู่วิถีแห่งความเจริญก้าวหน้า สามารถผลิกวิกฤติ และอุปสรรคนานับประการสู่ โอกาส และอนาคตที่งดงาม

เรามาตั้ง "เจตนา" ที่ดีกันเถอะครับ...

 

หมายเลขบันทึก: 249541เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2009 18:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท