การพัฒนาบุคลากรที่บรรจุเป็นข้าราชการใหม่( 7 )


ไปจัดเวทีสนทนากลุ่มเพื่อทบทวนข้อมูลการวิจัยแนวทางพัฒนาการผลิตกล้วยไข่ที่หมู่8 บ้านประดาเจ็ดรังตำบลหนองหลวงอำเภอลานกระบือจังหวัดกำแพงเพชร

การพัฒนาบุคลากรที่บรรจุเป็นข้าราชการใหม่ ตอนที่7 นี้จะขอกล่าวถึงการฝึกทักษะการเป็นคุณอำนวยและคุณลิขิต พร้อมศึกษาสภาพการผลิตกล้วยไข่ ปัญหาการผลิตกล้วยไข่ รวมทั้งค้นหาแนวทางการพัฒนาการผลิตกล้วยไข่ควบคู่กันไปด้วย

 

เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2552 ผมมีโอกาสไปร่วมกับทีมงานของสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ได้ลงไปจัดเวทีสนทนากลุ่มเพื่อทบทวนข้อมูลการวิจัยแนวทางพัฒนาการผลิตกล้วยไข่จังหวัดกำแพงเพชร ที่หมู่ 8 บ้านประดาเจ็ดรัง ตำบลหนองหลวง อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร โดยเราจัดเวทีที่บริเวณบ้านของคุณลุงยุ่น แซ่เล้า เป็นเกษตรกรระดับแกนนำกลุ่มผู้ปลูกกล้วยไข่ในพื้นที่แห่งนี้ ในการลงพื้นที่ครั้งนี้ เราได้พาน้องๆนักส่งเสริมการเกษตรมือใหม่ ได้ฝึกทักษะการเป็นคุณอำนวยและคุณลิขิต พร้อมศึกษาสภาพการผลิตกล้วยไข่  ปัญหาของการผลิตกล้วยไข่  รวมทั้งค้นหาแนวทางการพัฒนาการผลิตกล้วยไข่ ควบคู่กันไปด้วย

 

                   คุณลุงยุ่น แซ่เล้ากำลังอธิบายหน่วยของการขายกล้วย

 

            ในขณะที่เราไปถึงบริเวณบ้านคุณลุงยุ่น  แซ่เล้า  ได้พบกับคุณลุงยุ่น และคุณมานพ จันตะโมกข์ ( นวส.ชำนาญการ )ซึ่งเป็น นักส่งเสริมการเกษตรผู้รับผิดชอบตำบลหนองหลวงพร้อมกับสมาชิกกลุ่มผู้ปลูกกล้วยไข่ได้ให้การต้อนรับทีมงาน  ขณะเดียวกันได้สังเกตเห็น แปลงปลูกกล้วยไข่อยู่บริเวณบ้าน คุณลุงยุ่น มีคนงานกำลังตัดเครือกล้วยไข่ พร้อมขนผลผลิตกล้วยไข่มากองเรียงกันไว้ เพื่อรอพ่อค้ามารับซื้อกล้วยไข่ ซึ่งได้มีการประสานการรับซื้อและตกลงราคาซื้อขายกันไว้ล่วงหน้าแล้ว จากนั้นก็ได้พาน้องๆนักส่งเสริมการเกษตรมือใหม่ ไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคุณลุงยุ่น เกี่ยวกับการรับซื้อกล้วยไข่ที่เรียกหน่วยขายว่ากล้วยตั้ง กล้วยห้า  กล้วยสี่ และกล้วยสาม โดยสร้างความเข้าใจให้กับนักส่งเสริมการเกษตรมือใหม่เป็นอย่างดี พร้อมกับเป็นการสร้างความคุ้นเคยกับคุณลุงยุ่นและสมาชิกกลุ่มผู้ปลูกกล้วยไข่ ก่อนที่จะเริ่มกระบวนการสนทนากลุ่มต่อไป

 

ช่วงของการเริ่มต้นสนทนากลุ่ม  เราได้ดำเนินการตามที่ได้ออกแบบไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว ซึ่งได้ดำเนินการดังนี้

 

        ขั้นที่ 1. โดยขั้นต้นก็ได้สร้างความคุ้นเคยกันก่อน พร้อมชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดเวทีสนทนากลุ่ม

 

       ขั้นที่ 2. การนำเสนอข้อมูลที่ได้จากการใช้แบบสัมภาษณ์ แล้วประมวลสรุปได้แก่สภาพการผลิตกล้วยไข่ของบ้านประดาเจ็ดรัง ตำบลหนองหลวง อำเภอลานกระบือ

 

        ขั้นที่ 3. การแบ่งกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไข่ ออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่1. ระดมความคิดและทบทวนต้นทุนการผลิตต่อไร่ของกล้วยปีที่หนึ่ง กลุ่มที่สอง ระดมความคิดและทบทวนต้นทุนการผลิตต่อไร่ของกล้วยปีที่สอง(กล้วยตอสอง )สำหรับ กลุ่มที่ 3. ระดมความคิดและทบทวนเทคโนโลยีการผลิตกล้วยไข่ ตั้งแต่การเตรียมดิน การปลูก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว และการตลาด  โดยคุณดรรชนี เมธเศรษฐ (นวส.ชำนาญการ ) ทำหน้าที่คุณอำนวยประจำกลุ่ม

 

 

          ขั้นที่ 5. การนำเสนอข้อมูลจากการระดมความคิดและการทบทวนข้อมูล จาก 3 กลุ่มย่อย จากนั้น คุณสิงห์ป่าสัก ได้ให้ข้อสังเกต ความแตกต่างของข้อมูลการลงทุนต่อไร่ระหว่างกล้วยปีที่1. และกล้วยปีที่2.

           ขั้นที่ 6. การทบทวนปัญหาและอุปสรรคที่พบของการผลิตกล้วยไข่ พร้อมทบทวนแนวทางพัฒนากล้วยไข่ของหมู่ที่ 8 บ้านประดาเจ็ดรัง โดยเปิดโอกาสให้สมาชิกกลุ่มได้เพิ่มเติมข้อมูล โดยเขียวมรกตทำหน้าที่คุณอำนวย

  

       ขั้นที่ 7. การสรุปขั้นสุดท้ายนี้ คุณมานพ จันตะโมกข์ (นวส.ชำนาญการ )ซึ่งเป็นนักส่งเสริมผู้รับผิดชอบพื้นที่ ได้สร้างความเข้าใจกับกับสมาชิกกลุ่มผู้ปลูกกล้วยไข่ เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติงานด้านการจัดการเรียนรู้ร่วมกันในโอกาสต่อไป  และช่วงนี้เราได้รับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน จากนั้นทางทีมงานก็ได้ขอตัวพร้อมแยกย้ายกันกลับ

 

      ขั้นที่ 8. จากนั้นทางทีมงานก็ได้ร่วมกันประเมินผลขณะเสร็จสิ้นการปฏิบัติงาน ด้วยเทคนิค AAR. พร้อมได้สรุปบทเรียนร่วมกันและฝึกทักษะการสอนงานด้านการเป็นนักส่งเสริมการเกษตรมืออาชีพ ซึ่งนักส่งเสริมการเกษตรจะต้องมีสมรรถนะ( Competency)ดังนี้

 

          ( 1 ) จัดการความรู้ (KM)เป็น

          ( 2 ) ทำการวิจัยและพัฒนาเป็น

          ( 3 ) นักประสานสิบทิศ

         ( 4 ) สืบค้นข้อมูลทาง IT เป็น

         ( 5 ) พัฒนาตนเองอยู่เสมอ (ใฝ่เรียนรู้ )

         ( 6 ) ทำงานแบบเชื่อมโยง จัดระบบการทำงานของตนเองได้

         ( 7 ) กำหนดเป้าหมายการทำงานเป็น

 

 

            ข้อสรุป จากการสร้างความเข้าใจกับน้องๆนักส่งเสริมการเกษตรมือใหม่ เพื่อพัฒนาไปสู่นักส่งเสริมการเกษตรมืออาชีพในอนาคต คงจะไม่ยากเกินไปนัก น้องๆต่างก็มีความมุ่งมั่นทำงานส่งเสริมการเกษตรในยุคของการใช้ความรู้ในการทำงานนั่นเองครับ.....

 

หมายเลขบันทึก: 249359เขียนเมื่อ 18 มีนาคม 2009 18:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • สวัสดีครับ
  • จัดกิจกรรม km ได้ดีครับ สามารถมาใช้กับการทำงานได้จะเกิดความสนุกทั้งคนทำและคนฝึก
  • ขอบคุณ
  • เสือปืนไวตัวจริง
  • ผมกำลังเรียบเรียงอยู่เลยครับ
  • ยังไม่ได้เขียน
  • ขอบคุณครับ
  • ขอบคุณทานศรีกมล
  • ที่แวะมาให้กำลังแก่กันเสมอมา
  • ขอให้ท่านมีความสุขกับการทำงานนะครับ
  • ขอบคุณอ.สิงหืป่าสัก
  • ที่แวะมาเยียมครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท