(2) การสร้างความเป็นเพื่อน กับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตร


การสร้างความเป็นเพื่อนกับพื้นที่มีหลากหลายวิธีการ แต่ส่วนใหญ่จะปฏฺบัติร่วมกันในลักษณะของ "เจ้านายกับลูกน้อง" หรือแบ่งแยกระดับของหน่วยงาน

   ความโชคดีของ "คนส่วนกลาง หรือ คนที่อยู่ในกรมฯ" ที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ สามารถออกพื้นที่ ไปร่วมงาน และไปดูงานในพื้นที่ต่าง ๆ ไปทั่วประเทศ (แต่อยู่ภายใต้เงื่อนไข...ถ้ามีงบประมาณสนับสนุน/ ได้รับอนุญาตจากต้นสังกัด) สิ่งดังกล่าวเป็นผลของการสร้างความสัพันธ์และเรียนรู้สถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นได้ค่อนข้างชัดเจน

   ความเป็นจริงของการทำงานส่งเสริมการเกษตรก็คือ ทุกครั้งที่มีการจัดงาน/ จัดเวทีเพื่อประชุม สัมมนา ฝึกอบรม ไปศึกษาดูงาน และอื่น ๆ เจ้าหน้าที่ก็จะได้โอกาสแลกเปลี่ยนสิ่งที่ตนเองปฏิบัติทั้งในเวทีและนอกเวที โดยเฉพาะแลกเปลี่ยนปัญหาต่าง ๆ ที่แต่ละคนพบเห็นในพื้นที่ของตนเอง บางครั้งเพื่อนก็จะมีแนวทางและวิธีการแก้ไขปัญหาให้ด้วย แต่สิ่งหนึ่งที่ได้อย่างชัดเจนก็คือ การปรับทุกข์ 

   การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จึงเป็นหนทางแห่งการปรับทุกข์ให้กับเจ้าหน้าที่ในการทำงานส่งเสริมการเกษตรผ่านการจัดเวทีต่าง ๆ อาทิเช่น ระดับจังหวัด (เวที DW) ระดับเขต (เวที RW) และอื่น ๆ ก็คงจะเหลือเพียงคนส่วนกลางเท่านั้นเองที่ยังขาดเวทีเพื่อปรับทุกข์ในการทำงานร่วมกัน เพราะส่วนใหญ่จะมีแต่เวทีของการใช้ตนเองทำงานเป็นหลัก จนทำให้เกิดช่องว่างของ "ขาดการสื่อสารที่เข้าใจต่อกัน" การเชื่อมโยงข้อมูลกับปัญหา การเชื่อมโยงตนเองกับเพื่อน และการสร้างบรรยากาศที่สนุกในการทำงานร่วมกันจึงเริ่มห่างหายไป

   การลงไปพื้นที่เพื่อร่วมทำกิจกรรมกับจังหวัดและอำเภอนอกจากทำให้ตนเองเรียนรู้งานของเจ้าหน้าที่แล้วนั้น ยังเป็นการสร้างบรรยากาศในการทำงานที่เห็นอกเห็นใจกันได้ โยเฉพาะการปฏิบัติงานตามระบบส่งเสริมการเกษตร ที่ได้ปรับโครงสร้างการทำงานในรูปแบบของ "ทีมพี่เลี้ยง" ที่ไปดูแล ให้คำปรึกษาแนะนำ และร่วมทำกิจกรรมกับพื้นที่ ถึงแม้จะไปบ้างไม่ไปบ้าง แต่ก็สามารถสร้างแรงกระตุ้นและความตื่นตัวในการปฏิบัติงานให้กับสำนักงานเกษตรอำเภอได้เป็นอย่างดี  โดยเฉพาะการสอบความความสำเร็จของงานที่เจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติ  ข้อติดขัดในการจัดการข้อมูล  และความรู้ที่จำเป็นต้องใช้เพื่อทำงาน  ตลอดจนการอยู่ร่วมกันระหว่างเจ้าห้าที่เกษตรกับเกษตรกรที่ตนเองรับผิดชอบพื้นที่/ ตำบลนั้น ๆ

   ดังนั้น ความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่จึงอยู่ที่สามารถปรึกษาหารือ/ ปรับทุกข์ได้  มีเพื่อน/ พี่คอยดูแล  และมีผู้บังคับบัญชาคอยเอาใจใส่  การจัดการความรู้ ถ้าหยิบใช้ให้เป็นแล้วนั้น ก็จะช่วยลดช่องว่างของงานส่งเสริมการเกษตรของแต่ละระดับชั้นงานได้.

หมายเลขบันทึก: 248775เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2009 14:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท