การเข้าถึงตัวตน ภาพลักษณ์ 2


ลูกเจียบเข้าไปอยู่ในไข่ได้อย่างไร? (ไม่เห็นมีทางเข้าทางออก) ก็แล้วลูกเจี๊ยบจะออกมาจากไข่ได้อย่าง?

ความเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของคุณกวิน

ความเห็นครั้งที่ 1

ควรใช้คำว่าจิตรกร  แทนคำว่า พวกสร้างภาพ (เลี่ยงบาลี) เพราะโลกยังต้องการจิตกร เพื่อความสุนทรียะ นี่เนอะ แต่สุนทรียะ ก็ยังไม่ใช่เป้าหมายของ พุทธะ (การยึดติดในดี ในชั่ว)   ให้ทำความดีแต่ก็ไม่ควรยึดมั่นในความดี เพราะจะกลายเป็น การลูบคลำ ศิลา **สีลัพตปรามาส=ความยึดถือว่าบุคคลจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้ด้วยศีลและวัตร คือทำความดี ตามๆ กันไป อย่างงั้นๆ

ความเห็นครั้งที่ 2

จิตรกร ก็มีอีกหลายสำนักนะครับ  abstract  Impressionism  ฯลฯ

พูดเรื่อง คุณธรรม และศีลธรรม ศ.ดร.ชลธิรา สัตยาวัฒนา กล่าวไว้ประมาณว่า  คุณธรรมนั้นเป็นเรื่องของปัจเจก ส่วนศีลธรรม นั้นเป็นเรื่องของส่วนรวมเช่น

แม่ที่ขโมยนมผงในห้าง นั้น มีคุณธรรม ต่อลูก เพราะไม่ยอมให้ลูกอด
แต่ไร้ศีลธรรม เพราะขโมยของในห้าง

คุณธรรมสำหรับผู้ใดผู้หนึ่ง ก็คือ ความรู้สึกว่า ถูกต้องในความคิดความเชื่อของเขา แต่อาจจะไม่ถูกต้องในทางสังคม

ฉะนั้นแล้วภาพลักษณ์ ที่ผู้อื่นมอง ใครสักคนว่ามีภาพลักษณ์ ของขโมย หรือ คุณแม่มีคุณธรรม ก็ย่อมขึ้นกับผู้ที่มองเข้ามา??

แต่คุณแม่ย่อมรู้ภาพลักษณ์ภายในใจของตนดี ว่ามั้ยครับ อ้าวถ้างั้น ภาพลักษณ์ ที่แท้จริงคืออะไร ล่ะ

ในฐานะที่คุณ ศิลา เป็นนักกฎหมายคงมองถึงประเด็น Classic นี้ได้

ผมว่าถ้าให้ผมเลือกเป็น จิตรกร/นักสร้างภาพ ผมขอเลือกเป็นจิตกรแนว abstract ที่ผลิตภาพบิดๆ เบี้ยว แต่ก็มี ความงาม ความดี ความจริง ที่ต้องใช้สมองในการมอง และตีความ (ดีกว่าจะวาดภาพ สีสวยๆ เข้าใจง่ายๆ แต่ก็งั้นๆ) ว่าไปนั่น

ความเห็นครั้งที่ 3

ลัพพตปรามาส มาจากคำว่า สีล+พ(ร)ต+ปรามาส

ขอตั้งข้อสันนิษฐานทาง นิรุกติศาสตร์ ว่า มาจาก

สีล+พต=สีลพต(า) ต่อมาใส่ไม้หันอากาศเข้าไปเป็น สีลัพต(า) และเพื่อไม่ให้อ่านสับสน จึงใส่ เข้าไปอีกตัวเป็น สีลัพตา เพื่อให้รู้ว่า ตัวหนึ่งเป็นตั้งตัวสะกด และ พ อีกตัวหนึ่งออกเสียง ประวิสรรชนีย์

เทียบกับกรณี พน/วน+สถาน ที่ใส่ไม้หันอากาศเข้าไปเป็น พนัสถาน/วนสถาน(1) หรือเช่นคำว่า มรณ+สติ ใส่ไม้หันอากาศเข้าไปเป็น มรณัสติ สำหรับคำว่า พนัสถาน/วนัสถาน  ยังไม่เห็น มีการแผลงคำเป็น พนัสถาน/วนัสถาน แต่สำหรับคำว่า มรณสติ มีการ แผลงคำเป็น มรณัสติ

การแผลงคำในลักษณะนี้ถ้าเข้าใจไม่ผิดก็น่าจะเรียกว่า อัพภาส [อับพาด] ซึ่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้คำจำกัดความไว้ว่า หมายถึง  คําซํ้า, ในไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต หมายเอา การซ้อน
 หรือซํ้าอักษรลงหน้าศัพท์ เช่น ชวาล (เรือง) เป็น ชัชวาล (รุ่งเรือง),
ใน  ภาษาไทยก็ใช้ เช่น ครื้น ครึก ยิ้ม แย้ม ใช้ อัพภาส เป็น คะครื้น คะครึก  ยะยิ้ม ยะแย้ม. (ป.; ส. อภฺยาส) (2)

สำหรับคำว่า ปรามาส  นั้น พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้คำจำกัดความเอาไว้ ความหมาย (ซึ่งออกเสียงต่างกันเล็กน้อย) ความหมายที่หนึ่ง คำว่า ปรามาส [ปฺรามาด] หมายถึง  ดูถูก  และในความหมายที่ 2 คำว่า ปรามาส [ปะรามาด] หมายถึง การจับต้อง, การลูบคลํา.(3)

สำหรับคำว่า พรต นั้น พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้คำจำกัดความไว้ ว่า พรต [พฺรด] หมายถึง กิจวัตร, การปฏิบัติ; มรรยาท, เขตแห่งความประพฤติ,  ธรรมเนียม, ประเพณี, การสมาทานหรือประพฤติตามลัทธิศาสนา,  การจําศีล (เช่น การเว้นบริโภค เว้นเมถุนธรรม); การสมาทานบริโภค  อาหารอย่างเดียวเป็นนิตย์ (เช่น มธุพรต คือ การสมาทานกินแต่นํ้าผึ้ง);  ข้อกําหนดการปฏิบัติทางศาสนาเพื่อข่มกายใจ มีศีลวินัยเป็นต้น เช่น  บําเพ็ญพรต ทรงพรต ถือพรต, เรียกผู้บําเพ็ญพรตว่า นักพรต.  (ส. วฺรต; ป. วตฺต).(4)
 
จะเห็นได้ว่า คำว่า
พรต/พต มาจากคำในภาษา บาลี คือคำว่า วตฺต ในสำเนียงภาษา สันสกฤต ออกเสียงว่า วฺรต (พึงเข้าใจว่าคนไทยออกเสียง (สำเนียง)  ในภาษาบาลีเพี้ยนเป็น เช่น คำว่า มหรรณออกเสียง เป็น มหรรณหรือ วิษณุ ออกเสียงเป็น พิษณุ ฯลฯ)

ฉะนั้นเมื่อนำ สีล+พ(ร)ต+ปรามาส  มาสมาสกันจะได้ว่า สีลัพพตปรามาส (สี-ลับ-พะ-ตะ-ปะ-รา-มาด) หากแปลตรงตามศัพท์จะแปลว่า "การลูบคลำ สีล และ พรต"

คำว่า สีล/ศีล/ศีลา/ศิลา  คือคำเดียวกัน  และคำว่า พรต ในที่นี้นำมาใช้ ขยายความคำว่า สีล อีกทีหนึ่งเท่านั้น สีล และ พรต มีความหมายใกล้กันมาก ฉะนั้นในความคิดเห็นครั้งแรกๆ กวินเลยกระเซ้าเหย้าแย่ว่า คำว่า  สีลัพพตปรามาส = การลูบคลำ ศิลา (เรื่องนิสัยที่ชอบกระเซ้าเย้าแย่นี่ คงเป็น อธิวาสนา (5)  ที่แก้ไม่หายเพราะเป็นมาหลายชาติแล้ว คนที่ไม่รู้ถึงเรื่อง อธิวาสนา แต่ชา ติ ปางก่อน ของกวิน ก็อาจจะรู้สึกว่า ตัวเองกำลัง ถูกแกล้ง หรือ ถูกล้อเล่นแรงๆ)

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ให้คำจำกัดความ สีลัพพตปรามาส ว่าหมายถึง ความยึดถือว่าบุคคลจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้ด้วยศีลและวัตร (คือถือว่าเพียงประพฤติศีลและวัตรให้ เคร่งครัดก็พอที่จะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้ ไม่ต้องอาศัยสมาธิและปัญญาก็ตาม ถือศีลและวัตรที่งมงามหรืออย่างงมงายก็ ตาม) , ความถือศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย หรือโดยนิยมว่าขลังว่าศักดิ์สิทธิ์ ไม่เข้าใจความหมาย และความมุ่งหมายที่แท้จริง , ความเชื่อถือศักดิ์สิทธิ์ด้วยเข้าใจว่าจะมีได้ด้วยศีลหรือพรตอย่างนั้นอย่างนี้ล่วงธรรมดา วิสัย (ข้อ 3 ในสังโยชน์ 10)(6)  สอดคล้องกับ ดร.วรภัทร ภู่เจริญ (คนไร้กรอบ) ได้อรรถาธิบายเอาไว้ในบทความ "สีลัพพตปรามาส อธิบายยากนะ เป็น tacit Knowledge จริงๆ " ที่ว่า

  • ถือศีลแบบขาดสติ   ก็ถือว่า ปรามาสศีล (ลูบๆ คลำๆ)
  • ถือศีลแบบทำให้จิตไม่ปกติ  ก็ถือว่า ปรามาสศีล
  • ถือศีลแบบทำคนอื่นเดือดร้อน ทำตนเอง ทำหมู่คณะเดือดร้อน  ก็ถือว่า ปรามาสศีล
  • ถือศีลแล้วเป็นทุกข์   ก็ถือว่า ปรามาสศีล
  • ถือศีลแล้ว  หยิ่งพยอง  อวดตน ก็ถือว่า ปรามาสศีล(7) 

และถ้า เอาคำว่า ทำดี ไปใส่แทนคำว่า ศีล ในคำอธิบายข้างต้น ก็จะเข้าใจความหมายของคำว่า สีลัพพตปรามาส ที่กว้างขวาง ยิ่งขึ้น

ไม่อยากอธิบายยาวๆ เพราะขี้เกียจพิมพ์  แต่มานึกๆ ดู การเขียนอะไรที่สั้นๆ (สร้างภาพ abstract ที่บิดๆ เบี้ยวๆ) ก็หมิ่นเหม่ กับการแปลความกันไปต่างๆ นาๆ ผิดจุดประสงค์ในการสื่อ หรือเป็นการทำร้ายน้ำใจกันจึงรีบมา สร้างสร้างภาพแนว Impressionism เทียบเคียงไว้ด้วย

สรุป
1.นิสัยที่ชอบแกล้งคนก็ดี  พูดจาเสียดสีก็ดี เป็นอธิวาสนา ที่แก้ไม่หาย คนที่ทราบแล้วก็อย่าถือสา กวินนะครับ
2. จิตรกร/นักสร้างภาพ แห่งความเป็นคนดี คนมีศีล ต้องตระหนักถึงเรื่อง สีลัพพตปรามาส

 
อ้างอิง
(1) คำศัพท์ วนัสถาน นี้ อ่านพบในคำประพันธ์ของ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรฯ (เจ้าฟ้ากุ้ง)

(2) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ฉบับออนไลน์. อัพภาส [cited 2009 march 12].Available from: URL; http://rirs3.royin.go.th/new-search/word-search-all-x.asp

(3) อ้างแล้ว (ดูที่ข้อ 2)

(4) อ้างแล้ว (ดูที่ข้อ 2)

(5) กวิน (นามแฝง). ดัด (จริต นิสฺสัย) [cited 2009 march 12].Available from: URL; http://gotoknow.org/blog/kelvin/207717?page=1

(6) พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) . พจนานุกรมพุทธศาสน์  [cited 2009 march 12].Available from: URL; http://palungjit.com/dict/

(7) คนไร้กรอบ. สีลัพพตปรามาส อธิบายยากนะ เป็น tacit Knowledge จริงๆ [cited 2009 march 12].Available from: URL;  http://gotoknow.org/blog/ariyachon/73065

ความเห็นครั้งที่ 4

พระเทวทัต คิดฆ่าพระพุทธเจ้าไม่สมประสงค์ จึงชวนพรรคพวกมีพระโกกาลิกะเป็นต้น คิดเสนอข้อปฏิบัติ 5 ประการ เพื่อให้เห็นว่าตนเคร่งครัด คือ  

1.ให้ภิกษุทั้งหลายอยู่ป่าตลอดชีวิต  เข้าสู่บ้านมีโทษ
2.ให้ถือบิณฑบาตตลอดชีวิต รับนิมนต์มีโทษ
3.ให้ถือผ้าบังสุกุลตลอดชีวิต รับคฤหบดีจีวร ผ้าที่เขาถวายมีโทษ
4.ให้อยู่โคนไม้ตลอดชีวิต เข้าสู่ที่มุงบังมีโทษ
5. ห้ามฉันเนื้อสัตว์ตลอดชีวิต  ฉันเข้ามีโทษ 

เมื่อได้โอกาสจึงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลข้อเสนอทั้ง 5 ข้อนั้น พระผู้มีพระภาคทรงปฏิเสธ คือใน 4 ข้อข้างต้น ให้ภิกษุปฏิบัติตามความสมัครใจ ไม่บังคับ โดยเฉพาะข้อที่ ๔ ทรงอนุญาตให้อยู่โคนไม้ได้เพียง 8 เดือน ฤดูฝนไม่ให้อยู่โคนไม้  และข้อ 5  การฉันเนื้อสัตว์ ทรงอนุญาตเนื้อสัตว์ที่ บริสุทธิ์ โดยเงื่อนไข 3 ประการ คือ ไม่ได้เห็น ไม่ได้ฟัง ไม่ได้นึกรังเกียจว่า เขาฆ่าเพื่อตน พระเทวทัตก็ดีใจ ที่จะได้ประกาศว่าตนเคร่งกว่าพระพุทธเจ้า จึงเที่ยวประกาศทั่วกรุงราชคฤห์ถึงเรื่องข้อเสนอนั้น(1)  

จะเห็นได้ว่า ภาพลักษณ์ ของพระเทวทัต นั้น คือภาพลักษณ์ที่ถูกสร้างขึ้น เพื่อให้ผู้คนเลื่อมใสศรัทธา เพื่อหวังคำชื่นชมสรรเสริญ เพื่อลาภสักการะ เพื่อความเจริญในตำแหน่งหน้าที่ (หวังเป็นศาสดาแทนพุทธองค์) ฯลฯ เป็น ภาพลักษณ์ ของความยึดติดในความดี หรือยึดติดใน สีล และวัตร/พรต หรือที่เรียกว่า   สีลัพพตปรามาส (การลูบๆ คลำๆ ศิลา/สีล) ถามว่าในปัจจุบัน ภาพลักษณ์ ในแบบ พระเทวทัต ยังมีให้เห็นอยู่หรือไม่?

เราได้เห็น ภาพลักษณ์ในแบบ พระเทวทัต ไปแล้วคราวนี้เราลองมาดู ภาพลักษณ์ที่ตรงกันข้าม ดูบ้าง กวินขอยก ตุ๊กตา ว่าด้วยเรื่อง ภาพลักษณ์ในแบบพระจี้กง มาเป็นอุทธาหรณ์ ความว่า

สำหรับผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ นิกายมหายาน จี้กง ถูกจัดเป็น อรหันต์ (
罗汉) แต่เป็นพระอรหันต์ที่แปลกประหลาดเสียจนผู้คนงุนงง จนผู้คนให้ฉายานามว่า พระบ้า หรือ พระเพี้ยน (疯和尚) สาเหตุก็ คือ จี้กงเป็นพระที่รับประทานเนื้อสัตว์ ดื่มสุราอยู่เป็นนิจ นอกจากนี้ยังลักษณะท่าทางยังปราศซึ่งความสำรวม ผิดแผกกับ พระสงฆ์ทั่วไปโดยสิ้นเชิง อย่างไรก็ตาม 'เปลือกนอก' กับ 'เนื้อใน' หรือ 'สิ่งที่เห็น' กับ 'สิ่งที่เป็น' นั้นบางครั้งก็มิใช่เรื่องเดียวกันเสียหมด อรหันต์จี้กง ก็ถือเป็นหนึ่งในข้อยกเว้นนั้น จี้กง (济公) หรือ จี้เตียน (济颠) มีตัวตนอยู่จริงในสมัยราชวงศ์ซ่งใต้ปกครองประเทศจีน โดยใช้ชีวิตอยู่ระหว่าง ค.ศ.1148-1209 เดิมแซ่หลี่ นามซินหย่วน (李心) นอกจากนี้ยังมีนามอื่นๆ อีก เช่น หูหยิ่น () และ ฟังหยวนโส่ว (圆叟) เกิดที่ หมู่บ้านหย่งหนิง ตำบลเทียนไถ มณฑลเจ้อเจียง ในตระกูลของผู้มีอันจะกิน อย่างไรก็ตามหลังจาก บิดา-มารดา เสียชีวิต จี้กงก็ตัดสินใจละทางโลก สละเพศฆราวาส ออกบวชที่วัดหลิงอิ่น (隐寺) แห่งเมืองหางโจว โดยได้ฉายานามว่า เต้าจี้ () ทั้งนี้เต้าจี้ได้รับการอุปสมบทโดยมีพระสงฆ์ผู้มีชื่อเสียงในเวลานั้น คือ พระอาจารย์ฮุ้ยหย่วน หลังจากจี้กงออกบวช และ ต่อมาก็ออกลาย กลายมามีพฤติกรรมพิเรนทร์ผิดกับพระทั่วไป จนเป็นที่ติฉินนินทาของพระสงฆ์รูปอื่นๆ แต่ด้าน พระอาจารย์ กลับทราบดีว่า แม้ภายนอกจี้กงจะมีกิริยาไม่สำรวมผิดกับพระทั่วไป ทั้งผิดศีล เล่นซุกซนกับเด็กๆ ประพฤติ-พูดจาไม่สำรวม ดื่มสุรา บริโภคเนื้อสัตว์ แต่ลึกลงไปภายใน จี้กงกลับเป็นบุคคลที่ตื่นแล้ว! นอกจากนี้ด้วยการกระทำหลายๆ ประการของ จี้กง แม้จะเป็นการกระทำที่ดูเหมือนจะผิดศีลธรรม ผิดประเพณีดั้งเดิม แต่เมื่อพิจารณาจาก เนื้อแท้ จุดมุ่งหมายและผลลัพธ์ แล้ว การกระทำเหล่านั้นของจี้กงกลับเป็นสิ่งที่ถูกต้อง และ ก่อคุณประโยชน์(2)
อ้างอิง

(1) สังฆเภท [cited 2009 march 13].Available from: URL; http://www.kammatthana.com/D_74.htm

(2) ตามรอยพระพุทธะจี้กง [cited 2009 march 13].Available from: URL; http://www.littlecatzhome.net/chongter/Articles/thamma/001/001.htm

(3) กวิน (นามแฝง). เขียนบทความประชันกับ โรล็องด์ บาร์ตส์ (Roland Barthes) ว่าด้วยเรื่องมา(ร)ยาคติ [cited 2009 march 13].Available from: URL; http://gotoknow.org/blog/kelvin/204203

(4) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ฉบับออนไลน์. ทิชา  อ้างใน กวิน (นามแฝง). สุขสันต์วันเกิด [cited 2009 march 13].Available from: URL;http://gotoknow.org/blog/kelvin/207685 

เพิ่มเติม

จะเห็นได้ว่า ภาพลักษณ์ของ
พระเทวทัต และภาพลักษณ์ของ พระจี้กง เป็นสิ่งที่ทำให้เราเข้าใจภาพลักษณ์ภายนอกได้ดียิ่งขึ้น (เข้าใจว่าเราอาจะไม่สามารถเข้าใจได้เลย) ถามว่า ในสังคมเรานี้มีคนอย่าง พระเทวทัต หรือคนอย่าง พระจี้กง มากกว่ากัน? จะเห็นได้ว่าหากนำภาพลักษณ์ ภายนอกมาตัดสินคน ว่า ดี หรือ เลว หรือเพียงเพราะการกระทำของเขา หรือจากการฟังตามๆ กันมา ว่าเขาดี หรือเลว นั้นยังไม่สามารถตัดสินคนๆ นั้นได้

ในคัมภีร์ทีฆนิกายสีลขันธวรรค กล่าวไว้ว่า ทุชฺชาโน สมโณ ทุชฺชาโน พรฺาหฺมโณ แปลว่า สมณะรู้ได้ยาก พราหมณ์ก็รู้ได้ยาก การที่จะ รู้ว่าใครคือสมณะ หรือเป็นพราหมณ์ที่แท้นั้น ต้องอยู่ใกล้ชิดนานๆ ด้วยเหตุนี้ การที่จะดูคน ว่าดีหรือเลว จึงดูได้ยากเพราะต้องใช้เวลา (3)

ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์  มาตรา 15 กล่าวถึงสภาพบุคคลเอาไว้ ว่า "สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารกและสิ้นสุดลงเมื่อตาย" การคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก ถือเป็นการเกิดครั้งที่หนึ่งของมนุษย์ แต่ทว่า มนุษย์นั้นย่อมถูก อวิชชา  ห่อหุ้มดวงจิต หากมนุษย์ผู้ใดรู้จักทำลาย อวิชชา (เปลือกไข่) ให้แตกสลายย่อยยับลงไปได้ มนุษย์ผู้นั้นก็จะมีชีวิตใหม่อันประเสริฐ ซึ่งถือเป็นการเกิดครั้งที่สอง  ก็ฉันนั้น การเกิดครั้งที่สอง/การเกิดสองครั้ง ตรงกับคำศัพท์ในภาษาบาลี ที่ว่า  ทวิช / ทิช ซึ่งมีความหมายดังนี้

ทวิช

หมายเลขบันทึก: 248250เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2009 20:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 21:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีครับ อ.ศิลา มาอ่านและทักทาย มีความรู้ไม่ถึงพอที่จะมาแสดงความคิดเห็นได้

ผมได้เพิ่มข้อมูลเล็กน้อยสำหรับสารในจมูกข้าวที่เป็นประโยชน์ทางเครื่องสำอางอยู่ในบันทึกเดิมครับ (ถ้าอาจารย์ว่างขอเชิญครับ)

  • ขอบพระคุณท่านอาจารย์พันคำ P มากค่ะ
  • จะรีบตามไปค่ะ

แก้คำผิด

ใส่ไม้หันอากาศเข้าไปเป็น พนัสถาน/วนสถาน(1)

แก้เป็น

ใส่ไม้หันอากาศเข้าไปเป็น พนัสถาน/วนัสถาน(1)

*******************************

ถือศีลและวัตรที่งมงามหรืออย่างงมงายก็ ตาม
แก้เป็น
ถือศีลและวัตรที่งมงาหรืออย่างงมงายก็ ตาม

ขอบคุณครับเดี่ญวคนอ่านจะงง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท