Innovation ที่เหมาะสมต่อสังคมไทย


 

          ผมอ่านบทความเรื่อง The Next Innovation Revolution เขียนโดย Susan Hockfield อธิการบดีของ MIT แล้วเกิดแรงบันดาลใจให้เขียนบันทึกนี้ 

          ผมอยากให้อธิการบดีของมหาวิทยาลัยไทย ที่จัดว่าเป็น science-based university ได้อ่านบทความสั้นๆ นี้   และอยากให้แต่ละอธิการบดีได้เขียนบทความทำนองนี้ลงพิมพ์ในวารสารวิชาการของประเทศ ปีละครั้ง

          ผมอยากให้ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรสนับสนุนการวิจัย วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรม ได้อ่านบทความนี้   และอยากให้ท่านเหล่านี้เขียนบทความทำนองนี้ลงในนิตยสารสำหรับปัญญาชนของประเทศ ปีละครั้ง

          ถ้ามีการกระทำตาม “ผมอยาก” ๒ ข้อข้างบน   ก็จะเป็นนวัตกรรมอย่างหนึ่งในสังคมไทย

          ทีนี้ก็มาถึงเรื่อง innovation ที่เหมาะสมต่อสังคมไทย   ซึ่งไม่ควรอย่างยิ่งที่จะคิดแบบเดียวกันกับที่ท่านอธิการบดี Susan Hockfield เขียนเสนอต่อสังคมอเมริกัน   ผมตีความว่า The Next Innovation Revolution ของท่านอธิการบดี Susan Hockfield เป็นนวัตกรรมระดับแนวหน้าของโลก   ซึ่งไทยเราไม่ควรเข้าไปแข่งหรือมุ่งหวัง    เราต้องฉลาดในการหา niche ของเราเอง  

          ผมมองว่าเราต้องฉลาดในการ “ขี่กระแส” หรือ “ยืนบนบ่ายักษ์”   ซึ่งจริงๆ แล้วจะมีกุศโลบายอย่างไรต้องช่วยกันคิด   โดยน่าจะใช้วิธีการ foresight เป็นเครื่องมือร่วมกันคิด

          เมื่อ กกอ. ตั้งตัวติดแล้ว    เราน่าจะลองจัดกระบวนการหาจุดยืนสำหรับงาน innovation ของประเทศไทย    สำหรับเป็นแนวทางของการหา convergence ของศาสตร์ใน ๑๐ ปีข้างหน้า    มิฉนั้น คนในศาสตร์ต่างๆ ของไทยก็จะยังต่างคนต่างทำกันเหมือนอย่างที่เป็นอยู่ในอดีตและปัจจุบัน

          Innovation ที่เหมาะสมต่อสังคมไทย ก็เช่นเดียวกับ innovation ระดับโลก   ที่ต้องการ convergence ที่คนในต่างศาสตร์เข้ามาร่วมกันสร้าง synergy

วิจารณ์ พานิช
๒ มี.ค. ๕๒

 

หมายเลขบันทึก: 247716เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2009 13:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:34 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท