“มิตรภาพบำบัด” ในผู้ป่วยเรื้อรัง


นับตั้งแต่การเปลี่ยนรูปแบบการพูดคุยกันจากการถกเถียง มาเป็นการใช้สุนทรียสนทนา ในวงพยาบาล ในกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลยโสธร เราเริ่มกระบวนการเรียนรู้จากวงเล็ก และเก็บเกี่ยวเนื่องกัน ต่อเป็นภาพจิ๊กซอว์ ความรื่นรมย์แบบสุขเบาเบาในใจของคนทำงานก็ชักจะเริ่มมีมากขึ้น

 

เมื่อวันจันทร์ที่ 9 มีนาคม 2552 ที่ผ่านมาเราได้ตั้งวงคุยกัน...

ในทีมการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง... เราเริ่มกระบวนการผ่านเรื่องเล่า (Success Story Sharing) จากการทำงานที่เราได้ให้กระบวนการพยาบาลและการดูแลผู้ป่วย...

แม้ว่า...บางเรื่องเล่าจะผู้เล่าอาจมองว่าเป็นความล้มเหลวของงาน แต่เมื่อทางเราน้อมใจฟังกัน...กลับพบว่า เรื่องเล่าดังกล่าว นั้นกลับมีความสำเร็จซ่อนอยู่ในเรื่องราวตลอดกระบวนการ 

 

เช่นเรื่องเล่าของพี่เยาว์... ที่มองว่ากระบวนการดูแลผู้ป่วย COPD ที่นำกระบวนการมาใช้ตั้งแต่สามปีก่อน ลองทำ เรียนรู้ และปรับแก้ไข เริ่มแรกลองทำเป็นทีมกระบวนการหลายๆ แผนกและทำเป็นทีมสหสาขาวิชาชีพ พอทำไปได้สักพักก็มีการประเมินผลว่า อัตรา Re-Admit ของผู้ป่วยก็ยังมีเพิ่มมากขึ้น พอถึงเวลาทีมสหสาขาฯ ก็ไม่สามารถมาให้บริการต่อผู้ป่วยได้ตามกระบวนการที่วางไว้...  จากนั้นจึงได้มาปรับแก้กระบวนการใหม่...โดยนำรูปแบบ CM CPG (Case Management Clinical Practice Guideline) โดยใช้รูปแบบ พยาบาลจิตอาสา มาทำหน้าที่เป็น CM CPG เมื่อได้ทำมาระยะหนึ่งประเมินผลกลับพบว่า พยาบาลจิตอาสาดังกล่าวทำงานไม่ทัน... เพราะมีจำนวนน้อย ดังนั้นจึงต้องมีการปรับกระบวนการ

 

จากวง...เราเสนอการให้ได้มาของพยาบาลจิตอาสาเพิ่มเติม สรุปได้ว่า 

  • เปิดรับสมัครพยาบาลทั่วไป และ  
  • ใช้แนวคิด การขยายเครือข่าย แบบระบบขายตรง  
  • ให้ CM คนเดิมหาตัวแทน...

 

สำหรับเรื่องเล่าของทีมดูแล COPD ทำให้ข้าพเจ้าได้เกิดการเรียนรู้ว่า ... หากเราลองพลิกมุมมอง...ต่อการรับรู้เรื่องราวต่างๆ แล้ว จากที่ว่าล้มเหลว เรากลับได้มองเห็นความสำเร็จมากมาย อย่างงานนี้ ข้าพเจ้ามองว่าหากนำมาขยายเป็นการพัฒนางานประจำด้วยการทำวิจัยแล้ว(R2R) งานชิ้นนี้จัดได้ว่าเป็น Research & Development ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง... แอบเชียร์ในใจ

 

นอกจากนี้จากแนวทางของการขยายงานเพื่อแก้จุดอ่อนของประเด็นเดิม...ในเรื่องของการขาดอัตราของ CM CPG แล้วยังได้แนวทางของการขยายแนวคิดของ พยาบาลจิตอาสา

สิ่งที่ทางวงได้เรียนรู้... พี่จิ๊ - คุณประชุมสุข มองว่า หากเป็นรูปแบบการบริหารจัดการงานเมื่อก่อน คงใช้เป็นคำสั่งและกำหนดแนวทาง การดำเนินงาน แต่เมื่อเรานำ Diologue มาใช้ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลับได้ outcome ออกมามากมาย ... และที่สำคัญกลับไม่เครียดจากการถกเถียง ได้ใจและกำลังใจ ทำให้มองเห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดขึ้นว่า จากการขยายวง "พยาบาลจิตอาสา" ... ณ ที่ตรงนี้ควรทำอย่างไรให้เข้ากับบริบทของยโสธร มากกว่าการไปคัดลอกรูปแบบจากที่อื่นมาทำ...

 

 

 

 

-------------------------------------

 

หมายเลขบันทึก: 247628เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2009 09:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ

เป็นกิจกรรมที่ดีทำให้เราได้พูดคุยกันสบายๆ แต่ได้งาน เห็นคุณค่าของแต่ละคน

อยากจัดกิจกรรมบ่อยๆ

สวัสดีค่ะ...P  แดง

ขอบคุณที่มาร่วมบอกเล่าความรู้สึก... คือ ความงดงามและคุณค่า อันนำไปสู่พลังที่ยิ่งใหญ่ ...ของคนทำงานได้ดีทีเดียวเลยค่ะ

(^__^)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท