เป็นนักเรียนพระปกเกล้าตอนที่๘๔(บทสรุปคนไร้รัฐที่แม่อาย จ.เชียงใหม่)


ผมถูกวางตัวให้เป็นผู้นำเสนอเรื่องแม่อายศึกษาบนเวทีวิชาการเพื่อเสนอกรณีศึกษาและระดมแนวคิดเพื่อจัดการปัญหาคนไร้รัฐคนไร้สัญชาติในสังคมไทย ต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา,ตัวแทนจากรัฐบาล,ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐอื่นที่เกี่ยวข้อง,ผู้แทนจากภาคองค์กรพัฒนาเอกชนและผู้สนใจทั่วไปณ ห้องรับรอง ที่วุฒิสภา ในวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๒ นี้ จึงขอนำเสนอเรื่องราวผ่านบันทึกนี้ เพื่อให้ท่านที่ผ่านเข้ามาช่วยกันแสดงความคิดเห็น ก่อนถึงวันดังกล่าวครับ

บทสรุปการศึกษาดูงานคนไร้รัฐ ต.แม่อาย จ.เชียงใหม่

นายบัณฑูร  ทองตัน นักศึกษา สสสส.๑

 

สภาพปัญหา

 

        ที่อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพื้นที่ตามแนวตะเข็บชายแดนไทย-พม่าและเป็นเขตทับซ้อนทางอธิปไตยระหว่างไทยกับพม่าอีกด้วย   ในอดีตชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าวไม่รู้เรื่องความสำคัญของบัตรประชาชน/ทะเบียนราษฎร จึงไม่ให้ความสนใจไปแจ้งข้อมูลกับทางราชการ  แต่พอไปขอเพิ่มชื่อในทะเบียนราษฎรได้ระยะหนึ่ง ที่ว่าการอำเภออายถูกไฟไหม้เอกสารสูญหาย ราษฎรขอทำบัตรใหม่อำเภอก็ไม่ออกให้ประกอบกับช่วงประมาณ ปีพ.ศ.๒๕๑๙-๒๐ คนพม่าได้อพยพหนีตายจากสงครามเข้ามามาก ช่วงนั้นอำเภอแม่อายได้ออกบัตร ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่า ให้กับชาวบ้าน แต่ชาวบ้านไม่ยอมรับ จึงทูลเกล้าถวายฎีกาแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในที่สุดด้วยพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปัญหานี้จึงคลี่คลายลง  โดยนายอำเภอกฤษฎา และ นายอำเภอ ชยันตร์ ตรวจสอบยืนยันว่าชาวบ้านแม่อายเป็นคนสัญชาติไทยจึงได้มีการทำบัตรประชาชน และมีรายชื่อชาวบ้านในทะเบียนราษฎร์

        แต่พอวันที่ ๕ กุมภาพันธ์  พ.ศ.๒๕๔๕ นายอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ได้ดำเนินการให้มีการจำหน่ายชื่อราษฎรจำนวน ๑,๒๔๓ คน ออกจากทะเบียนราษฎร (ทร.๑๔) โดยอ้างว่าบุคคลเหล่านี้เคยถือบัตรพลัดถิ่นสัญชาติพม่าและการระบุสัญชาติไทยกับบุคคลเหล่านี้แท้จริงแล้วมีการทุจริตเกิดขึ้น โดยไม่มีการประกาศให้ชาวบ้านได้รับรู้ ชาวบ้านมาทราบเมื่อไปตรวจรายชื่อเพื่อเลือกผู้ใหญ่บ้าน แต่ข้อเท็จจริงกลับได้ความว่ามีคนไทยแท้ๆจำนวนมากแต่ตกสำรวจถูกเหมารวมเอาว่าไม่ใช่คนสัญชาติไทย ทำให้ราษฎรที่ถูกกระทำดังกล่าวต้องพบเจอกับปัญหาคนไร้รัฐไร้สัญชาติทันที

 

เรื่องราวแห่งการต่อสู้

        ชาวบ้านแม่อายจำเป็นต้องลุกขึ้นต่อสู้กับอำนาจรัฐโดยใช้ความสามัคคีรวมตัวร่วมกันแก้ไขปัญหา โดยมีผู้อยู่เบื้องหลังหลายท่าน เช่น คุณหญิงอัมพร มีสุข คณะกรรมการสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ / ครูแดง เตือนใจ ดีเทศน์ ส.ว.เชียงราย /นายวินิจ ล้ำเหลือ ประธานอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติ ผู้พลัดถิ่น แรงงานต่างด้าว สภาทนายความ/นายกฤษฎา บุญราช อดีตนายอำเภอแม่อาย/ นักวิชาการกฎหมาย และอีกหลายๆท่าน ได้ให้การสนับสนุนชี้แนะ แนะนำข้อกฎหมาย ทั้งรัฐธรรมนูญ กฎหมายสัญชาติ กฎหมายทะเบียนราษฎร ให้ชาวบ้านได้เข้าใจสิทธิของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร และลูกศิษย์ได้ช่วยให้ชาวบ้านตั้งหลักในการต่อสู้โดยสันติวิธี

        ชาวแม่อายโดยความช่วยเหลือจากผู้มีความรู้ทางกฎหมายและรักความเป็นธรรมได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง และศาลปกครองชั้นต้น(เชียงใหม่) มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๔๗ ว่าคำสั่งของนายอำเภอไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะไม่ประกาศให้ผู้เสียสิทธิทราบและไม่เปิดโอกาสให้มีการพิสูจน์  ต่อมาวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๔๘ ศาลปกครองสูงสุดได้พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลปกครองชั้นต้น

 

ปัญหายังไม่จบ

        แม้ผลคำพิพากษาจะปรากฏออกมาแล้ว แต่การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบก็ยังมีปัญหาด้านต่างๆ เช่น เรื่องหนี้สินที่กู้กับธนาคาร เมื่อถูกถอนสัญชาติก็ถูกบอกเลิกสัญญา สิทธิของคนเป็นข้าราชการที่จะเบิกค่ารักษาพยาบาลแม่ที่ป่วยซึ่งถูกถอนชื่อจากทะเบียนราษฎร์  และคนที่ไม่ได้ถูกเพิกถอนสัญชาติแต่ยังไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนราษฎร์จะดำเนินการกันอย่างไรเพื่อให้ได้สัญชาติ จะพิสูจน์สัญชาติให้ชาวบ้านอย่างไร

        รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ และคณะ จึงลงพื้นที่ทำความเข้าใจกับชุมชนเพื่อสร้างความเข้มแข็ง แนะนำวิธีทำสายเครือญาติ เรียงลำดับญาติ ตระกูลต่างๆ วิธีการรวบรวมหลักฐาน รวมตลอดถึงการพิสูจน์ดีเอ็นเอ จนทำให้ชาวบ้านได้รับสัญชาติคืนมาอีก ๑๒๒ คน

        การช่วยชาวบ้านแบบมีคนทำให้ทุกอย่าง ย่อมเป็นที่แน่นอนว่าชาวบ้านจะคิดไม่เป็น ช่วยเหลือตัวเองไม่เป็น ต้องร้องขอความช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลา ดังนั้นจึงต้องให้ชาวบ้านศึกษาทำความเข้าใจกับปัญหา รู้จักวิเคราะห์ปัญหา วิธีแก้ไขปัญหา จึงต้องหาแกนนำมาเพิ่มอาวุธทางปัญญา ให้เขาทำความเข้าใจกับข้อกฎหมายต่างๆที่เกี่ยวข้อง

จากการร่วมมือกันจากหลายภาคส่วนในสังคม ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชน ข้าราชการทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น นักการเมือง องค์การยูนิเซฟ แห่งประเทศไทย  วันนี้ที่แม่อาย มี คลินิกกฎหมายชาวบ้านด้านสถานะและสิทธิบุคคล เกิดขึ้นแล้ว โดยชาวบ้านช่วยเหลือกันเองเป็นทนายเท้าเปล่า ที่มาช่วยเพื่อนบ้านรวบรวมพยานหลักฐานเพราะเขาก็คืออดีตคนไร้รัฐไร้สัญชาติที่ถูกเพิกถอนชื่อออกจากทะเบียนราษฎรนั่นเอง

เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑ คณะนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง การเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่ ๑ ของสถาบันพระปกเกล้าฯ ได้ลงพื้นที่ศึกษาสภาพปัญหาทั้งในเชิงพื้นที่และในเชิงบุคคลในพื้นที่และศึกษาต้นแบบกระบวนการจัดการปัญหาสิทธิในสถานะบุคคลสำหรับคนไร้รัฐไร้สัญชาติในประเทศไทย

 

สิ่งที่ได้พบและข้อเสนอแนะ

        ความเข้มแข็งของชุมชนโดยเฉพาะกลุ่มแกนนำที่ให้ความช่วยเหลือชาวบ้าน ที่แม้ความรู้สายสามัญจะไม่สูงแต่เมื่อเขาได้เรียนรู้การแก้ไขปัญหาให้กับคนในชุมชนโดยกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายสัญชาติ กฎหมายทะเบียนราษฎร ทั้งยังอ้างอิงบทมาตราได้อย่างคล่องแคล่ว แสดงให้รู้ว่าแกนนำชุมชนเหล่านี้รู้กฎหมายเหล่านี้จริง

        วิธีการพัฒนาชาวบ้านโดยจัดชั้นเรียนปัญหาของชุมชนโดยแยกห้องเรียนแต่ละปัญหาออกจากกัน เช่น คนไทยที่เกิดในไทยแต่ตกสำรวจ  หรือคนสัญชาติอื่นที่ไม่มีประเทศใดรับรองสัญชาติแต่มาอยู่ในพื้นที่แม่อาย เป็นต้น จะทำให้ได้ผู้รู้ประจำชุมชนในเรื่องนั้นๆ เหมาะกับสภาพของแกนนำแต่ละคน

        การช่วยให้ชาวบ้านได้เรียนรู้สายลำดับเครือญาติและค้นหาหลักฐานต่างๆมารวบรวมไว้ ค่อนข้างทำได้ดี แต่ที่ได้เห็นปัญหาอย่างชัดเจนคือการเก็บเอกสารไม่เป็นระบบ   ประสบการณ์จากการทำสำนวนคดีจึงรู้ว่าหากการเก็บเอกสารแบบที่ชุมชนแม่อายทำอยู่ขณะนี้หากเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบไม่อยู่จะไม่สามารถค้นหาหลักฐานใดๆได้เลย จึงได้แนะนำวิธีการจัดการข้อมูล เช่น ให้เก็บแบบเรียงลำดับบ้านเลขที่ในหมู่บ้าน หรือเรียงอักษรชื่อบุคคล ก.ถึง ฮ.หรือจัดหมวดหมู่ประเภทของปัญหา หรือหมวดหมู่ของตระกูล หรือลำดับของผู้มาร้องขอความช่วยเหลือ และแนะนำให้ใช้เครื่องคอมพิเตอร์เก็บข้อมูลเป็นฐานข้อมูลที่ตรวจสอบได้ง่าย เพราะเบื้องต้นเมื่อการเก็บหลักฐานมีเพียงไม่กี่ครอบครัวก็จะไม่ยุ่งยาก มีแฟ้มจำนวนเล็กน้อย แต่เท่าที่เห็นในวันลงพื้นที่พบว่ามีชั้นเก็บเอกสารหลายชั้นมากและในแต่ละชั้นมีแฟ้มจำนวนมาก เมื่อถามว่าจะหาอย่างไรก็ตอบว่าก็คงต้องค้นหา ซึ่งเห็นว่าผิดวิธีและทำให้การทำงานสับสนและล่าช้าได้

        ได้แนะนำการกรอกแบบสอบถามเพื่อกำหนดสถานะบุคคล ฯ โดยให้พยายามกรอกรายละเอียดให้มากที่สุด เพราะเท่าที่ขอตรวจดูพบว่ามักจะกรอกข้อมูลไม่ครบ อาจเป็นเพราะไม่เห็นความสำคัญ ได้แนะนำว่าให้ถือว่าข้อมูลทุกชนิดที่เกี่ยวข้องกับแต่ละบุคคลมีความสำคัญทั้งนั้นและต้องจัดเก็บให้ดี

        ได้แนะนำวิธีติดต่อกับทางราชการให้ติดต่อโดยหนังสือและให้เจ้าหน้าที่ลงรับเป็นหลักฐานให้ หากไม่ ได้แนะนำการกรอกข้อมูลแบบสอบถามยอมรับให้ส่งทางไปรษณีย์ตอบรับ และแนะนำให้เก็บสำเนาเอกสารอย่างน้อยสองชุดเพื่อจะได้เป็นหลักฐานว่าชาวบ้านได้มาติดต่อกับทางราชการจริง

        การขอคัดเอกสารจากทางราชการให้ขอให้ทางเจ้าหน้าที่รับรองสำเนาทุกครั้ง

        หากมีการขยายวิธีการนี้ไปยังกลุ่มคนไร้รัฐไร้สัญชาติในประเทศไทยตามจุดต่างๆ เช่น กลุ่มคนไทยพลัดถิ่นที่จังหวัดระนอง (ทราบว่ามีโครงการต่อยอดจากแม่อายสู่ระนองแล้ว) กลุ่มคนไทยตามแนวตะเข็บชายแดนต่างๆ ก็จะเป็นการดี

        ต้องมีวิธีการปลุกจิตสำนึกข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับสัญชาติและทะเบียนราษฎรให้เลิกหากินบนความทุกข์ยากของคนไทยด้วยกัน

        กระตุ้นให้กระบวนการยุติธรรมให้ความสนใจปัญหาคนไร้รัฐไร้สัญชาติเพิ่มขึ้น โดยอาจขอให้เพิ่มหลักสูตรในการอบรมบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม เพื่อให้เห็นและเข้าใจความเดือดร้อนของคนไร้รัฐไร้สัญชาติ และการวิเคราะห์คดีเหล่านี้ด้วยละเอียดรอบคอบและยุติธรรม.

 

ข้อมูลจาก

     เอกสารประกอบการดูงานภาคเหนือ กลุ่มที่ ๔ : สิทธิทางกฎหมายที่ต้องทวงถามของคนแม่อาย โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

     เอกสารประกอบการศึกษาดูงานของนักเรียนสถาบันพระปกเกล้า หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง "การเสริมสร้างสังคมสันติสุข" รุ่นที่ ๑ ณ ชุมชนแม่อาย จ.เชียงใหม่ โดยคลินิกกฎหมายชาวบ้าน(ด้านสถานะและสิทธิของบุคคล) อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่

   http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9480000125631

หมายเลขบันทึก: 247207เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2009 09:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (31)

ขอบคุณค่ะ

แบบนี้ คนทำสรุปสบายเลยค่ะ

อย่าลืมเลือกรูปที่แสดงความประทับใจในพื้นที่นี้ของท่านอัยการชาวเกาะนะคะ

พี่อัยการครับ

วันนี้ที่สถาบันพระปกเกล้ามีคนมากมายครับ นักข่าว และ คนสำคัญของบ้านเมือง ..ไม่รู้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเรื่องอะไร แต่ที่แน่ๆ การจัดการปัญหาเรื่องคนไร้สัญชาติ หากไม่มีการกระตุ้นก็จะเงียบหายไป และไม่ได้รับความสนใจ

วันที่ ๑๑ มีค.๕๒ รถที่จะไปส่งที่รัฐสภา เพื่อเข้าร่วมเสวนา "คนไร้รัฐ" จะออกจากสถาบันพระปกเกล้า ๐๗.๓๐ น. ครับ

แจ้งมาเพื่อทราบครับ

ยินดีครับ อ.แหวว

ทำด้วยความเต็มใจครับ แม้งานจะล้นมือแต่อยากช่วยทำเรื่องนี้จริงๆครับ

ผมรอการ Edit เอกสาร ตามที่พี่เขียนใน บล็อก นี้เพื่อจะผลิตใช้ในงานเสวนาที่รัฐสภาครับ...

หากเสร็จเรียบร้อย กรุณาช่วยเเจ้งผมหน่อยครับ

ขอบคุณครับ

น้องเอกครับ

วันนี้ท่าน ศ.บวรศักดิ์ฯ จะตอบรัฐบาลว่าจะรับเป็นผู้ทำเรื่องการปฏิรูปการเมืองไทยหรือไม่ กระมังครับ

ขอบคุณมากที่แจ้งข่าวเรื่องรถตู้ เพราะผมเป็นบ้านนอกเข้ากรุงยังไม่เคยไปรัฐสภาเลยครับ จะนับว่าโชคดีก็ได้ที่ในขณะเป็นอัยการจังหวัดไม่เคยถูกไปชี้แจงเรื่องการให้ความเป็นธรรมกับชาวบ้าน

คุยกับ พี่คนขายอาหาร ที่ร้านอาหารใน กพ.

คนขายบอกว่า พระปกเกล้าฯ ไม่น่าจะรับปฏิรูปการเมือง แต่อาจหารูปแบบการผลักดันแบบอื่นครับ :)

*** วันที่ ๑๑ มีค.๕๒ จะแจ้งให้รถไปรับท่านอัยการที่คอนโดฯ ครับ ไม่ต้องเป็นห่วงครับ

สวัสดีครับขอทักทายเท่านี้ก่อนนะครับ ยุ่งจริงๆช่วงนี้ ขอให้มีความสุขและโชคดี

เอกสารประกอบการเสวนา "คนไร้รัฐ" ที่รัฐสภา ในวันพรุ่งนี้ ของอัยการบัณฑูร ทองตันครับ

 

เอกสารประกอบการเสวนา "คนไร้รัฐ" ที่รัฐสภา ในวันพรุ่งนี้(11 มี.ค.52)  ของรศ.ดร.พันธ์ทิพย์ สุจิตตรา สายสุนทร

เอกสารประกอบการเสวนา "คนไร้รัฐ ต.ห้วยข่า อ.บุญฑริก จ.อุบลราชธานี" ของ คุณอานุภาพ นันทพันธ์ กรรมการบริหารพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา

เอกสารประกอบการเสวนา "คนไร้รัฐ จ.เชียงราย" ของ สว.เตือนใจ ดีเทศน์

 

ผมรวบรวมและประสานงานทั้งหมดเเล้วครับ เอกสารทั้งหมดจะเป็นเอกสารประกอบเวทีเสวนาวิชาการคนไร้รัฐ ที่รัฐสภา ในวันที่ ๑๑ มี.ค.๕๒

สวัสดีค่ะท่านบัณฑูร..

เตือนนะคะ คนที่พาท่านไปลงทะเลแถวๆ ระนองมาน่ะคะ (อิอิ)

ก็องค์ความรู้จากแม่อายนี่แหละค่ะ.. ที่เตือนเองก็นำมาใช้ในโครงการที่ว่า..

ยังไงพรุ่งนี้..เตือนกับพี่บุญก็จะไปด้วย

ไปเป็นกำลังใจให้ค่ะ

สู้ สู้ นะคะ

เตือน :-)

อ่านงานเขียนท่านบัณฑูรที่ลงพื้นที่ที่แม่อายแล้วรู้สึกเหมือนกับว่า "ท่านเห็นปัญหาอย่างกับว่าท่านอยู่ในพื้นที่เอง" ถ่ายทอดออกมาเป็นภาษาเขียนได้เห็นภาพมากเลยค่ะ เหลือแต่การถ่ายทอดออกมาสู่สังคม ซึ่งวันที่ ๑๑ มี.ค.นี้ คงจะเผยแพร่สู่สังคมได้ไม่มากก็น้อยค่ะ สู้ ๆ นะคะ ขอบคุณท่านบัณฑูรด้วยค่ะ

เรื่องราวต่างๆของแม่อายโดยเฉพาะ ที่ท่านได้ถ่ายทอดทำให้เห็นเรื่องของคนไร้รัฐไร้สัญชาติของคนแม่อายอย่างชัดเจน เพื่อที่จะได้จัดการปัญหาการไร้รัฐรัฐสัญชาติในสังคมไทย.......ขอบคุณมากค่ะ

ไม่ได้แล้ว เราต้องขอบคุณบ้างแล้วค่ะ

ฮิฮิ

  • ปัญหาเรื่องคนไร้รัฐ เป็นปัญหาเนื่องจากคนมีความเป็นคนน้อยลง
  • ผืนดินผืนโลกแท้จริงมันเป็นของใครที่ไหน
  • ทุกชีวิตที่อุบัติขึ้นในโลกมีสิทธิที่จะดำรงอยู่ ใช้ประโยชน์และให้ประโยชน์แก่ผืนดินผืนโลกพอ ๆ กัน
  • หากจะต้องตีทะเบียนเพื่อการอยู่ร่วมกันภายใต้กติกา ถ้าคนคนหนึ่งถูกปฏิเสธจากพวกที่อ้างตนเองว่ามีสิทธิที่จะตีทะเบียนให้กับผู้อื่น เขาก็คงยังมีสิทธิที่จะดำรงอยู่ ใช้ประโยชน์และให้ประโยชน์แก่ผืนดินผืนโลกอยู่
  • ถ้า พวกที่อ้างตนเองว่ามีสิทธิที่จะตีทะเบียนให้กับผู้อื่น ทุกพวกปฏิเสธคนคนนั้น พวกที่ปฏิเสธเขามีสิทธิอะไร จากไหนที่จะละเมิดสิทธิที่เขาจะดำรงอยู่ ใช้ประโยชน์และให้ประโยชน์แก่ผืนดินผืนโลก
  • หาก พวกที่อ้างตนเองว่ามีสิทธิที่จะตีทะเบียนให้กับผู้อื่นเห็นว่าแผ่นดินของตนมันแคบนัก หัวใจของตนมันแคบนัก ก็ไม่ต้องไปตีทะเบียนให้เขา แต่ก็ไม่มีสิทธิที่จะไปขัดขวางการดำรงอยู่ ใช้ประโยชน์และให้ประโยชน์แก่ผืนดินผืนโลกของเขา
  • หากจะต้องมีทะเบียน ตามพวกที่มีทะเบียนคิด  ให้เขาถือทะเบียนคนไร้รัฐไม่ได้หรือ 
  • มีรัฐหรือมีทะเบียนเป็นเรื่องที่คนคิดขึ้นมาเพื่อจะอยู่ร่วมกันมิใช่หรือ
  • พวกไหนในโลกนี้พอจะทำหน้าที่ถือบัญชีทะเบียนของพวกเขา
  • ถ้าไม่มีใครมีเกียรติพอที่จะทำหน้าที่นี้ได้ ก็ให้พวกเขานั่นแหละถือบัญชี ตีทะเบียน และแสดงทะเบียนแก่ใครๆว่าเขาก็เป็นคน มีตัวตน มีคุณค่า มีศักดิ์ศรี ไม่ต่างจากพวกที่มีรัฐคุมหัวอยู่
  • เกิดมาชาติหนึ่ง ขอให้คิดเพียงว่า ตัวเราก็เป็นเพียงสัตว์ตัวหนึ่งในบรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันหมดทั้งสิ้น เรื่องต่าง ๆในโลกนี้ จะจัดง่ายขึ้นอีกเยอะเลย

                                                                 paaoobtong
                                                                   11/3/52
                                                                      2:24

สวัสดีครับคุณเบดูอิน

เมื่อสองวันก่อนดูสารคดี เขาพูดถึงราชวงศ์เบดูอิน ด้วยครับ น่าสนใจมาก คุณเบดูอินน่าจะเอาเรื่องราชวงศ์เบดูอินมาขยายด้วยนะครับ

ขอบคุณน้องเอกที่มาช่วยเติมเต็มครับ

ขอบคุณน้องบงกชที่มาให้กำลังใจครับ เสียดายที่เพิ่งมาเปิดเจอ เมื่อวานมาจากภูเก็ตเคืองตาซ้าย พยายามไม่ใช้สายตามาก แต่ตื่นเช้ามาก็ไม่วายตาแดงช้ำไปหมด

นี่ถ้ารู้ว่าน้องบงกชกับคุณบุญ มาให้กำลังใจ วันนี้อาจพูดได้ดีกว่าที่ฟังในห้องก็ได้นะ อิอิ

สวัสดีครับคุณอัจฉรา

ได้ไปลงพื้นที่วันเดียวเองครับ แต่อ่านเรื่องราวคนไร้รัฐไร้สัญชาติจากอาจารย์แหววและลูกศิษย์ที่น่ารักของอาจารย์แหวว เห็นถึงความพยายามในการช่วยเหลือชาวบ้าน อดไม่ได้ที่จะนั่งดูอยู่เฉยๆ ก็ต้องโดดลงมาอย่างที่เห็นนั่นแหละครับ

ท่านอัยการทำงานหนัก อ่านเอกสาร จนตาแดงเลย... เพิ่งพาท่านอัยการเข้า รพ.เช็คตามาครับ

ขอกำลังใจจาก  พี่ๆน้อง สสสส.๑ หน่อยครับ

สวัสดีครับครูเอี้ยง

การถ่ายทอดเรื่องราวคนไร้รัฐ ให้คนทั่วไปได้รับรู้ ผมถือเป็นหน้าที่ที่คนไทยทุกคนต้องช่วยเหลือดูแลกันไม่ว่าจะอยู่ภาคส่วนใด ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ หรือ เอ็นจีโอ ไม่ว่าองค์กรภาครัฐหรือภาคเอกชน เพราะนี่คือมนุษย์ตาดำๆ และอยากจะบอกว่าไม่ใช่เฉพาะที่แม่อายที่มีปัญหา ตามแนวตะเข็บชายแดนทุกแห่งมีปัญหาหมดครับ ทั้งปัญหาคนไทยพลัดถิ่น ลาวอพยพ พม่า โรฮิงญา เกาหลีเหนือที่กำลังเข้ามาทางชายแดนไทยภาคเหนือ คนสองสัญชาติไทยมาเลย์ คนไทยภูเขา ชาวเลก็มีปัญหา เพียงแต่เราอยู่ในเมืองสบายๆ ส่วนมนุษย์เหล่านั้นเขาเดือดร้อน ในฐานะนักกฎหมายเราจะใช้กฎหมายเข้าไปช่วยเขาได้อย่างไรบ้าง หรือเราเรียนเกี่ยวกับปัญหาความขัดแย้งในสังคมแล้ว ความรู้ที่เรามี เราช่วยเหลืออะไรเขาได้บ้าง เพราะช่วยเขาก็คือเราช่วยประเทศชาติเหมือนกันนะ ผมว่า...

ต้องขอบคุณ อ.แหวว ต่างหากที่ทำให้ได้ไปรู้ไปเห็นในสิ่งที่ซ่อนสายตานักกฎหมายอย่างพวกผมอยู่ ผมมีโอกาสได้คุยกับน้องๆอัยการก็ได้ขายความคิดเขาไปด้วย การที่เราทำอะไรง่ายๆตามขั้นตอนที่ปฏิบัติอยู่ หากนึกดีๆแล้วบางทีเรากำลังทำบาปอยู่เหมือนกันครับ

ขอบคุณน้องเอกที่พาไปหาหมอ

หมอบอกให้พักสายตา และระวังไปติดคนอื่น สงสัยต้องนอนแต่หัวค่ำซะแล้ว อิอิ

  • สวัสดีค่ะท่านอัยการชาวเกาะ
  • ขณะนี้คงจะอยู่ที่อ.แม่อายแล้วนะคะ
  • ยินดีต้อนฮับสู่เมืองเหนือเจ๊า ช่วงนี้หมอกควันมากหน่อยนะคะ ต้องระวังสุขภาพด้วย
  • ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ก็มีปัญหาเรื่องเด็กไร้รัฐ ไร้สัญชาติ งบประมาณรายหัวต้องมีหลักฐานเลขประจำตัว ๑๓ หลัก
  • มีเด็กหลายคนที่ไม่มีสัญชาติแต่เราต้องให้โอกาสเด็กทุกคนได้รับการศึกษาตามรธน.แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ค่ะ

คุณผอบทองครับ

ผมเห็นด้วย ๑๐๐ % เลยครับ

ผมเพิ่งทราบจากท่านพลเอกเอกชัย ศรีวิลาศ ว่า ที่แม่ฮ่องสอนมีร่องรอยของคนอยู่มาเป็นหมื่นปีแล้ว เก่ากว่าบ้านเชียงเสียอีก และคนไทยภาคเหนือ ที่เป็นชาวเขา ชาวไทยใหญ่ ฯลฯ ที่ไม่ได้สัญชาติไทย จริงๆแล้วเขาเป็นเจ้าของพื้นที่หรือคนที่เรียกตัวเองว่าไทยเป็นกันแน่ ใครกันแน่ที่ตู่ว่าเป็นเจ้าของประเทศ

อย่างที่คุณผอบทองมองนั่นแหละครับ จึงต้องทำให้พวกผมหันมาสนใจเรื่องนี้ จะช่วยแก้ไขเยียวยาให้เขาได้รับสิทธิที่ควรจะเป็นอย่างไร

ขอบคุณที่มาช่วยเติมเต็มบันทึกนี้ครับ และยินดีที่ได้รู้จักครับ

  • จริงแล้ว เราทุกคนคือพี่น้องกัน น่าจะหาทางออกที่นุ่มนวลกว่านี้ กำระเบียบต่างๆนั้น สร้างึ้นมาให้เกิดความแตกต่างของบุคคล แต่ความจริงหละ คนทุกคนหายใจอากาศเดียวกัน น้ำจากฟ้าเดียวกัน อาหารจากพื้นดินเ ดียวกัน ที่อยู่บนโลก ทำไมต้องแบ่งแยกกันด้วย
  • ฟังเพลงนี้แล้วจะรู้ว่าเราคือพี่น้องกัน คลิ๊ก

ครูเสือครับ

ผมไปบุรีรัมย์วันก่อน เสียดายที่ไม่ได้เจอกัน มีแต่เจ้าหนิงกับมะเดี่ยว

ฟังเพลงแล้วรู้สึกดีมากๆเลยครับ

ท่านอัยการชาวเกาะ

ผมเคยถ่ายรูปกับท่านครั้งหนึ่งเมื่อ31สิงหาคม51ที่โรงเรียนสตรีภูเก็ต ท่านไปที่นั่นในนามประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ของสตรีภูเก็ต ผมไปกับคณะครูชายแดนดูงานพังงา-ภูเก็ต ชื่นชมท่านในหลายๆด้านติดตามผลงานตลอด เป็นกำลังใจให้ทุกเรื่องครับ

สวัสดีค่ะ ท่านอัยการ

แวะมาทักทายค่ะ

www.google.com

สวัสดีครับ อ.มีชัย

ไม่แน่ใจว่า อาจารย์จะเข้ามาอ่านในนี้อีกหรือเปล่า แต่ก็ต้องขออภัยที่ไม่ได้แวะมาดูบทความเก่าเลย แถมเวลาเข้ามาตอบคอมเม้นท์ในบันทึกแล้วมักจะไม่เปิดเมล์ของโกทูโนว์ จะลบอย่างเดียว ทำให้หลงไม่ได้ตอบอาจารย์ครับ

สวัสดีครับท่าน ศน.เอื้องแซะ

เช่นเดียวกับที่ตอบ อ.มีชัย ผมผ่านคอมเม้นท์ของท่าน ศน.เอื้องแซะไปเฉยๆงั้นแหละ ต้องขออภัยอย่างสูงมา ณ ที่นี้ด้วย

สวัสดีครับคุณแมงกินฟัน

ยินดีที่รู้จักและขอบคุณที่มาเยี่ยมครับ

พิสูจน์สัญชาติแรงงานพม่า

ชูชีพ วิสุทธาภรณ์

085-4287744 , 034-625057

E-mail [email protected] www.tmdc2009.com

บริการด้วย ความรัก ความจริงใจ พิสูจน์ได้ ซื่อสัตย์ ทำได้แน่นอน ท่านมอบอำนาจให้เราทุกเรื่องเราทำให้หมด ยื่นเอกสาร ไม่เกิน 45 วันพิสูจน์สัญชาติพม่าผ่าน การรับรองของรัฐบาลพม่า พาแรงงานไปที่พม่ากลับมาหร้อมพาสปอร์ตและวีซ่า

พม่าประชุมร่วมไทย-พม่า ยันไม่จับกุมคนพม่าข้ามฟากกลับบ้าน

เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2552 นายไพฑูรย์ แก้วทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ร่วมประชุมกับนายอู หม่อง มิ้นท์ (H.E.U Maung Myint) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศพม่า (Meeting Nationality Verification of Myanmar Workers 7th Thailand-Myanmar) ข่าวเรื่องการข่มขู่แรงงานพม่าในประเทศไทยที่จะข้ามไปพิสูจน์สัญชาติในฝั่งพม่าว่าจะถูกจับกุมตัว และเรียกเก็บภาษี รวมทั้งกลั่นแกล้งญาติพี่น้องที่อยู่ฝั่งพม่า ทำให้แรงงานเหล่านี้ไม่กล้ากลับไปพิสูจน์สัญชาติ ซึ่งเรื่องนี้ทั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานไทยและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศพม่า ยืนยัน! ไม่จับ! ไม่ปรับ! ไม่ไปเรียกเก๊บเงินที่บ้าน ไปแล้วได้กลับมาพร้อมพาสปอร์ตแน่นอน

มีแรงงานกี่คนเราก็บริการค่าใช้จ่ายเราเฉลี่ยทั่วประเทศ

1.1 ทำบัตรสมาชิกของบริษัท

1.2 รูปถ่าย 1.5 นิ้ว 18 ใบ ใหัเพื่อใช้ในการพิสูจน์สัญชาติแรงงานพม่า

1.3 มีเจ้าหน้าที่พม่าช่วยเขียน ชื่อ ที่อยู่ และ ทุกเอย่างของแรงงานพม่าเป็นภาษาพม่าและให้คำปรึกษาแนะนำ และนำส่ง จัดหางาน ส่งไปสถานฑูตพม่าและอื่นๆตามขั้นตอน และเรานำเอกสารอีก 1ชุดเข้าไปพม่าเองเพื่อความรวดเร็วในการพิสูจน์ มีปัญหาเราจะหาวิธีแก้ไขจนพิสูจน์ได้ ( เก็บงินค่าใช้จ่ายเบื่องต้นเพียง 500 บาท)

ค่าบริการ ทุกอย่างของการพิสูจน์สัญชาติแรงงานพม่า

1. ค่าดำเนินการติดต่อประสานงานกับราชการไทยและพม่าในการอำนวยตวามสะดวกและไดัรับการยืนยันจากรํฐบาลพม่า และไทย ใช้เวลา 45 วัน เก็บเงินเพื่อเตรียมรถ อาหาร และอื่นๆ(วันที่แจ้งผลการพิสูจน์สัญชาติ และนัดวันเดินทาง เก็บเงิน 2,500 บาท)

2. ค่ารถ, ค่าอาหาร และ เครื่องดื่ม, เราเดินทางไปด้วยกันกับแรงงานพม่า ออกเดินทาง 19.00น. นอนบนรถปรับอากาศ ถึงชายแดนพม่าประมาณ 7.00 น. ล้างหน้า ทานอาหาร 8.30 น. เราเลี้ยงตลอดทางทั้งไปและกลับ ตรวจเอกสารโดยเจ้าหน้าที่ไทย นับจำนวนแรงงานที่จะเข้าพม่าเวลากลับมาต้องครบตามจำนวนที่เข้าไป พวกเราพาแรงงานพม่าเข้าประเทศพม่า ทำพาสปอร์ตเสร็จ ประมาณ 15.30น. เดินทางกลับเข้ามาประเมศไทย ทำวีซ่า เสร็จ 18.00น. รับประทายอาหารและเดินทางกลับประเทศไทยด้วยตวานปลอดภัย พร้อมพาสปอร์ตและวีซ่า 2ปี และต่อได้อีก 2 ปี ในประเทศไทย (วันเดินทางเก็บ) 2,800 บาท

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท