Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

การกลับขึ้นหอคอยงาช้างของอาจารย์แหวว


ต้องมีนักวิชาการที่ผลิตงานวิชาการแบบที่เป็นงานวิชาการบริสุทธิ์เหมือนอย่างทางสายวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ คือทำวิจัยหรือผลิตผลงานเพื่อสร้างความรู้แบบที่ไม่ต้องห่วงเรื่องการวัดประโยชน์.. แม้ว่าผลของงานบางครั้งอาจดูเหมือนมองไม่เห็นประโยชน์ในทันที แต่ในระยะยาว หรือในบางช่วงเวลา และสำหรับบางคน งานเหล่านี้ก็อาจสร้างประโยชน์อย่างมหาศาล

นานแล้ว มีเพื่อนในเน็ตเข้ามาบอกอาจารย์แหววอย่างนี้

        แว่บมาทักและตอบคำถามอาจารย์ครับ ในทางวิชาการสังคมศาสตร์หรือมนุษยศาสตร์ เราอาจมีความจำเป็นต้องมีนักวิชาการที่ผลิตงานวิชาการแบบที่เป็นงานวิชาการบริสุทธิ์เหมือนอย่างทางสายวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ คือทำวิจัยหรือผลิตผลงานเพื่อสร้างความรู้แบบที่ไม่ต้องห่วงเรื่องการวัดประโยชน์.. แม้ว่าผลของงานบางครั้งอาจดูเหมือนมองไม่เห็นประโยชน์ในทันที แต่ในระยะยาว หรือในบางช่วงเวลา และสำหรับบางคน งานเหล่านี้ก็อาจสร้างประโยชน์อย่างมหาศาล บังเอิญเจอมาในเวบบอร์ด อาจจะตอบคำถามอาจารย์ในเรื่องหอคอยงาช้างได้ ไม่หรอกครับ บางทีการอยู่สูงมันก็ทำให้เราเห็นชัดขึ้นนะครับ เพียงแต่เราอาจจะต้องคอยเตือนตัวเองว่า เราก็เพิ่งปีนขึ้นมานะ ต้องกลับลงบ้าง แต่มันก็มีข้อเสียนะครับ มันจะกล้าชนน้อยลง อาจารย์ครับ เราก็เข้าใจกันดีว่ากฎหมายหลายตัวหนะดี แต่คนใช้กฎหมายมีปัญหา เราจะแก้มันยังไงได้บ้าง หนึ่งในนั้น ผมว่าอาจารย์เสนอให้ฟ้องศาลปกครอง มีคนเคยพูดว่า สู้ด้วยความรัก และความรู้

 

อ่านอยู่นาน หลายหน คิดกลับไปกลับมา

 

     ก็เป็นความตั้งใจของอาจารย์แหววเหมือนกัน ที่จะกลับไปทำงานเขียนบนหอคอยงาช้างนานแล้ว แต่ทำไม่ค่อยสำเร็จ...........

 

     ปีนี้ ก็ยังมีความตั้งใจเหมือนเดิมและแรงขึ้น

 

     มีเหตุผลหลายประการ ที่สำคัญน่าจะมี ๒ ประการ กล่าวคือ

 

     ในประการแรก อาจารย์แหววกลัวว่า ตนเองจะลืมประสบการณ์ในการทำงานที่ผ่าน ซึ่งประสบการณ์นี้เป็นผลมาจากการเอาองค์ความรู้วิชาการที่พัฒนาในหอคอยงาช้างในช่วงตอนที่เรียนปริญญาโทและเอกในสายกฎหมายระหว่างประเทศ แต่ในช่วงที่มาทำงาน ก็ได้ประสบการณ์ที่บอกได้ว่า เจ้าความรู้ที่มีมานี้ อะไรมาใช้ในประเทศไทยได้ หรืออะไรที่ใช้ไม่ได้ทันที หรืออะไรที่ใช้ไม่ได้แต่การปรับความรู้ที่ว่า ต้องทำอย่างไร        

ในประการที่สอง อาจารย์แหววอยากเป็นศาสตราจารย์แล้วล่ะ มันสำคัญไหมหนอ มันก็คงไม่สำคัญมาก ไม่ทราบเหมือนกันว่า จะได้เงินเดือนขึ้นไหม แต่ถ้าได้ก็ดี แต่ที่สำคัญมาก ก็คือ มันเป็นสัญญาลักษณ์ว่า งานของนักวิชาการในระบบมหาวิทยาลัยได้จบลงแล้วค่ะ แล้วชีวิตใหม่อาจเริ่มต้นได้ไงคะ อยากมีชีวิตใหม่ค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #หอคอยงาช้าง
หมายเลขบันทึก: 246057เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2009 15:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

กระต๊อบริมห้วย กับหอคอยงาช้าง ก็น่าอยู่ไปคนละแบบนะครับ มาอ่านและลงชื่อไว้ครับ

เป็นอะไรก็ได้ที่อยากเป็นครับ แต่มันไม่จำเป็นที่จะต้องทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อสิ่งเดียว(หากยังมีเวลา) บางครั้งผมก็ทิ้งเรื่องราวบางเรื่องเพื่อทำบางสิ่งบางอย่างให้สำเร็จ แต่ไม่เคยทิ้งได้เด็ดขาดสักที ทิ้งไปก็ต้องชะโงกมาชำเลืองมองมันอยู่ดี อิอิ

ผมว่า อ.แหวว ทิ้งไปแล้วก็ต้องชะโงกมาดู เราไม่ทำเองก็จ่ายงานให้ลูกศิษย์หรือเพื่อนทำมั่งก็ได้เน๊าะ..

กำลังเขียนสรุปงานภาคเหนือให้เฉพาะส่วนที่บอกไว้นะ เพราะเพิ่งกลับมาจากสวนป่างานตรึม..เฮ้อ...

คุณกวินค่ะ หอคอยงาช้างของ อ.แหวว คงอยู่ใกล้กระต๊อบและริมลำธารนะคะ

ชีวิตวันนี้ดูจะชัดเจนแล้วค่ะว่า คงไม่มีเพียงธุรกิจเอกชน แม้จะเรียนมาทางกฎหมายธุรกิจ และนังสอนกฎหมายธุรกิจ

individualism คงไม่อาจสร้างสังคมสันติสุขค่ะ

บัณฑูรคะ

ขอบคุณค่ะที่มาช่วยทำการบ้าน ถ้ามีหลายมือ ก็จะทำให้งานเบาลงตามจำนวนมือที่ลงมาช่วยกันทำ

คงยังเป็น "ทัพหลัง" ให้มวลมิตรค่ะ แต่การเป็นทัพหน้านั้น มันใช้แรงใจแรงกายมากเลยค่ะ

เดี๋ยวจะเขียนบันทึกเพื่อเพื่องานนำเสนอที่วุฒิสภาค่ะ สำหรับรายงานการศึกษาของเรานะคะ

ขอออกข้อสอบก่อนค่ะ ยังคาอีก ๒ ที่ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท