ยุวชนเกษตรต้นกล้าความพอเพียงแห่งโรงเรียนบ้านหนองไผ่ จ.นครสวรรค์


ทักษะชีวิตในอาชีพที่เหมาะสมและทุนเดิมของผู้ปกครองคือเกษตรกรรม

                                                   20090302134608_148

หนังสือตลาดนัดความรู้เศรษฐกิจพอเพียง เล่มที่ ๕ จาก โรงเรียนบ้านหนองไผ่ จ.นครสวรรค์ ที่สรส.ด้วยการสนับสนุนของ มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้ถอดบทเรียนรู้จากฐานการเรียนรู้ ด้านการเกษตรพอเพียงนอกห้องเรียน ที่เน้นให้นักเรียนรู้จากของจริง และมีความเหมาะสมกับแต่ละช่วงชั้น ดังนี้ :


            - การต่อยอดในสาระการงานอาชีพที่เริ่มจากการเลี้ยงกบ


            - ขยายไปถึงการปลูกผักปลอดสารพิษ


            - การเพาะเห็ดนางฟ้า


            - การเพาะเลี้ยงปลา


            - การทำนา


            - งานด้านเคหกิจเกษตร เช่น การแปรรูปสมุนไพร การถนอมอาหาร


            - งานด้านอนุรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เช่น ธนาคารขยะรีไซเคิ้ล การทำถ่านผลไม้ดูดกลิ่น และน้ำส้มควันไม้จากเศษวัสดุการเกษตร การปลูกไผ่หวาน การปลูกป่าภูมิรักษ์ เป็นต้น


         ฐานการเรียนรู้ต่างๆภายในเนื้อที่ ๖๑ ไร่ของโรงเรียน ได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นลำดับ จากการดำเนินงานของโรงเรียน ที่ประยุกต์ใช้ความรู้จากการศึกษาดูงานตามศูนย์ศึกษาการพัฒนาต่างๆ และร่วมด้วยช่วยกันของชุมชนในท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง


        ทิศทางของโรงเรียนบ้านหนองไผ่นี้ ที่ได้เริ่มส่งเสริมอาชีพเกษตรอย่างจริงจังมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๓ เนื่องจากสำรวจพบว่า นักเรียนที่จบชั้น ม.๓ จะเข้าเรียนต่อสายสามัญประมาณ ๑๐ เปอร์เซ็นต์เท่านั้น อีก ๙๐ เปอร์เซ็นต์ จะออกไปประกอบอาชีพรับจ้างในท้องถิ่น หรือเดินทางเข้าไปหางานทำในกรุงเทพฯ เป็นเพราะ ส่วนใหญ่ผู้ปกครองมีฐานะยากจน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและคณะครูจึงพิจารณาว่า การจัดการศึกษา เพื่อป้อนนักเรียนสู่สายสามัญสมควรต้องลดลง แต่ควรหันมา สนับสนุนนักเรียนให้ออกไปสู่สายอาชีพมากยิ่งชึ้น โดยเน้นอาชีพที่มีความเหมาะสมและมีต้นทุนเดิมของผู้ปกครอง คือ เกษตรกรรม


        คำถามจากผู้ปกครอง คือ ที่บ้านทำนาซึ่งลูกสามารถเรียนรู้ได้เองอยู่แล้ว เหตุใดจึงต้องมาฝึกทำนาที่โรงเรียนอีก ? 


       คำตอบ คือ รูปธรรมของกิจกรรมในโรงเรียน ได้เน้นให้นักเรียนเรียนรู้จากการปฏิบัติผ่านกระบวนการกลุ่ม และมีการจัดตั้ง กลุ่มยุวเกษตรกร ที่มีผลงานส่งเข้าประกวดได้รับรางวัลระดับภาคและประเทศ ทำให้ผู้ปกครองให้การยอมรับแนวการศึกษาในลักษณะนี้มากยิ่งขึ้น


       แนวทางการดำเนินงานของกลุ่มยุวเกษตรกรของโรงเรียน นอกจากจะมีการฝึกปฏิบัติงานด้านการเกษตรแล้ว ยังต้องมีการฝึกจดบันทึกการปฏิบัติงาน ข้อมูลที่สำคัญของกลุ่ม การทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย จัดประชุมกลุ่ม การฝึกอบรมและศึกษาดูงานในทักษะและประสบการณ์ยุวเกษตรกรเพิ่มเติมกับยุวเกษตรกรกลุ่มอื่นๆ...


        น้องอังสุมา โอภาษี อดีตประธานกลุ่มยุวเกษตรกรของโรงเรียนบ้านหนองไผ่ ได้เล่าถึงสิ่งที่ได้ติดตัวออกไปหลังจากจบจากโรงเรียนบ้านหนองไผ่ คือ


        " ได้รู้จักวางแผน การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ คิดว่าตัวเราได้ประสบการณ์ค่อนข้างมากในการเป็นยุวเกษตรกร ได้เรียนอาชีพหลักๆที่ชาวบ้านเขาทำกัน ซึ่งหากเราไม่ได้ออกไปเรียนต่อ ก็อาจนำความรู้นี้ไปประกอบอาชีพได้เลย..."


       น้องไพรำ ฉ่ำน้อย รองประธานคณะกรรมการกลุ่มยุวเกษตรกร กล่าวเสริมว่า


         " ได้ประสบการณ์ ความรู้เพิ่ม การแสดงออก ความเป็นผู้นำ วิธีการนำเสนอด้วยการอธิบายที่ชัดเจน ตรงประเด็น ซึ่งทุกคนในกลุ่มสามารถพูดให้ผู้มาเยี่ยมชมฐานการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี ..."


        พ่อของน้องสุจิตรา บุญบาง ได้สะท้อนความรู้สึกว่า...


           " ดีมากครับ เหมือนลูกไม้ ที่จะกลายเป็นต้นไม้น้อยที่ขยายต่อไปในวันข้างหน้า เพราะรุ่นผมก็ขนาดนี้แล้ว ถ้าไม่มีการสืบทอดต่อ เกษตรกรจะสูญหมดไป..."


          ( ในภาวะการว่างงานกำลังเป็นปัญหาสำคัญอยู่ในยามนี้ แนวทางการฝึกทักษะชีวิตในการประกอบอาชีพแบบวิถีธรรมชาติพอเพียง จึงน่าจะเป็นทางออกที่ดีอีกทางหนึ่ง..)

โปรดอ่านรายละเอียดได้ที่ :

http://www.scbfoundation.com/news_publish_detail.php?cat_id=6&nid=332



                               --------------------------------------


 
หมายเลขบันทึก: 245890เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2009 15:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะ ตามมาเก็บสาระความรู้ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

คุณเทียนน้อย ขอบคุณมากค่ะที่มาแวะเยี่ยม รร.ของเยาวชนเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งจะได้นำเสนออย่างต่อเนื่องค่ะ..

       

สวัสดีค่ะ

  • ความเข้มแข็งขึ้นอยู่กับการร่วมมือกันทั้งโรงเรียนและคนในชุมชนนะคะ
  • เห็นผลที่เกิดกับเด็กแล้วน่าชื่นใจและชื่นชมมากค่ะ
  • ขอขอบพระคุณค่ะ

3.น้องครูคิม ขอบคุณค่ะที่เห็นคุณค่าของการร่วมมือร่วมใจของชุมชนต่อเยาวชนในรร.เศรษฐกิจพอเพียง ที่เป็นแบบอย่างที่ดีของผลปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมเช่นนี้นะคะ..

     

Ico48

สวัสดีครับพี่ใหญ่ พี่นงนาท

  • ผมเลยขออนุญาตแวะเข้าไปท่องในบ้านของพี่ใหญ่ แล้วก็เพลินไปเลยครับ สัมผัสได้ถึงความสุขในชีวิต ความอิ่มเต็ม และความเบิกบานในใจอยู่ในทุกอณูเลยทีเดียวครับ
  • ร่วมขอบพระคุณกับคนหนองบัวด้วยครับ
  • แล้วก็เป็นแขกผู้มาเยือนที่คนหนองบัวหลายคนคงจะดีใจ โดยเฉพาะคุณครูพนม จันทร์ดิษฐ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองไผ่ และอดีตผู้อำนวยการโรงเรียนวันครู (๒๕๐๔) กับเครือข่ายสถานศึกษาที่ทำงานในแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการเน้นคุณธรรมจริยธรรม อย่างในแนวทางการทำงานของพี่ด้วยนะครับ

จาก งานตลาดนัดความรู้ "เครือข่ายเรียนรู้สู่ความพอเพียง" ครั้งที่ ๓ ที่บันทึกนี้ :

http://www.gotoknow.org/blog/nongnarts/441752

ผอ.พนม จันทร์ดิษฐ์ แห่ง รร.บ้านหนองไผ่ จ.นครสวรรค์ :

..รับมอบ เกียรติบัตร การเป็นรร.ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง"

..รับเข็มรางวัล "พอ" จากโครงการเรื่องเล่า "บทเรียนความสำเร็จในการใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจัดการเรียนรู้"

..เป็น แกนนำรร.ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ความสำเร็จในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง

..นำพานักเรียนจัดซุ้มนิทรรศการเศรษฐกิจพอเพียงที่น่าสนใจ และหอบ ต้นมะกล้ามะขามป้อม จาก รร.บ้านหนองไผ่ มาแจกจ่ายผู้ร่วมงาน พร้อมกับ สาธิตการทำ น้ำมะขามป้อมพอเพียง เลิศรส ชุ่มคอ แก่ผู้เข้าร่วมชมงานเป็นที่ประทับใจมากค่ะ..

 

       

        

        Large_img_4678 

       

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท