สาเหตุของการเลือกทำการขุดค้นทางโบราณคดีตั้งแต่ ปี 2547 ถึงปัจจุบัน ณ บ้านโนนวัด


การศึกษาร่องรอย อารยธรรมของเขมรไม่สามารถดำเนินการได้ในประเทศกัมพูชาด้วยปัญหาทางการเมือง นักวิจัยจึงได้เข้ามาศึกษาแหล่งโบราณคดีเนินอุโลก และบ้านโนนวัด จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคดีในยุคเดียวกัน

โครงการขุดค้นทางโบราณคดีที่บ้านโนนวัด ต.พลสงคราม อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา ทำการขุดค้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 จนถึงปัจจุบัน โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ

 

โครงการช่วงที่ 1. The Origins of the Civilization of Angkor

 

เมืองพระนครหรือเมืองหลวงของอาณาจักรเขมรเคยเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองยิ่งใหญ่ทางวัฒธรรมทางแถบศูนย์สูตร มีความน่าสนใจเทียบเท่ากับอาณาจักรของชนเผ่ามายาในประเทศกัวเตมาลาและเม็กซิโก แต่ยังไม่มีนักวิชาการใดได้ศึกษาอย่างจริงจัง การศึกษาความเจริญรุ่งเรืองในอดีตของอาณาจักรใดต้องศึกษาจากจารึกและโบราณวัตถุหรือโบราณสถานของอาณาจักรนั้น

 

นครวัดเป็นหลักฐานที่ดียิ่งในการแสดงให้เห็นความเจริญรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมของอาณาจักรเขมรได้เป็นอย่างดี ในอดีตการศึกษาร่องรอย อารยธรรมของเขมรไม่สามารถดำเนินการได้ในประเทศกัมพูชาด้วยปัญหาทางการเมือง นักวิจัยจึงได้เข้ามาศึกษาแหล่งโบราณคดีเนินอุโลก และบ้านโนนวัด จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคดีในยุคเดียวกันซึ่งได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมเขมร โดยได้รับอนุญาตจากกรมศิลปากรให้เข้ามาขุดค้นแหล่งโบราณคดีดังกล่าว

 

จากการขุดค้นในครั้งนั้นทำให้ทราบว่าแหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัดเป็นการตั้งรกรากของชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านโนนวัด จังหวัดนครราชสีมา แหล่งขุดค้นนี้มีความสำคัญมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย เนื่องจากเป็นที่ตั้งรกรากของสังคมเกษตรกรรมสังคมแรกมีอายุราว 2,100 – 1,250 ปี ก่อนประวัติศาสตร์ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ยุคสัมฤทธิ์ ยุคเหล็ก จนถึงยุคประวัติศาสตร์ตอนต้น ซึ่งมีประวัติศาสตร์ยาวนานคล้ายบ้านเชียง แต่สิ่งที่ขุดค้นได้จากแหล่งประวัติศาสตร์บ้านโนนวัดมีมากมายกว่าบ้านเชียงและยังคงสภาพความสมบูรณ์ไว้ได้ มีประโยชน์ต่อการศึกษาความต่อเนี่องของวัฒนธรรมโบราณ ซึ่งยังไม่เคยปรากฎขึ้นในประเทศไทย

 

ศาสตราจารย์ ชาร์ลส ไฮแอม จาก มหาวิทยาลัยโอทาโก ผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดีจากประเทศนิวซีแลนด์

 

ดร. รัชนี ทศรัตน์ นักวิชาการอิสระ จากประเทศไทย ที่ร่วมในการขุดค้นครั้งนี้

ดร. อำพัน กิจงาม ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์กระดูกโบราณ มือหนึ่งของประเทศไทย

 

 

โครงการช่วงที่ 2. Environment Change and Society before Angkor : Ban Non Wat and the upper Mun River Catchment in Prehistry

 

เนื่องจากนักวิจัยได้ร่วมขุดค้นแหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ได้ค้นพบข้อมูลก่อนประวัติศาสตร์มากมายที่แสดงถึงวิถีชีวิต สังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไปในรอบ 5,000 ปี
นักวิจัยจึงประสงค์จะขุดค้นเพิ่มเติมอย่างละเอียดที่บ้านโนนวัด และสำรวจชั้นดินในอำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดนครราชสีมาโดยมีประเด็นที่จะศึกษาดังนี้


1.ขุดค้นแหล่งโบราณคดีแห่งใหม่ที่บ้านโนนวัด เพื่อหาหลักฐานเกี่ยวกับอาชีพและประเพณีการฝังศพในยุคต่าง ๆ
2.สำรวจและศึกษาวิเคราะห์ทางภูมิศาสตร์ ธรณีวิทยา และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่รับน้ำที่อยู่เหนือบ้านโนนวัด ที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของประชาชนในอดีตของบ้านโนนวัด
3.สร้างฐานข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เกี่ยวกับบ้านโนนวัดซึ่งกรมศิลปากรสามารถเข้าไปใช้ข้อมูลได้
4.สำรวจและขุดค้นชั้นดิน (columns of soil) เพื่อวิเคราะห์วิวัฒนาการของพืชและการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมในหมื่นปีของบริเวณต่าง ๆ ในพื้นที่ชุ่มน้ำในจังหวัดนครราชสีมาเพื่อเทียบเคียงกับบ้านโนนวัด

ดร.ไนเจล ชาง อาจารย์จาก มหาวิทยาลัย เจมส์คุก ประเทศ ออสเตรเลีย หัวหน้านักวิจัยในโครงการช่วงที่ 2

ดร วรชัย วิริยารมภ์ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นักวิจัยชาวไทย

น.ส.ภัทรวรรณ พงศ์ศิลป์ สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร

 

 

 ข้อมูลส่วนหนึ่งนำมาจาก : สภาวิจัยแห่งชาติ (วช.)

คำสำคัญ (Tags): #บ้านโนนวัด
หมายเลขบันทึก: 245771เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2009 01:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ติดตามต่อเนื่องด้วยใจระทึก...เพราะสนใจประวัติศาตร์โบราณคดีมาก..ขอเป็นกำลังใจทีมวิจัยและผู้ถ่ายทอด...เป็นการเรียนรู้ตามอันธยาศัย

ขอให้ทีมงานทำงานเสร็จเร็วๆนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท