เริ่มต้นบอกรักโลก : สว่างเหมือนกัน แล้วจะเลือกอันไหนดี


......................................................................................................................................

สว่างเหมือนกัน แล้วจะเลือกอันไหนดี

......................................................................................................................................

 

หลอดไส้ที่ใช้กันมาแต่โบราณ
วางขายกันในราคาแสนถูก
แต่กินไฟกระหน่ำ
เพราะประสิทธิภาพต่ำติดดิน

ป้อนกระแสไฟฟ้าเข้าไปเท่าไหร่
กลายเป็นพลังงานความร้อนซะเกือบหมด
เหลือไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์
ที่แปลงร่างเป็นแสงสว่าง

อินเทรนด์สุด ๆ ในยุคโลกร้อน
ต้องยกให้ หลอดตะเกียบ
หรือ คอมแพคฟลูออเรสเซนต์
ซื้อแพงกว่า แต่เบาใจเรื่องค่าไฟฟ้า

ในความสว่างที่เท่ากัน
คอมแพคฟลูออเรสเซนต์กินไฟเพียง 20 - 25 เปอร์เซ็นต์
แถมยังใช้งานได้นานกว่าหลอดไส้ถึง 8 - 10 เท่า
เปี่ยมประสิทธิภาพขนาดนี้ยังโดนเมิน
มันน่าน้อยใจจริงเชียว

ถ้าคนไทยทุกคนบอกลาหลอดไส้
เปลี่ยนมาใช้คอมแพคฟลูออเรสเซนต์แค่คนละ 3 หลอด
จะลดการปล่อยคาร์บอนได้เกือบ 9 ล้านตันต่อไป

 

......................................................................................................................................

 

หลอดไส้ ใช้แป๊บเดียว ไส้ก็ขาด ชั่วโมงก็สั้น ... ซื้อบ่อย

หาข้อดีได้อย่างหนึ่งก็คือ เวลาเปิดแล้วคิดบ้านยายที่อยู่ต่างจังหวัด

หรือไม่ก็ร้านคาราโอเกะแบบบ้าน ๆ

แต่อย่าเลยครับ เปลี่ยนเป็นหลอดตะเกียบ เบอร์ 5 ดีกว่าครับ

ใช้นาน ทน คุ้มค่า แถมช่วยโลกของเราอีกต่างหาก

ขอบคุณครับ รักษ์โลกด้วยความรักโลก ครับ :)

 

.......................................................................................................................................

 

แหล่งข้อมูล

มูลนิธิโลกสีเขียว.  โลกร้อน ทุกสิ่งที่เราทำ เปลี่ยนแปลงโลกเสมอ.  กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์, 2550.

 

หมายเลขบันทึก: 245768เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2009 01:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:23 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดียามดึกนะครับคุณWasawat Deemarn

จริงด้วยครับ หลอดรุ่นเก่าเก็บเอาไว้คิดถึงอารมณ์และบรรยากาศเก่าๆก็ดีนะ

เรื่องของอารมณ์หวนหาอดีตนี้ คงจางหายลำบาก

ส่วนผมคิดถึงตอนเป็นทหารเกณฑ์รับใช้ครับ อิอิ

ห้องเล็ก เล็ก มีไฟทังสเตนท์อยู่หลอดเดียว ตอนนั้นไฟขาด เปลี่ยนเองโดนดูดด้วยครับ ทำไมรู้มั้ย?

เพราะตอนเปลี่ยนออกมาไม่รู้ว่าปิดปลั้กหรือยัง ไอ้ตัวบอกว่าปลั๊กเปิดปิดก็ลบเลือกหายไปจนงงว่าปิดหรือเปิดหว่า?

เกือบไม่ได้อยู่เป็นคนมาคุยกับพี่ Wasawat Deemarn แล้วนะเนี่ย อิอิ

เล่าให้ฟังสนุกๆครับผม

ฝันดีนะครับ มีคุมสอบพรุ่งนี้อีกหรือเปล่าครับ?

สวัสดีค่ะ พี่อาจารย์ Wasawat Deemarn

การรณรงค์ เรื่อง หลอดไฟ  เห็นทำกันมาพักใหญ่ๆ แล้ว

แต่รู้สึกเห็นจะเป็นการกระตุ้นผู้บริโภค

ไม่รู้มีเหตุผลอะไร ที่ไม่กระตุ้นฐานการผลิต

น้องใบไม้คิดว่า  ถ้าผู้ผลิต พร้อมใจกันไม่ผลิตหลอดไส้ ก็น่าจะทำให้การรณรงค์ง่ายขึ้นค่ะ  ไม่รู้คิดบอกลาหลอดไส้ดื้อๆ แบบนี้  ใครจะเดือดร้อนบ้างไหมคะเนี่ย...   เหมือนบอกลาแบบง่ายๆ เกินไป แต่อาจจะทำยากนะคะ  อิ อิ

เดี๋ยวพรุ่งนี้เปลี่ยนสักสามหลอดเลย ค่ะ เชื่อๆ ดีเหมือนกันจะได้ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนได้เกือบ 9 ล้านตัน

ขอบคุณค่ะ

ชักมึนแล้วไปนอนดีกว่า เดี๋ยวไม่มีแรงไถนา ราตรีสวัสค่ะ

ที่บ้านเปลี่ยนหมดแล้วค่ะอาจารย์ ร่วมบอกรักโลกด้วยคนค่ะ

สวัสดีครับ คุณ adayday :)

เกือบไม่ได้เป็นสรพงษ์ ชาตรีแล้วนะครับนั่น :)

คุมสอบหมดภารกิจแล้วครับ ช่วงนี้ก็ตรวจ ตรวจ และก็ตรวจ ครับ

ขอบคุณมากครับ

เห็นด้วยกับน้อง ใบไม้ ครับ ... น่าจะเลิกผลิตหลอดไส้ไปเลย แต่เขาอาจจะเกรงว่า ผู้บริโภคบางส่วนยังต้องใช้อยู่ก็ได้นะครับ

เช่น พี่เคยเห็นเวลาเขาปลูกดอกเบญจมาศของเมืองเหนือ เขาจะเปิดไฟหลอดไส้ไว้ทั้งคืน หรือผู้มีอาชีพเลี้ยงไก่ก็เหมือนกัน ครับ ต้องเปิดทิ้งไว้

ด้วยเหตุฉะนี้หรือเปล่าเนาะ จึงยังมีผู้บริโภคเหลืออยู่ ครับ

ขอบคุณครับ :)

ขอบคุณครับ คุณ krutoi ... ต้องไปไถนาเลยหรือครับ โห :)

ที่บ้านผมก็เหมือนกันครับ เปลี่ยนเป็นหลอดตะเกียบเบอร์ 5 หมดแล้ว นานมาก ๆ ที่จะเปลี่ยน ครับ คุณครู ทรายชล :)

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท