ใครรู้ความหมายของคำว่า "ปทัฏฐาน" และ "วัชชะ" ของคุณชายขอบบ้าง


ขอบคุณที่นำมาใช้ ทำให้ได้เรียนรู้ค่ะ

จากบันทึกวันนี้เรื่องการทิ้งระยะห่าง...ของคุณชายขอบ ชอบความคิดค่ะ แต่ที่ทำให้นำมาเขียนบันทึกนี้คือส่วนประกอบภายในบันทึก 2 อย่าง อันแรกคือ ที่คุณชายขอบ ยกตัวอย่างเรื่องเวลาโกรธ ควรจะหลีกเลี่ยงการปะทะเพราะเราอาจจะทำอะไรที่แรงกว่าควร ซึ่งจะไม่สามารถแก้ไขได้ จุดนี้ตัวเองมักจะใช้สอนลูกๆและตัวเองด้วย พบว่าเป็นสิ่งที่เมื่อปฏิบัติแล้วได้ผลดีค่ะ เพราะเมื่อเราหายโกรธแล้ว เรามองกลับไป เรื่องบางเรื่องเป็นเรื่องตลกด้วยซ้ำ เราควรจะเผยแพร่วิธีปฏิบัตินี้ให้กับคนรอบๆตัวเราเป็นการช่วยยกระดับอารมณ์ได้ไปในตัว

ส่วนอีกเรื่องที่เป็นหลักของบันทึกนี้คือสองคำที่คุณชายขอบใช้ ที่เอาจั่วหัวไว้ในชื่อบันทึกนี้แหละค่ะ ถามหน่อยเถอะว่ามีใครเพิ่งเคยเห็นบ้าง ตัวเองเป็นคนหนึ่งหละ เจ้าตัวโตซึ่งอ่านอยู่ใกล้ๆ บอกว่ารู้จักคำว่า "วัชชะ" แล้วก็สำทับว่า ไหนแม่บอกว่าเก่งภาษาไทยไงล่ะ (อีกแล้ว)

เรื่องของเรื่องก็คือ ตัวเองเป็นคนรักภาษามาก โดยเฉพาะภาษาไทย เมื่อตอนกลับจากเรียนต่อใหม่ๆพาลูกซึ่งกำลังถนัดภาษาอังกฤษมากกว่าภาษาไทยมาเข้าโรงเรียน โดนถามตลอดว่าทำไมไม่ให้ลูกเรียนโรงเรียนนานาชาติหรือสองภาษา เหตุผลก็คือ ตัวเองเชื่อว่าภาษาไทยยากที่สุดแล้ว ถ้าเรียนภาษาไทยเก่ง ภาษาไหนก็เรียนได้ และอยากให้ลูกเรียนรู้ภาษาไทยให้มากที่สุดหากให้เข้าเรียนโรงเรียนที่เน้นภาษาอังกฤษซึ่งเขาถนัดกว่าอยู่แล้ว โอกาสที่จะได้ภาษาไทยก็น้อยลง จึงตั้งใจสอนและตอบคำถามลูกเกี่ยวกับภาษาให้มากที่สุด และยืนยันให้ลูกมั่นใจว่า แม่เก่งภาษาไทย จึงโดนลองภูมิอยู่เสมอ แต่ยังยืนยันและพยายามทำให้ตัวเอง"เก่ง"ได้จริงๆ (เป็นอย่างเดียวมังคะที่อยากจะเก่ง)

อ่านบันทึกคุณชายขอบแล้วทำให้ต้องไปเปิดหาความหมายของสองคำนี้จากพจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ.๒๕๓๐ พบว่า

 คำว่า "ปทัฏฐาน" หรือ " ปทัสถาน" คือ แบบแผนสำหรับยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ  
ส่วน "วัชชะ" คือ การพูด, ถ้อยคำ, สิ่งที่ควรละทิ้ง, โทษ, ความผิด

คำว่า "วัชชะ"นั้น เคยได้ยินแต่ในความหมายในคำว่า วัชพืช เท่านั้น ส่วนปทัฏฐานก็ดูเหมือนตัวเองจะเข้าใจไปว่าเป็นคำว่า บรรทัดฐาน

ขอบคุณ คุณชายขอบ สำหรับการใช้คำนี้ และขอบคุณ GotoKnow.org ที่ทำให้ได้เรียนรู้อะไรๆเพิ่มขึ้นทุกวันค่ะ

หากท่านผู้รู้ท่านใดจะช่วยต่อยอดขยายความเกี่ยวกับคำเหล่านี้ให้กระจ่างขึ้นได้อีก จะเป็นพระคุณอย่างสูงค่ะ

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 24574เขียนเมื่อ 20 เมษายน 2006 11:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 09:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
     "โลกวัชชะ" เป็นคำที่ใช้ในทางธรรม (ตอนที่ผมเจอครั้งแรก) หมายถึง การปฏิบัติตัวของพระที่ไม่ถูกอาบัติทั้งหมด แต่โลกตำหนิ ติเตียน ว่าสงฆ์ไม่ควรประพฤติ สิ่งนั้นต้อง "โลกวัชชระ"
     "โลกวัชชะ" เป็นคำที่ใช้ในทางธรรม (ตอนที่ผมเจอครั้งแรก) หมายถึง การปฏิบัติตัวของพระที่ไม่ถูกอาบัติทั้งหมด แต่โลกตำหนิ ติเตียน ว่าสงฆ์ไม่ควรประพฤติ สิ่งนั้นต้อง "โลกวัชชระ" เช่นพระขับหรือนั่งรถจักรยานยนต์ หรือนั่งแบบขากลวม
     ส่วนปทัฎฐาน คือ Norm นะครับ

ขอบคุณท่านทั้งสองที่เป็นผู้"ให้" ได้รู้...เสมอ

สำหรับคุณ"โอ๋-อโณ" มาเมียงมองเป็นแฟนประจำเสมอ..

มีเรื่องเล่าดีดี...มาให้เรียนรู้ตลอด..

ดีมากเลยคะ..สำหรับคน"รับ"..ที่ได้รับโดยไม่รู้ตัว "จริงๆ"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท