ลงพื้นที่_สัมผัสชุมชน


ลงพื้นที่ >> พบปะผู้คน >> สัมผัสชุมชน >> ได้เห็น.. ถึง "ความเข้มแข็ง".. ที่ขอแค่ให้ ต่อเติมด้วยกำลังใจ

ห่างหายจากการเขียนบันทึกไปนาน เดือนที่ผ่านมามีประชุม ทั้งที่ได้รับมอบหมาย และตามความต้องการของตนเองมาอย่างต่อเนื่อง เลยทำให้ขาดช่วง ขาดตอนในการ สรุปผล และนำเรื่องราว_เรื่องเล่า จากการทำงานมาเล่าสู่กันฟัง แต่ก็ อย่างที่บอกละคะว่า บางที บริบท มันก็ทำให้เรา ต้องพยายามปรับ วิถีทางในการดำเนินชีวิต  >> "ปรับ" นะคะ แค่ปรับ ไม่ได้ "เปลี่ยน" เพราะ คนเรามักใช้คำสองคำนี้ควบคู่กันจนคุ้นชินและคิดว่าเป็นคำคำเดียวกัน อันที่จริง การปรับ นั้นคือการยังรักษาไว้ซึ่งจุดยืน ไม่ใช่ เปลี่ยนไปทุกสิ่งและเมื่อ ถึงเวลานึงก็สามารถปรับสู่ภาวะปกติได้ดังเดิม ^__^

 

สำหรับ ผู้เขียนแล้ว..

คิดว่าบางสถานการณ์ ที่เรา เริ่มมองเห็นลู่ทางและทางเลือกอื่น ที่มันนำมาซึ่งความสุข แล้วก็ไม่ได้

ลดทอนการสร้างคุณประโยชน์ต่องานที่ทำอยู่ ก็ควรทำไป ว่ากันไปตามน้ำแล้วกัน บอกตามตรงว่า

โอทีของเดือนนี้ เกือบทุกเย็น หากไม่มีติดราชการต่างจังหวัด ผู้เขียนจะลงพื้นที่ เพื่อไปติดตาม >>

เก็บข้อมูล ไปพบปะพูดคุยกับกลุ่ม ชมรม แอโรบิค ประจำหมู่บ้านในเขตพื้นที่ตำบลวิชิต แทนการ

ให้บริการสาธารณสุขที่ศูนย์สาธารณสุขเทศบาล จนรับรู้ได้ว่า ความต่าง ระหว่าง สุขกับทุกข์ คืออะไร อิอิ

 

 

 

ประเด็น คือ >> ทำไมต้องไปติดตามเพียงชมรมแอโรบิค ก็เพราะปีที่ผ่านมา ทางกองทุนสุขภาพพบ

ว่ามีปัญหา เรื่องค่าใช้จ่าย ที่ใช้เป็นค่าตอบแทนครูที่นำเต้น >> ซึ่งก่อนหน้านี้ ก็เคยนำมาพูดคุยในที่

ประชุม (เหมือนเป็นประเด็นใหญ่) คุยเท่าไหร่ก็ไม่จบ !!~??++!! กับเรื่องงบประมาณเนี๊ยะ

 

ผู้เขียน ยังคงตั้งคำถามอยู่ในใจ ? ;ว่า ..

นี่แหละน๊า เงินคือตัวสร้างปัญหา และความอ่อนล้า จนสู่ภาวะการอ่อนแรงของชุมชน

การลงพื้นที่ >> พบปะผู้คน >> สัมผัสชุมชน >> ได้เห็น.. ซึ่งความเข้มแข็งที่ขอให้ต่อเติม

"ด้วยกำลังใจ" มันดูมีค่ามากกว่า การให้งบประมาณซะอีก หลายต่อหลายที่ ที่ยังสามารถดำเนินการ

สานต่อโครงการในปีที่ผ่านมา ได้อย่างดี มิหนำซ้ำ ยังขยายผลไปยังกลุ่มคน อื่นๆ กลุ่มอายุอื่นๆ

เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แบ่งปัน สถานที่ ผู้เขียนมองและเชื่อว่า เป้าหมาย ของการออกกำลังกาย ไม่ใช่แค่

การสร้างสุขภาพของแต่ละบุคคลเท่านั้น แต่มันกลับ หมายถึงลู่ทางการนำไปสู่การมีสุขภาวะที่ดี ของ

คนในชุมชน อีกทั้งสร้างความรัก ความสามัคคี ความเอื้อเฝื้อ เผื่อแผ่ดูแลกันในทุกกลุ่มวัย

 

เท่าที่ผู้เขียนลงไปสัมผัส ความยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัย สิ่งที่กล่าวมาเบื้องต้น..เหล่านั้น

หาใช่ (เศษเสี้ยว) เงินงบประมาณแต่อย่างใด พูดยากเหมือนกันนะคะ การทำงานด้านสุขภาพ

มันต้องใช้ใจนำความคิด ใจที่ว่า .. ก็ถูกนำมาเป็นนวตกรรม หรือแนวทางการดำเนินงานในรูปแบบ

ต่าง-ต่าง ทั้ง ที่ได้ยินกันบ่อยๆ เช่น การดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ การบริการแบบจิตอาสา ฯลฯ

 

เอาหละคะ .. เกือบจะหมดเวลา (ราชการ) ไปอีกหนึ่งวัน แต่เวลางาน ของนักวิชาการเปิ่นคงไม่สิ้นสุด

แค่เวลา 16.30 น. เพียงแต่ว่าวันนี้มีติดไปส่งแรงใจ เชียร์ หนุ่ม-หนุ่มเทศบาล แข่งบอลคร๊ะ อันที่จริง

ที่ไปนี่ก็เพื่อ สนับสนุน การออกกำลังกายเหมือนกันนะเนี๊ยะ คือที่ไปเชียร์ นี่ไม่ได้หวังจะให้ชนะ แต่หวัง

เพียงแค่ ทางเทศบาล และเจ้าหน้าที่ ไม่นิ่งเฉย เป็นต้นแบบที่ดีในการดูแลสุขภาพตนเอง

 

ออกกำลังกายวันละนิด ชีวิตจะสดชื่นสดใส อีกยาวนาน

คำสำคัญ (Tags): #สาสุขท้องถิ่น
หมายเลขบันทึก: 244658เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2009 16:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

  • เป็นกำลังใจให้ครับ
  • คนทำงานเพื่อชุมชน สู้ๆครับ

ขอเป็นกำลังใจให้กับข้าราชการทีดี

ชอชื่นชมค่ะ

  • ขอบคุณทุกท่านนะคะที่แวะเวียนมาให้กำลังใจ
  • ห่างหายไปนาน คงไม่ลืมกันนะคะ
  • คิดว่า บันทึกนี้ คงทำให้หลายท่านมั่นใจว่าชุมชนไม่ใช่ ภาชนะปล่าว ต้องเติมต้องให้ตลอดเวลา ค้นศักยภาพให้เจอ ทุกอย่างต้องเริ่มต้นที่ตัวบุคคล และชุมชนคะ
  • แวะมาให้กำลังใจครับ
  • มีความสุขกับงานที่ทำ ผมก็พลอยยินดีไปด้วยครับ
  • สวัสดีคะ
  • ตอนนี้ได้มีการ ดำเนินการจัดโครงการแอโรบิควิชิตคอนเทสซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากแกนนำแอโรบิคกลุ่มต่างๆ ผลการประกวดคงไม่สำคัญเท่าการ ร่วมรับรู้ และหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา ตลอดจนการดำเนินการพัฒนาจากชุมชนเอง ^__^
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท