เทคโนโลยีกับการศึกษา


เทคโนโลยีกับการศึกษา

บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา

      เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาประกอบด้วย

      1. เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้ปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มีระบบมัลติมีเดีย (Multimedia)* ระบบวิดีโออนนดีมานด์ (Video on Demand) วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ (Video Teleconference) และอินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น ระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้

      2. เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษาในการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการดำเนินการ การติดตามและประเมินผลคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในเรื่องนี้

      3. เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคลเกือบทุกวงการ ทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เขียน ผู้เรียนกับผู้เรียน เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสาร และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร เทเลคอนเฟอเรนส์ และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

 

ในศตวรรษแห่งภูมิปัญญา ที่มีความเจริญทางด้านเทคโนโลยีสูงสุด ไม่ว่าจะอยู่ ณ ถิ่นที่ใด ล้วนต้องมีเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันแทบทั้งสิ้น จนกลายสิ่งจำเป็นของคนในยุคปัจจุบัน หากจะมองว่าเกิดประโยชน์สูงสุดก็เห็นว่าน่าจะถูกต้อง เพราะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้สะดวกรวดเร็ว สามารถสืบค้นข้อมูลความรู้ในทุสาขาวิชาได้ดั่งเนรมิต ราวกับว่าโลกทั้งโลกตั้งอยู่ตรงหน้าของเรา แต่หากจะมองในอีกแง่มุมหนึ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้นั่นก็คือความเสื่อมถอยทางด้านจิตใจ เสมือนว่ายิ่งมีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากเท่าไร ความดีงามทางด้านจิตใจก็ถูกทำลายไปมากเท่านั้น หรือนัยหนึ่งก็คือ สิ่งใดมีประโยชน์ก็ย่อมมีโทษคู่กันเสมอ ขึ้นอยู่กับว่าผู้ใช้มีคุณธรรมจริยธรรมหรือมีจรรยาบรรณแห่งความเป็นคนมากน้อยเพียงไร เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หมายถึง กระบวนการใช้เทคโนโลยีใดๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ (Information) เพื่อการตัดสินใจดำเนินงานต่าง ๆ สารสนเทศ เป็นข้อสรุปที่ได้มาจากกระบวนการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ หรือประมวลผล สรุปได้เป็นความรู้ใหม่ ที่บ่งบอกถึงอาการ สภาพ สถานะ ของเรื่องนั้น ๆ ในช่วงเวลาที่ศึกษา สารสนเทศที่ดีนั้น จะต้องครอบคลุม ถูกต้อง รวดเร็ว ทุกเมื่อ ทุกเวลา หรือทันเวลาเมื่อต้องการใช้งาน หรือนำมาประกอบ การตัดสินใจได้ทันที ประโยชน์ของเทคโนโลยีสาระสนเทศ ในเบื้องต้นนี้ จะขอกล่าวถึงประโยชน์อันสูงสุดของเทคโนโลยีสาระสนเทศเสียก่อน เพื่อมิให้เกิดความสับสนว่าเมื่อก่อให้เกิดความเสื่อมถอยทางด้านจิตใจ เหตุใดจึงยังจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยี ทั้งนี้ก็เพราะว่า หากเราใช้อย่างรู้คุณค่าแห่งประโยชน์ก็ย่อมก่อให้เกิดผลดีนานัปการ ในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

     1. ประโยชน์ด้านการติดต่อสื่อสารที่สะดวกรวดเร็วประหยัดค่าใช้จ่าย ได้แก่การใช้โทรศัพท์การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล ซึ่งสามารถส่งข่าวสารติดต่อซึ่งกันและกันได้รวดเร็ว ไมว่า จะเป็นข้อมูลหรือเอกสารต่าง ๆ สามารถถ่ายสำเนาด้วยเครื่องพริ้นเตอร์ นำข้อมูลลงในคอมพิวเตอร์ แล้วส่งทางอีเมลได้ทันที รวมไปถึงการส่งเอกสารเร่งด่วนทางโทรศัพท์ที่เรียกว่าการส่งโทรสารหรือ ส่งแฟลกซ์ ที่ผู้รับสามารถรอรับได้ทันที เป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ ประหยัดค่าใช้จ่ายและพลังงานในยุกต์ที่นำมันแพงได้เป็นอย่างดี

 2. ประโยชน์ในด้านการประกอบอาชีพ ผู้ประกอบอาชีพต่าง ๆ สามารถศึกษาหาความรู้หรือหาข้อมูลต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพ พัฒนาอาชีพของตนเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ หรือแม้แต่การค้าขายสินค้าทางอินเทอร์เน็ต ที่บริการเรื่องสินค้าสำหรับผู้ที่ไม่ค่อยมีเวลาไปเลือกชมสินค้าด้วยตัวเอง หรืออาจใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าต่าง ๆ ในเรื่องของราคา คุณภาพของสินค้า

3. ประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตประจำวันได้แก่ การถอนเงิน ฝากเงิน โอนเงิน และการจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าบริการต่าง ๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ตหรือตู้เอทีเอ็ม ได้ทุกวัน เป็นการอำนวยความสะดวกและประหยัดเวลาทำให้ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจ

 4. ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ ที่สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายติดต่อเป็นการภายใน และภายนอก การประชุมทางไกล(Teleconferencing) ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายหรือความไม่สะดวกในการเดินทาง

5. ประโยชน์ในด้านการจัดกระบวนการศึกษา ยุคนี้ถูกกล่าวขานว่าเป็นยุคโลกไร้พรมแดน นั่นเป็นเพราะว่าความทันสมัยของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สามารถรับรู้ข้อมูลความรู้ต่างๆ ได้จากอินเทอร์เน็ต ซึ่งถือว่าสำคัญที่สุดในด้านการจัดกระบวนการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เทคโนโลยีสารสนเทศมีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาทั้งสามระบบดังต่อไปนี้

 5.1 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนการสอนในระบบ ปัจจุบันโรงเรียนถือว่าเป็นจุดขายในเรื่องของเทคโนโลยีที่จะประชาสัมพันธ์ว่าโรงเรียนมีความทันสมัย มีเทคโนโลยีสมัยใหม่ ๆ ซึ่งหมายถึงการมีเครื่องคอมพิวเตอร์ มีอินเทอร์เน็ต ซึ่งหากจะพิจารณาถึงการใช้งานจริงพอจะสรุปได้ดังนี้

5.1.1 เพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ด้านต่าง ๆ สำหรับนักเรียน ครู ได้แก่ การพิมพ์เอกสาร การจัดเก็บข้อมูล

5.1.2 งานบริหารการเรียนการสอน เป็นการนำคอมพิวเตอร์ช่วยในการบริหารของ ครูผู้สอนนอกเหนือจากงานด้านการสอนปกติ เช่นงานทะเบียน งานด้านเอกสาร การจัดตารางสอน ตารางสอบ การตรวจสอบ และการเก็บรวบรวมคะแนน การสร้างข้อสอบ การวิเคราะห์ข้อสอบ การลงทะเบียนเรียน การวัดและประเมินผลการเรียน

5.1.3 การบริหารงานทั่วไป เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการบริหารงานบุคคล งานธุรการ การเงินการบัญชี การประชาสัมพันธ์ รวมถึงการจัดทำระบบฐานข้อมูล (Management information System : MIS) เพื่อประโยชน์ในการวางแผนและบริหารการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5.1.4 การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยจัดการเรียนการสอน เพื่อช่วยให้ครูผู้สอนไม่ต้องเสียเวลากับการบริหาร ทำให้มีเวลาในการปรับปรุงข้อบกพร่องเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนให้ มากที่สุด ได้แก่ การจัดเลือกข้อสอบ การตรวจและให้คะแนน การวิเคราะห์ข้อสอบ การเก็บ ประวัตินักเรียนเพื่อดูพัฒนาการด้านการเรียนและการให้คำปรึกษาแก้ไขปัญหาและข้อบกพร่อง ในการเรียนของนักเรียน

5.1.5 การเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-Besed Instruction : WBI) เป็นการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาผสมผสานกับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ที่มีความสามารถในการนำเสนอข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย (World Wide Web) ในการใช้เพื่อการจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ หรือ การเรียนรู้แบบออนไลน์ (E-Learning) ที่มีลักษณะการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต (Intranet) เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนจะเรียนรู้ตามความสามารถและตามความสนใจ โดยเนื้อหาความรู้จะประกอบด้วยข้อความ รูปภาพ เสียง วีดิโอและมัลติมีเดียอื่น ๆ เนื้อหาความรู้ดังกล่าว ถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่านเว็บเบราว์เซอร์(Web Browser) โดยผู้เรียน ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อปรึกษาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียว กับการเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยเครื่องมือที่ทันสมัยในการประสานงานกันอย่างลงตัว ในเรื่องของเนื้อหาบทเรียน การบริหารการเรียน การติดต่อสื่อสาร

5.1.5 การจัดทำห้องสมุดดิจิตอล (Digital Library) เพื่อบริการสืบค้นข้อมูลความรู้แก่ผู้รับบริการได้ในทุกเวลาละสถานที่ 5.2 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนการสอนนอกระบบ การจัดการเรียนการสอนนอกระบบเป็นหลักสูตรเฉพาะกลุ่ม หรือหลักสูตรที่มีกรอบการเรียนค่อนข้างกว้างขวางโดยไม่มีการกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถและโอกาสของผู้เรียน ดังนั้นเทคโนโลยีที่ทันสมัยจึงมีส่วนเกี่ยวข้องช่วยเหลือสนับสนุนการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพ และประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน ไม่ว่าจะเป็นดาวเทียม โทรทัศน์เพื่อการศึกษา เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ระบบสื่อสาร อิเล็กทรอนิกส์ เช่นการประชุมทางไกล การเรียนการสอนผ่านเว็บ 5.3 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนกาสอนตามอัธยาศัย เป็นการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีข้อจำกัดไม่มีโอกาสเข้าศึกษาต่อเพราะหน้าที่การงาน หรือเป็นคนพิการ ด้อยโอกาส อินเทอร์เน็ตจึงมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยให้ทุกคนได้เรียนรู้ตามอัธยาศัย ผ่านเว็บไซด์ต่าง ๆ ที่บรรจุเนื้อหาความรู้ในทุกสาขาวิชาที่จะให้ผู้ที่สนใจเลือกศึกษาค้นคว้าได้ตามอัธยาศัย ส่งเสริมการศึกษารายบุคคล ซึ่งหมายถึงการให้โอกาสคนที่ไม่มีเวลาว่างตรงกับผู้อื่น สะดวกเวลาไหนก็เรียนเวลานั้น นอกจากนี้ยังมีการใช้เทคโนโลยีรูปแบบต่าง ๆ ในการพัฒนาการเรียนการสอนที่จะช่วยให้คนพิการเอาชนะข้อจำกัดของร่างกายได้ เช่นอุปกรณ์ช่วยคนตาบอด คนหูหนวก อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งที่กล่าวมานี้ นับว่าเป็นประโยชน์จากผลพวงแห่งความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม แม้จะมีความเจริญถึงขีดสุด ก็ย่อมมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้เช่นกัน อันได้แก่ การไม่รู้ไม่เข้าใจของผู้ใช้ การขาดเครื่องมือที่ทันสมัยในการรองรับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ดังนั้นการตัดสินใจเลือกใช้จึงต้องพิจารณาว่ามีความเหมาะสมหรือมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดต่อการจัดการศึกษา หน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ

หมายเลขบันทึก: 244650เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2009 16:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มีนาคม 2012 22:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท