community development tsu
กลุ่มวิชาสัมมนา tsu สัมมนากลุ่มย่อย tsu เศรษฐกิจ 2 ระบบ

ชุมชน


ชุมชนจะยืนอยู่ได้อย่างไรท่ามกลางเศรษฐกิจ 2 ระบบ

ชุมชนจะยืนอยู่ได้อย่างไร
ท่ามกลางกระแสเศรษฐกิจสองระบบ

 

ประเทศไทย  ถือเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา  ทำให้เปิดประเทศรับวัฒนธรรมต่างชาติหลากหลายรูปแบบเข้ามา  เพื่อให้ประเทศมีการพัฒนาทัดเทียมกับชาติตะวันตก  ซึ่งถือเป็นชาติที่พัฒนาแล้ว  ทั้งด้านการเมืองการปกครอง  ด้านเทคโนโลยี  ด้านศิลปวัฒนธรรม  รวมไปถึงทางด้านเศรษฐกิจ  ประเทศไทยต้องเปิดรับกับระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเข้ามา  ทั้งๆ ที่ระบบเศรษฐกิจดั้งเดิมของไทยนั้นคือ  เศรษฐกิจชุมชน  จึงปรากฏเศรษฐกิจทั้ง    ระบบนี้ในสังคมไทย  ซึ่งแต่ละระบบนั้นก็ต่างมีลักษณะ  มีข้อดี  ข้อด้อย  แตกต่างกัน  จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำให้ชุมชนอยู่รอดได้ท่ามกลางเศรษฐกิจ    ระบบที่ปรากฏอยู่ในสังคมปัจจุบัน

 

1.  ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมและเศรษฐกิจชุมชน

 

                1.1 ความหมายเศรษฐกิจ

                พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ. 2525   ได้ให้ความหมายของ   เศรษฐกิจ  ไว้ว่า  คือ  งานอันเกี่ยวกับการผลิต  การจำหน่ายจ่ายแจก  และการบริโภคใช้สอยสิ่งต่างๆของชุมชน

                กนกศักดิ์  แก้วเทพ  ได้ให้ความหมายของคำว่าเศรษฐกิจ (Economic)  หมายถึง ชีวิตความเป็นอยู่ทางวัตถุของประชาชน  และดังที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า  ทรัพยากรมีอยู่จำกัด  ขณะที่ความต้องการและความปรารถนาของมนุษย์มีอยู่ไม่จำกัดนั้น  เราจำเป็นต้องมีการเลือกที่จะใช้ทรัพยากรนี้อย่างมีประสิทธิภาพ  กล่าวในแง่นี้จะเห็นได้ว่า  ความคิด  กิจกรรม  พฤติกรรม  ตลอดจนการจัดตั้งองค์กรต่างๆ  ขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ในการจัดสรรทรัพยากรล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องของเศรษฐกิจทั้งสิ้น

เศรษฐกิจ (Economy) คือ การกระทำใด ๆ อันก่อให้เกิด การผลิต การจำหน่ายและการบริโภค ซึ่งความหมายในทางเศรษฐกิจจะแตกต่าง จากความหมายที่เข้าใจกันโดยทั่วไปบ้าง ดังนี้

การผลิต คือ การกระทำเพื่อให้เกิดผลที่สามารถตีค่าออกมาเป็นเงินได้ หากการกระทำใด ซึ่งผลของการกระทำแม้จะมีคุณค่ามีประโยชน์แต่ไม่สามารถตีค่าออกมาเป็นเงินได้ การกระทำนั้นในความหมายทางเศรษฐกิจไม่ถือเป็นการผลิต และผลของการกระทำก็ไม่เรียกผลผลิต อาจจะเรียกเป็นผลงาน

การจำหน่าย  คือ การนำผลผลิตไปเสนอต่อผู้ที่มีความต้องการ หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ การนำผลผลิตไปสู่ตลาด เพื่อให้เกิดการซื้อขายกันขึ้น

การบริโภค  คือ การจับจ่ายใช้สอยรวมถึงการรับประทานด้วย จะมองเห็นได้ว่า เศรษฐกิจนั้นจะเน้นที่ราคาหรือเงิน ของบางสิ่งถึงแม้จะมีประโยชน์ซึ่งมนุษย์และสิ่งมีชีวิตจะขาดเสียมิได้ เช่น อากาศสำหรับหายใจ แต่เนื่องจากอากาศมีอยู่ทั่วไป ซื้อขายกันไม่ได้ อากาศจึงไม่ถือเป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจ แต่ถ้ามีคนเอาอากาศนั้นมาบรรจุในภาชนะ เพื่อจำหน่าย อากาศเช่นนั้นก็กลายเป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจไป ดังนั้นเมื่อพูดถึงเรื่องเศรษฐกิจจึงต้องเกี่ยวข้องกับราคาหรือเงินเสมอ

(http://th.wikipedia.org)

 

 

1.2     ระบบเศรษฐกิจทุนนิยม

 

1.2.1           ความหมายของเศรษฐกิจทุนนิยม

 

                เศรษฐกิจทุนนิยม คือ ระบบที่ชนชั้นนายทุน อาศัยความก้าวหน้าของการปฏิวัติอุตสาหกรรมในประเทศยุโรป ตั้งแต่ราวสองร้อยกว่าปีที่แล้ว ก้าวขึ้นมาเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต เช่น ทุน โรงงาน ไปจ้างแรงงานทำการผลิตสินค้าและบริการ เพื่อนำไปจำหน่ายในระบบตลาด เพื่อหากำไรสูงสุดของนายทุนเอกชนแต่ละคน  (http://witayakornclub.wordpress.com)

                เศรษฐกิจทุนนิยม  หมายถึง  ระบบเศรษฐกิจที่ดำเนินไปตามความต้องการของเจ้าของทุนหรือนายทุน  ถือเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต  เพื่อนำไปจำหน่ายในระบบตลาด  เพื่อแสวงหากำไรสูงสุด

                เศรษฐกิจทุนนิยม    เป็นระบบเศรษฐกิจที่รัฐปล่อยให้สาธารณชนดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจไปตามความต้องการของเจ้าของทุน  หรือนายทุน  โดยถือว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจ  เช่น  การลงทุนประกอบการทางเศรษฐกิจ ฯลฯ  เป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน  จึงยอมให้ผู้ประกอบการทางเศรษฐกิจได้ดำเนินกิจกรรมของตนอย่างอิสระ มีโอกาสแข่งขันกันอย่างเสรี เพื่อให้ได้มาซึ่งผลกำไร หรือผลประโยชน์อื่นใด  ขณะเดียวกันปัจเจกชนก็มีอิสระที่จะซื้อจะขาย อิสระที่เต็มที่ในการเลือกประกอบอาชีพ หรือเลือกงานตามความพอใจ โดยกระบวนการทั้งหมด รัฐจะเข้าแทรกแซงน้อยที่สุด เพื่อให้มีการแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม และคุ้มครองประโยชน์ของสาธารณชน  (http://lawru.archanpoo.net)

 

1.2.2           ลักษณะของเศรษฐกิจทุนนิยม

 

                  เศรษฐกิจทุนนิยม มีลักษณะสำคัญ 3 ประการได้แก่  การให้ความเคารพหลักกรรมสิทธิ์  การมีเสรีภาพในการทำสัญญา และการประกอบการแข่งขันโดยอิสรเสรี  กล่าวคือ
                                (1)    การให้ความเคารพหลักกรรมสิทธิ์  (Owner  ship)   ดังนั้น ทรัพย์สินส่วนใหญ่จึงเป็นของเอกชน  (Private  Property)  เจ้าของย่อมมีสิทธิจำหน่ายจ่ายโอนเพื่อประโยชน์ของตนและหรือหมู่คณะ 
                                (2)    การมีเสรีภาพในการทำสัญญา  (Freedom  of  Contract)  ทำให้ปัจเจกชนมีสิทธิที่จะทำนิติกรรม/สัญญาใดๆได้ด้วยความสมัครใจภายใต้กรอบของกฎหมายบ้านเมือง 
                                (3)  การประกอบการแข่งขันโดยเสรี  (Free  Competition)  ทำให้เกิดตลาดเสรี  (Free  Market)  ทุกคนมีสิทธิที่จะประกอบกิจการค้าขายโดยปราศจากการกีดกัน  โดยถือเอาการแข่งขันเป็นสำคัญ  โดยมีกำไรเป็นสิ่งจูงใจ  (Profit  Motive)  ส่งผลให้ผลิตสิ่งของมากขึ้น และเป็นผลให้สาธารณชนมีทางเลือกในการซื้อหาสินค้าหรือบริการได้มากขึ้น    (http://lawru.archanpoo.net)

               

1.2.3   ผลกระทบของระบบทุนนิยมต่อประเทศไทย

                เสรี  พงศ์พิศ  (2547 : 7) ได้กล่าวไว้ว่า  ปีแรกของแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติแผนที่ 1  วิถีชุมชนเริ่มเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วเข้าสู่สังคมบริโภคหาเงินทุกวิถีทาง  เพื่อนำไปซื้ออยู่ซื้อกินแทนการทำมาหากิน นำเอาทรัพยากรท้องถิ่นไปขายแบบล้างผลาญ  ทำลายดิน  น้ำ ป่า  ปลา  และสัตว์จนไม่เหลือขายทรัพยากรหมดก็ขายแรงงาน  ไปรับจ้างในเมือง  รับจ้างในต่างประเทศ   การพัฒนาที่ผ่านมาได้ทำลายระบบเศรษฐกิจชุมชนแบบเดิมไปจนหมด เศรษฐกิจชุมชนดั้งเดิมนั้นเป็น "ระบบ" เพราะทุกอย่างสัมพันธ์กัน เกื้อกูลกัน เป็นวิถีที่ชุมชนพึ่งพาตนเองได้  พึ่งพาอาศัยธรรมชาติ พึ่งพาอาศัยกันเอง  ระบบเศรษฐกิจชุมชนถูกทำลายไปด้วยนโยบายพัฒนาแบบ "พรุ่งนี้รวย" ที่ลากชาวบ้านเข้าสู่ระบบทุนนิยมโดยไม่มีความพร้อมอะไรเลย ไม่มีการเรียนรู้ ไม่มีข้อมูลเพียงพอเพื่อการตัดสินใจด้วยตัวเอง ต้องพึ่งพาอาศัยคนอื่นที่ให้แต่ข้อมูลดีๆ เพียงด้านเดียว ข้อมูลที่เสริมความอยากของธรรมชาติมนุษย์ ซึ่งมีกันทุกคน อยากมี อยากร่ำ อยากรวย เพื่อจะได้สบาย ไม่ลำบาก

                ระบบทุนนิยมมีปรัชญาที่ก่อให้เกิด "ลัทธิบูชาเงิน" และ "สังคมบ้าบริโภค" ซึ่งต้องไปด้วยกัน นี่คือเหตุผลที่ต้องกระตุ้นให้ "รากหญ้า" ใช้จ่ายเงิน ซื้อข้าวซื้อของที่มักอ้างว่าเป็นผลผลิตจากในประเทศ(อย่างรถยนต์ มอเตอร์ไซค์ มือถือ?) โดยไม่คำนึงว่าหนี้สินที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชาวบ้านขนาดไหน  และจะส่งผลระยะยาวต่อสังคมโดยรวมอย่างไร  ปัญหาหนี้สินของชาวบ้านแตกต่างจากหนี้สินของนักธุรกิจ หรือข้าราชการ ซึ่งหนี้สินเป็นส่วนหนึ่งของวิถีธุรกิจและชีวิตของคนชั้นกลางที่มีเงินเดือน  แต่ชาวบ้านทั่วไปในชนบทไม่ได้มีความมั่นคงของรายได้และชีวิตขนาดนั้น หนี้ต่างๆ จึงเป็นหนี้ที่ไม่มีทางออก   ต้องกู้หนี้มาใช้หนี้ เวียนไปเวียนมารอบแล้วรอบเล่า   บางคนกู้ ธ.ก.ส. มา 5,000 เมื่อ 10 ปีที่แล้ว   วันนี้เป็นหนี้ 150,000  ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะดอกร้อยละ 10-20  ที่กู้กันเป็นรายวันรายเดือนเป็นเรื่องปกติ  กู้พ่อค้าไปคืน ธ.ก.ส. กู้ ธ.ก.ส. ไปคืนพ่อค้า เอาส่วนหนึ่งไว้กินไว้ใช้กลายเป็น  "วัวพันหลัก"  ที่พันจนเชือกรัดคอไม่ถอยก็ตาย

                    ระบบเศรษฐกิจของไทยต้องพึ่งพาทางด้านการค้า โดยสัดส่วนของมูลค่าการค้าต่างประเทศต่อมูลค่าผลิตภัณฑ์ภายในประเทศเบื้องต้นมีอัตราสูงขึ้นมาตลอด ต้องพึ่งพาทางด้านการเงินโดยอาศัยเงินทุนจากต่างประเทศและการกู้ยืม ตลอดจนเป็นหนี้ต่างประเทศจำนวนมาก และต้องพึ่งพาทางด้านเทคโนโลยีในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมและบริการ

                    ดังนั้น  เศรษฐกิจทุนนิยมที่เข้ามาประเทศไทย  ก่อให้เกิดผลกระทบในด้านต่างๆ  ดังนี้

1.             ทรัพยากรเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว

2.             ระบบเศรษฐกิจชุมชนแบบดั้งเดิมของไทยสูญหายไป

3.             ค่านิยมของคนในสังคมเปลี่ยนแปลงไป  หันมาให้ความสำคัญกับการบริโภควัตถุมากขึ้น

4.             ก่อเกิดปัญหาหนี้สิน  อันเกิดจากการบริโภคอย่างไร้สติ  ไม่คำนึงถีงศักยภาพและกำลังทางด้านการเงินของตนเอง

 

                1.2.4  ข้อดีและข้อเสียของเศรษฐกิจทุนนิยม

                1)  ข้อดี

                                (1) เอกชนมีเสรีภาพในการเลือกตั้ง เลือกตัดสินใจในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

                                 (2)    กำไรและระบบกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเป็นแรงจูงใจในการทำงานทำให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

                2)  ข้อเสีย

                                (1)  ก่อให้เกิดปัญหาการเหลื่อมล้ำอันเนื่องมาจากความสามารถที่แตกต่างกันในแต่ละ บุคคลโดยพื้นฐานทำให้การหารายได้ไม่เท่ากัน

                                                                (2)  ในหลายๆกรณีกลไกทางการตลาดยังไม่ใช่เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ สำหรับการจัดสรรทรัพยากรในระบบเศรษฐกิจ

                                                                (3)การใช้ระบบการแข่งขันหรือกลไกราคาอาจทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจอย่างสิ้นเปลือง

                                                               

                กล่าวโดยสรุป  เศรษฐกิจทุนนิยม  เป็นเศรษฐกิจที่ต้องอาศัยทุนและทรัพยากรจำนวนมาก ทั้งด้านวัตถุดิบ  เทคโนโลยี  เงินทุน และมีเป้าหมายที่มุ่งหวังผลกำไรสูงสุด   ซึ่งระบบเศรษฐกิจนี้เหมาะสมกับชุมชนที่เป็นเมือง  หรือสังคมขนาดใหญ่ที่มีกำลังการผลิตมากและมีรายได้สูง ซึ่งผู้ที่รับระบบเศรษฐกิจทุนนิยมไปใช้ส่วนมากจะนิยมวัตถุ  มุ่งแต่ความสะดวกสบายไม่นึกถึงผลกระทบที่ตามมา คือคนในชุมชนทันสมัยแต่ไม่พัฒนา มีการแข่งขันกันทำงาน  ทำงานแข่งกับเวลาจนละเลยหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบในครอบครัว ทำให้เกิดปัญหาต่างๆตามมา  เช่น ครอบครัวแตกแยก  รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย   เพราะคนในสังคมมีรายได้ต่ำแต่รสนิยมสูง สนใจในเรื่องของตนเองมากกว่าส่วนรวมถ้าเป็นเช่นนี้ในอนาคตชุมชนอาจล่มสลาย

 

1.3     ระบบเศรษฐกิจชุมชน

 

1.3.1           ความหมายของเศรษฐกิจชุมชน

 

                ชุมชน ประกอบด้วย   ครอบครัวหลายครอบครัวที่มาอยู่รวมในที่เดียวกัน และมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติ  ประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ 

                เศรษฐกิจ  จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ  การผลิต  การบริโภค  และการกระจายผลผลิต  คือ  การซื้อขายแลกเปลี่ยนผลผลิต

                เศรษฐกิจชุมชน  หมายถึง  การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ  ทั้งด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม บริการ  ทั้งในด้านการผลิต  การบริโภค  และการกระจายผลผลิต  โดยให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจของชุมชนนั้น  คือ  ให้มีส่วนร่วมคิด  ร่วมทำ  ร่วมรับผลประโยชน์   บนรากฐานความสามารถที่มีอยู่  จากการใช้   ทุนของชุมชน  ซึ่งทุนของชุมชนทั้งที่เป็น  ทุนทางสังคม  เช่น วิถีการผลิต  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ศาสนสถาน  โรงเรียน  ที่ดิน  ทรัพยากร  การคมนาคมขนส่ง

นั้นคือ  สมาชิกในชุมชนจะเป็นผู้ตัดสินเองว่า  พวกเราจะผลิตอะไรได้บ้าง  ตามศักยภาพและทุนประเภทต่างๆ  ที่มีอยู่  เราจะผลิตกันอย่างไร  แล้วเราจะแบ่งปันผลประโยชน์จากการผลิตกันอย่างไร  คือชุมชน  คิดเอง  ทำเอง  แล้วก็ได้เอง

               

1.3.2           ลักษณะสำคัญของเศรษฐกิจชุมชน

                ลักษณะสำคัญของเศรษฐกิจชุมชนคือ  ครอบครัวเป็นหน่วยการผลิต  แรงงานของสมาชิกในครอบครัวเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด  ความพอเพียง ความพึ่งตนเองที่เราพูดถึงขึ้นอยู่กับการใช้แรงงานเป็นอย่างมาก  พึ่งแรงงานในครอบครัว  พึ่งทรัพยากรท้องถิ่น  พึ่งตนเอง  และพึ่งกันเองในชุมชนก่อน  และหากจะขาย  ก็ขายในตลาดใกล้ตัว  ตลาดภูมิภาค  ตลาดภายในประเทศ ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจชุมชนนั้น  ฝังตัวอยู่ในสังคมและวัฒนธรรม

นอกจากนี้นักวิชาการอีกท่านหนึ่งยังให้ความหมายไว้น่าสนใจที่จะทำให้เข้าใจเศรษฐกิจชุมชนดียิ่งขึ้น

                มงคล ด่านธานินทร์  ได้ให้กรอบแนวคิดในเรื่องของเศรษฐกิจชุมชนไว้อย่างน่าสนใจ รวมทั้งจะทำ ให้เราสามารถมองภาพของการพัฒนาในอนาคตได้อย่างชัดเจน มิติในการมองของท่านเป็นกรอบคิดเชิง ระบบ

           1) ปณิธาน ?
            เศรษฐกิจชุมชน อันเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจชาติ ก็เหมือนกับเรื่องทางการเมือง การศึกษา และการพัฒนาสังคม ที่ผู้เกี่ยวข้องต้องมีความเข้าใจ และความมุ่งมั่นร่วมกัน ว่าการกระทำของเรานั้น ก็เพื่อความรุ่งเรืองและความอยู่รอด ปลอดภัยของสังคมไทย และประชาชาติไทยทั้งมวล ในการนี้ก็มีความจำเป็นที่การพัฒนาเศรษฐกิจระดับล่าง คือ ชุมชน ชนบทจะต้องมีความสัมพันธ์กับการพัฒนาเศรษฐกิจระดับบน คือ ประเทศ
            อีกทั้งต้องสัมพันธ์กับการเมือง การปกครอง การศึกษา วัฒนธรรมของคนทั้งประเทศ การเน้นความสำคัญของ เศรษฐกิจชุมชนโดดๆ คงไม่ช่วยให้กระบวนการเศรษฐกิจชุมชน บรรลุปณิธานดังกล่าวได้


            2) ทำอะไร ?
            เศรษฐกิจชุมชนไม่ใช่ของใหม่สุดขั้วแต่อย่างใด แท้จริงก็คือการทำงานเพื่อการดำรงชีพในแนวสัมมาอาชีพ เพื่อ การอยู่รวมกันกับเพื่อนมนุษย์อื่นในหมู่บ้านนั่นเอง ดังนั้นชาวบ้านที่สนใจจะรวมกลุ่มในการ
              (1) ปลูกพืช (อันอาจจะได้แก่ ข้าว พืชไร่ ไม้ผล ไม้ดอก ไม้ประดับ สมุนไพร) เลี้ยงปศุสัตว์ และสัตว์น้ำ รวมอยู่ ในพื้นที่ผืนเดียวกัน
              (2) กิจกรรมการผลิตที่เกี่ยวเนื่องการเกษตร เช่น การแปรรูปข้าว ผลไม้เป็นน้ำผลไม้ และไวน์ผลไม้ การแปรรูป สมุนไพร เป็นสมุนไพรผง เป็นต้น
              (3) กิจกรรมการผลิตนอกการเกษตร เช่น การร่วมทำอิฐบล็อก การตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป เป็นต้น
              (4) กิจกรรมบริการ เช่น บูรณะโบราณสถานในพื้นที่ร่วมกับผู้นำ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยว สำหรับหารายได้เข้าหมู่บ้าน เป็นต้น

           3) ทำกับใคร ?
            ชาวบ้านอาจรวมกลุ่มกันอย่างไม่เป็นทางการ หรือใช้กลุ่มที่เป็นนิติบุคคล เช่น กลุ่มสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร มูลนิธิ หรือสมาคม เป็นศูนย์กลางในการทำกิจกรรมที่กล่าวไปแล้ว หรือเขาอาจจะร่วมกับนักพัฒนาเอกชน เจ้าหน้าที่พัฒนา ของรัฐ (เช่น พัฒนากรตำบล เกษตรตำบล) นักวิชาการ ซึ่งอาจเรียกรวมกันว่า พหุภาคีในการแปรรูปผลผลิต หรือทำการ ตลาด อีทั้ง อาจร่วมทุนกับพ่

หมายเลขบันทึก: 244165เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2009 15:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

แล้ว ตกลง ชุมชน จะยั่งยืนไหม ถ้ามีเศรษฐกิจทั้ง 2 ระบบนี้เข้ามา ถ่าโถม

ชุมชนยั่งยืนทุกฝ่ายต้องช่วยกัน

ขอบคุณคะ คุณน้อยหน่า สำหรับความคิดเห็น ใช่แล้วคะชุมชนจะยั่งยืนได้ ทุกฝ่ายต้องช่วยเหลือกัน ทั้งด้านภาคประชาชน ภาครัฐบาล และภาคเอกชน คือ ทั้ง 3 ฝ่ายมีเป้าหมายของก่ารพัฒนาอย่างเดียวกัน แต่มีวิธีในการปฏิบัติต่างกัน หากทั้ง 3 ฝ่ายได้มาร่วมมือกันพัฒนา ชุมชนก็จะยั่งยืนอยู่ได้ และที่สำคัญทุกคนต้องมีการตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา

ถึง...สานฝันต่างแดน... ตกลงชุมชนจะยั่งยืนคะ ขึ้นอยู่กับว่าชุมชนนั้นต้องไม่หลงไปกับกระแสการพัฒนากระแสใดกระแสหนึ่งมากเกินไป คือ การพัฒนานั้นต้องคำนึงถึงฐานทุนของตนที่มีอยู่ ทั้งทางด้าน สังคม เศรษฐกิจและทรัพยากร คือ ต้องตั้งมั่นในแน่วแน่ว่าชุมชนจะไปในทิศทางใด และทิศทางนั้นจะทำให้ตนเองและสังคมอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท