ป่าชุมชน:ความมั่นคงแห่งชีวิตท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงและภาวะโลกร้อน


คนพึ่งป่า..ป่าพึ่งคน

 

 

 

                                                20090220171043_181

 

  สำหรับท่านทั้งหลายที่ให้ความใส่ใจอย่างจริงจังในการอนุรักษ์ป่าและสิ่งแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงและภาวะโลกร้อน ดิฉันขอสรุปตัวอย่างสาระดีๆจากหนังสือมีคุณค่าเล่มนี้ที่ เป็นเอกสารชุดหนึ่งจากงานสัมมนาระดับชาติ ชื่อเดียวกันกับหนังสือนี้ ที่ มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ร่วมกับ 9 องค์กร ได้ร่วมกันจัดขึ้น เมื่อวันที่ 21-22 ตุลาคม พ.ศ.2551 ที่หอประชุมมหิศร ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักรัชโยธิน ซึ่งดิฉันได้มีโอกาสไปร่วมรับฟังความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ทั้งนี้จะได้เลือกเนื้อหาบางเรื่องจากหนังสือนี้มาเล่าให้ได้ทราบ แบบอ่านง่ายๆ ไม่ยากที่จะเข้าใจ ตามไสตล์ของดิฉัน พอเป็นสังเขป เพื่อจุดประกายในการร่วมด้วยช่วยกัน คนละไม้คนละมือ ในการจรรโลงโลกของเราให้รื่นรมย์น่าอยู่อาศัยไปชั่วลูกชั่วหลาน...

      1. สถานการณ์ทรัพยากรที่กำลังประสบปัญหากับการจัดการในท้องถิ่นที่ขาดประสิทธิภาพ 
                     

         ภาวะภัยพิบัติทางธรรมชาติหลายหลากประเภทที่เกิดขึ้นซ้ำซากมากขึ้นทุกที ย่อมสะท้อนปัญหาที่ก่อตัวสะสมโดยไม่ได้รับการแก้ไขจัดการที่เหมาะสมและทันเวลา " ภาวะเรือนกระจกที่ผิดปกติ "ซึ่งมากกว่าครึ่ง เป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เกิดจากการเผาไหม้พวกไฮโดรคาร์บอน ทั้งน้ำมัน ถ่านหิน เชื้อเพลิง ชีวมวลต่างๆ ทั้งนี้ จากผลการศึกษาภาวะเรือนกระจกของนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก ต่างเห็นพ้องกันว่า หากไม่มีมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จะทำให้เกิดภาวะโลกร้อน อันนำไปสู่ปรากฏการณ์ละลายของน้ำแข็งบริเวณขั้วโลก ทำให้น้ำทะเลสูงขึ้น เกิดภาวะน้ำท่วมพื้นที่ราบที่อยู่อาศัยและที่ทำกินของประชาชนในหลายประเทศอย่างกว้างขวาง ทำลายแหล่งประมง พื้นที่เกษตรกรรม อากาศแปรปรวน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์โดยตรง อีกทั้งเชื้อโรคทั้งเก่าและใหม่นานาชนิด มีพัฒนาการและแพร่กระจาย กลายเป็นโรคอุบัติระบาดซ้ำซาก จนไม่อาจคาดเดาได้ว่า ในอนาคตกาล ภาวะความเป็นอยู่ของมนุษยโลกจะเลวร้ายจนถึงระดับใด?

          จากความปริวิตกในปัญหาที่กล่าวข้างต้น หลายองค์กรได้พยายามเสนอแนวทาง และทฤษฏีในการแก้ไขปัญหาโลกร้อนที่เป็นรูปธรรม หลายหลาก เช่น

            * ลดการปล่อยคาร์บอน เพื่อสร้างความสมดุลด้วยการเสนอโมเดล " ลิ่มความเสถียร 15 ลิ่ม"  (ทฤษฏีของทีมวิจัยมหาวิทยาลัยพริ๊นซ์ตัน) แต่ละลิ่มคืออัตราการปล่อยคาร์บอน 1,000 ล้านตันต่อปี โดยลดการปล่อยทีละลิ่ม ซึ่งหากจะลดการปล่อยถึงระดับสุทธิที่ศูนย์ (การปลดปล่อยเท่ากับการกักเก็บ) อาจต้องใช้เทคโนโลยี่ใหม่ๆและใช้เวลาอีก 50 ปีหลังปี ค.ศ.2057

              มาตรการทางปฏิบัติ 4 ประการที่ทีมวิจัยดังกล่าวเสนอ คือ

                    - สร้างประสิทธิภาพและอนุรักษ์พลังงาน เช่นพัฒนาระบบรถยนต์ประหยัดพลังงาน

                    - ดักจับและกักเก็บคาร์บอน

                    - ใช้เชื้อเพลิงคาร์บอนต่ำ เช่น ก๊าซธรรมชาติแทนถ่านหิน

                    - ปรับพฤติกรรมด้านชีวภาพ เช่นยุติการทำลายป่า เพิ่มการใช้พลังงานลม แสงแดด และเชื้อเพลิงชีวภาพ

         หลักการทั้งมวลในการลดก๊าซเรือนกระจก และลดคาร์บอนนี้ ได้ปรากฏอยู่ใน อนุสัญญาเกียวโต ที่ประเทศภาคีสมาชิกระหว่างประเทศ ได้ตกลงร่วมกันที่จะนำมาปฏิบัติ นอกจากนี้ ยังได้มีการนำหลักการทางเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมเข้ามาผสมผสานเป็นกติกาด้วย เช่น ผู้ก่อมลพิษ จะเป็นผู้รับผิดชอบในการจ่ายค่าเสียหาย ซึ่งต่อมา ได้มีการใช้หลัก "คาร์บอนเครดิต" ในการต่อรองทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมโลกต่อไปอีก

          * จัดให้มีพันธะสัญญาในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับชาติและท้องถิ่น ได้แก่

                 - อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ที่ส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่น ชนเผ่าต่างๆ อนุรักษ์ความหลากหลายทั้งทางชีวภาพ และวัฒนธรรมที่ระบุไว้ในหมวด 8 เจ และ 10 ซี

                 - พิธีสารเกียวโตที่ระบุมาตรการสำคัญในการจัดให้มีกลไกการพัฒนาที่สะอาด (ซีดีเอ็ม)ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

                - องค์การสหประชาชาติ ได้ให้ความสำคัญเรื่องสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน และสิทธิในการจัดการทรัพยากรเพื่อความมั่นคงของชีวิตด้วยเช่นกัน

       2. พันธมิตรป่าชุมชนโลก..เครือข่ายเพื่อสิทธิของผู้คนที่หากินกับป่า

        กลุ่มป่าชุมชนในหลายประเทศ ได้เคลื่อนไหวในการทำงานร่วมกันเป็น พันธมิตรป่าชุมชน โดยมีคำขวัญว่า " รวมกลุ่มระดับโลก..ปฏิบัติการระดับท้องถิ่น " ซึ่งได้มีการจัดประชุมนานาชาติ ทั้งนี้ตัวแทนภาครัฐ และเอกชนของไทยได้ไปร่วมประชุมด้วยในเวที " การจัดการป่าชุมชนและวิสาหกิจ : ประเด็นระดับโลกและโอกาส " ที่ประเทศบราซิลเมื่อเดือนกรกฏาคม 2550 เกิดเป็นคุณค่าทางใจที่นำสามารถนำมาเป็นพลังในการขยายผลต่อไป เช่น

           - มีความรู้สึกร่วมกับชาวไร่ชาวนา และ คนชายขอบ ที่ต้องพึ่งพาป่าในการทำมาหากินและได้ประโยชน์จากป่าโดยตรง

           - เกิดเป็นพลังร่วมนานาชาติ ทั้งในระดับผู้นำและกลุ่มคนในกระบวนการต่อสู้เพื่อรักษาพื้นที่ป่าเหล่านั้นอย่างยั่งยืน

          - มีการแบ่งปันข้อมูลและเรื่องราวความสำเร็จระหว่างกันเป็นอย่างดี

          - มีการกำหนดภารกิจร่วมกัน ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการหนุนเสริมองค์กรอิสระของสมาพันธ์ หรือเครือข่ายองค์กรชุมชน ในระดับโลก ภูมิภาค ระดับประเทศ และท้องถิ่น ในเรื่องที่สำคัญคือ

               -- ให้มีศักยภาพในการสร้างการยอมรับสิทธิของคนท้องถิ่นในการเข้าถึงและควบคุมการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ

              -- สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ยั่งยืน

              -- เกิดธรรมภิบาลที่ดี พึ่งตนเองได้

              -- มีความเป็นประชาธิปไตยในการจัดการทัพยากรธรรมชาติ

              -- ส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศที่เอื้ออำนวยแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆอย่างทั่วถึง

 

....................................................................................................................

 

                  

    

 

                                                          

 

 

 

 

 

         

หมายเลขบันทึก: 243545เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2009 19:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:20 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ คุณพี่

มีความสุขมากๆๆนะคะ

 

ครูอ้อยเจ้าขา..เข้าใจเด็กได้จริงๆ..เท่าที่พี่เคยเป็นเด็กและอยู่กับเด็กๆๆจนถึงเดี๋ยวนี้น่ะ..พอจะเข้าใจในเชิงลึกว่า..เด็กที่เขียนดีคือ..

*เด็กคนไหนจินตนาการเก่ง

* เด็กที่อ่านหน้งสือมาก

* เด็กที่มีโอกาสรู้เห็นมาก

*เด็กที่ห้อมล้อมด้วยโอกาสทางสื่ออื่นๆมาก

                          

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท