WBI


WBI
ความหมายของ WBI

อธิบายเกี่ยวกับความหมายของ WBI หลักการสร้างของ WBI รวมทั้งกระบวนการเรียนรู้

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

แนวคิด
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นการนำเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้ในฐานะเป็นสื่อ
การเรียนรู้ โดยนักออกแบบการสอนได้ออกแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ไว้เป็นขั้นเป็นตอนอย่างดี เพื่อถ่ายทอดสาระการเรียนรู้ผ่านบริการที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ต เช่น www โดยผู้เรียนสามารถศึกษาด้วยตนเอง อาจมีการมอบหมายให้ผู้เรียนสืบค้นข้อมูลผ่าน www หรืออาจจะให้ศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ที่ไม่ได้อยู่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น หนังสือใน
ห้องสมุด ซีดีรอม หรือจากแหล่งเรียนรู้ในชุมชน หลังจากนั้นให้โอกาสผู้เรียนซักถามปัญหา
มีการอภิปรายแสดงความคิดเห็นระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน และผู้เรียนกับครูผ่านทางกระดานเรียนรู้ Web board หรือ นัดหมายเวลาเพื่อสนทนาออนไลน์ (Chat) ผู้เรียนสามารถติดต่อ
สื่อสารกับครูซักถามข้อสงสัยหรือส่งงานที่ได้รับมอบหมายผ่านทาง E-mail ซึ่งผู้เรียนแต่ละคนและครูอาจไม่จำเป็นต้องอยู่ในสถานที่และเวลาเดียวกัน
หลักการเรียนรู้ผ่านบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

๑. สามารถเรียนได้ทุกเวลาทุกสถานที่ (Any where Any time) ผู้เรียนแต่ละคนและครูไม่จำเป็นต้องอยู่ในสถานที่เดียวกัน หรือเวลาเดียวกัน (ยกเว้นการสนทนาออนไลน์ที่จะต้องอยู่ในเครือข่ายในเวลาเดียวกัน) ก็สามารถเกิดการเรียนรู้ได้

๒. นำเสนอสาระการเรียนรู้เป็นขั้นตอนทีละน้อย จากง่ายไปหายาก

๓. มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับครู อาจเป็นการอภิปราย
หรือแสดงความคิดเห็นไว้ใน Web board โดยผู้ร่วมอภิปรายไม่จำเป็นต้องอยู่ในเครือข่ายเวลาเดียวกัน ซึ่งเรียกว่าเป็นการสื่อสารแบบ “Asynchronous” หรือการอภิปรายผ่านการสนทนาออนไลน์ (Chat) โดยผู้อภิปรายจะต้องนัดหมายเวลาเพื่ออยู่ในเครือข่ายพร้อมกัน ซึ่งเรียกว่าเป็นการสื่อสารแบบ “Synchronous” นอกจากนี้ยังมีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับบทเรียนด้วย หลักการข้อนี้สำคัญมาก บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไม่ใช่การนำหนังสือตำราที่ดี
ที่สุดไปใส่ไว้ในคอมพิวเตอร์แล้วให้ผู้เรียนอ่านแต่เป็นการนำเอาการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ดีที่สุดไปใส่ไว้ในคอมพิวเตอร์

๔. มีการเรียนรู้แบบร่วมแรงร่วมใจ (Cooperative Learning) ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ร่วมมือกันทำงาน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ครูควรมอบหมายงานให้ผู้เรียนมีโอกาสทำงานร่วมกัน

๕. ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง ด้วยความกระฉับ กระเฉง ผู้เรียนเป็นผู้แสวงหาคำตอบด้วยตนเอง

๖. ให้ข้อมูลป้อนกลับทันที (Immediate Feedback) และให้การเสริมแรงเมื่อผู้เรียนแสดงพฤติกรรมที่พึงปรารถนา
องค์ประกอบของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต


๑. แหล่งเรียนรู้ที่อยู่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้แก่ สาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่ผู้สร้างบทเรียนใส่ไว้ในเว็บไซต์ของตนเอง นอกจากนี้ยังรวมถึงสาระการเรียนรู้ที่มีผู้อื่นจัดทำ
ไว้ในเว็บไซต์ต่าง ๆ ด้วย

๒. แหล่งเรียนรู้ที่ไม่ได้อยู่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น สาระการเรียนรู้ที่มีอยู่ในหนังสือในห้องสมุด บทเรียน CAI แบบ Offline หรือ แหล่งการเรียนรู้ในชุมชน ฯลฯ

๓. การอภิปราย เป็นส่วนที่ทำให้ผู้เรียนได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้เรียนด้วยกัน ผู้เรียนกับครู ผู้เรียนกับผู้เชี่ยวชาญ ผ่านทาง E-mail, Web board หรือ Chat

๔. การมอบหมายงานให้ผู้เรียนปฏิบัติมีทั้งเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม ส่งงานที่ได้รับมอบหมายผ่านทาง E-mail หรือ ทาง Web board เพื่อให้ผู้อื่นร่วมแสดงความคิดเห็น

๕. การถามคำถามและการทดสอบ ในระหว่างที่ผู้เรียนกำลังศึกษาเนื้อหาจะต้องมีกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ทำอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา เช่น การถามคำถามให้ผู้เรียนตอบ ซึ่งคำถามควรเป็นคำถามส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิด นอกจากมีกิจกรรมระหว่างเรียนแล้วควรมีการทดสอบเพื่อวัดว่าผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้หรือไม่
คำสำคัญ (Tags): #wbi
หมายเลขบันทึก: 243483เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2009 15:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 15:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท